คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้บังคับบัญชา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2966-2968/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการปรับขึ้นค่าจ้างสงวนเฉพาะพนักงานทั่วไป ผู้บังคับบัญชาไม่อาจอ้างสิทธิได้ และเหตุผลสมควรในการไม่จ่ายค่าจ้างไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้กำหนดเรื่องการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างไว้ชัดเจนว่าเป็นการปรับให้เฉพาะพนักงานทั่วไปเท่านั้น ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างของพนักงานระดับผู้บังคับบัญชาหรือเทียบเท่าหรือระดับเจ้าหน้าที่ แม้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกับสหภาพแรงงานจะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอีก 3 ฉบับ แต่ก็มิได้เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างพนักงานระดับอื่นนอกจากระดับพนักงานทั่วไปที่มีอยู่เดิมแต่อย่างใด จึงยังคงมีแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างของพนักงานทั่วไปที่มีอยู่เดิมแต่อย่างใด จึงยังคงมีแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างของพนักงานทั่วไปเท่านั้น เมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้เป็นพนักงานทั่วไปแต่เป็นพนักงานระดับผู้บังคับบัญชาจึงไม่อาจอ้างข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินประจำปีหรือค่าจ้างในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเพื่อปรับขึ้นค่าจ้างสำหรับตนเองได้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงานเป็นเพียงเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยคดีย่อมต้องเป็นไปตามข้ออ้างและข้อเถียงของคู่ความ คดีนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 บรรยายฟ้องและมีคำขอบังคับเรื่องเงินเพิ่มดังกล่าวมาด้วย จึงชอบที่ศาลแรงงานกลางจะต้องวินิจฉัยปัญหาเรื่องเงินเพิ่มด้วย จะไม่รับวินิจฉัยโดยอ้างว่ามิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ไม่ได้
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มเพราะเหตุไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเหตุที่จำเลยไม่ปรับขึ้นค่าจ้างและไม่จ่ายค่าครองชีพให้โจทก์ที่ 1 และที่ 3 เพราะจำเลยอ้างว่าไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ที่ 1 และที่ 3 เป็นพนักงานระดับผู้บังคับบัญชา จึงไม่ใช่เป็นการจงใจไม่จ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อผู้บังคับบัญชา มิใช่เจ้าพนักงานสอบสวน ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172
แม้พลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 17 แต่ตามหนังสือที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. ซึ่งบุคคลทั้งสองต่างเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ ทั้งนี้เพื่อประสงค์ให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ และย้ายโจทก์ออกจากพื้นที่รับผิดชอบทางราชการ จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงพลตำรวจโท ป. และพลตำรวจโท ว. ขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับความประพฤติโจทก์ต่อบุคคลทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาโจทก์ มิใช่ในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาแต่อย่างใด และพลตำรวจโท ป. มิได้มีคำสั่งให้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนความผิดในทางอาญาแก่โจทก์ คงมีคำสั่งให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชุมพรตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาให้ความคุ้มครองจำเลยที่ 1 แล้วรายงานให้พลตำรวจโท ป. ทราบด้วยเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาและอำนาจตัดค่าจ้างทำให้ขาดคุณสมบัติสมาชิกสหภาพแรงงาน
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกงบประมาณและการเงินระดับ 8 มีอำนาจในการตัดค่าจ้างหรือลดค่าจ้างแก่พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของโจทก์ตามระเบียบและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีฐานะเป็นฝ่ายบริหารของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543และเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกและกรรมการของสหภาพแรงงาน ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 51 วรรคสอง และมาตรา 56 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7353/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานดูหมิ่นผู้บังคับบัญชาซ้ำ ความเป็นผู้บังคับบัญชาตามข้อบังคับบริษัท
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้แบ่งพนักงานหรือลูกจ้างไว้เป็น 2 ประเภท คือประเภทผู้บังคับบัญชากับประเภทพนักงานธรรมดา โดยถือเอาระดับตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานเป็นเกณฑ์ พนักงานที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับหัวหน้างานในงานทุกส่วนถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาทั้งสิ้น มิได้ถือว่าผู้ที่มีอำนาจบังคับบัญชาหรือสั่งการพนักงานคนใดจะเป็นผู้บังคับบัญชาเฉพาะของพนักงานคนนั้นเท่านั้น เมื่อ ก. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการอาคาร มีระดับเป็นหัวหน้างานในอาคาร ก. จึงเป็นผู้บังคับบัญชาตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อปรากฏว่าก่อนหน้านี้โจทก์เคยดูหมิ่น พ. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์และจำเลยได้ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาแล้วครั้งหนึ่ง การที่ต่อมาโจทก์กล่าวดูหมิ่น ก. เกี่ยวกับการทำงานอีกจึงเป็นการดูหมิ่นผู้บังคับบัญชาอันเป็นการทำผิดซ้ำคำเตือนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(4) จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 328/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ขัดคำสั่ง แต่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
แม้การที่โจทก์ร่างคำสั่งไม่ให้ อ. ผ่านการทดลองงานให้รองประธานกรรมการของจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในสายงานลงนามอันเป็นผลให้ อ. พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลย โดยไม่ได้ปรึกษาจำเลยที่ 2 ก่อนจะเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน แต่โจทก์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในสายงาน จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในกรณีร้ายแรง และการฝ่าฝืนคำสั่งเช่นนี้จำเลยที่ 1 อาจลงโทษโจทก์ได้ แต่เมื่อยังไม่ถึงขนาดที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควรจะเลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7324-7325/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อความเสียหายจากละเมิดของลูกน้อง และการคำนวณอายุความคดีละเมิด
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ดำรงตำแหน่งในระดับผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่กองของกลางและของตกค้าง มีหน้าที่สอดส่องดูแล ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงมิใช่เจ้าหน้าที่ผู้ลงมือปฏิบัติในการเก็บรักษาของกลางโดยตรง หากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มิได้ทำละเมิดหรือร่วมกับบุคคลอื่นทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เสียเอง หรือมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้คนร้ายลักลอบเอาของมีค่าซึ่งโจทก์เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยที่เกิดเหตุไปได้แล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดไม่ ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 และเป็นผู้ลงมือปฏิบัติในการเก็บรักษาของกลางโดยตรงได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุให้คนร้ายลักลอบเอาของมีค่าในตู้นิรภัยของโจทก์ไป จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและประมาทเลินเล่อ ปล่อยปละละเลย ไม่ได้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์ จึงต้องร่วมรับผิดด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 448 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน..." โจทก์เป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคล มีอธิบดีเป็นผู้กระทำการแทน ความประสงค์ของโจทก์ย่อมแสดงออกโดยอธิบดีของโจทก์ ต้องถือว่าโจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันที่อธิบดีของโจทก์ลงนามทราบผลสรุปรายงานผลการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งของคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง เมื่อนับแต่วันดังกล่าวถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากหนังสือร้องเรียนปัญหาการบริหารของผู้บังคับบัญชา
โจทก์ทำงานกับจำเลยในหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล การที่โจทก์เห็นปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารของผู้จัดการทั่วไป โจทก์จึงมีหนังสือถึงประธานกรรมการจำเลยซึ่งมีข้อความว่า "ผู้จัดการทั่วไปขาดการเรียนรู้ถึงการบริหารงาน ทำงานไม่เป็น ปฏิบัติไปในทางลิดรอนสิทธิอำนาจในการบริหารงานของหัวหน้าแผนก...งานทุกอย่างจะต้องผ่านการเห็นชอบ...ทำให้พนักงานทำงานกันไม่ได้เต็มที่เนื่องจากการหวาดกลัว การวิตกว่าจะถูกตัดค่าจ้างและหรือจ่ายค่าชดเชยแก่โรงแรม" และขอเข้าพบประธานกรรมการเพื่อต้องการเสนอปัญหา และประสงค์ที่จะเสนอข้ออันควรปรับปรุงแก้ไขต่อประธานกรรมการผู้มีอำนาจในการตัดสินใจได้ อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่เป็นฝ่ายบริหารระดับสูงด้วยคนหนึ่งเท่านั้น ทั้งถ้อยคำตามหนังสือไม่มีข้อความตอนใดดูถูกดูหมิ่นอันเป็นการหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลใด ๆ ของจำเลย อันถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง การกระทำของโจทก์อาจเป็นผลดีต่อจำเลยก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่มีความผิดใดในอันที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6191/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยข้าราชการ/ลูกจ้าง: การแสดงกิริยาไม่เคารพผู้บังคับบัญชาเป็นเหตุวินัย
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์ไม่เคยกระทำผิดที่ไหนเมื่อใด และไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กล่าวหา ทั้งไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์ เมื่อคำให้การจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้แล้ว
ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบเข้ามาเอง แม้ศาลแรงงานมิได้นำมาประกอบการวินิจฉัยคดีก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นที่ยุติแล้ว ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงนี้ได้ ไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 56
ขณะที่ อ.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์กำลังสอนนักศึกษาหลักสูตรวิชาบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารอยู่ โจทก์ได้เข้ามาซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการเรียนการสอนอยู่ในห้องเดียวกัน ขณะที่ทำการซ่อมนั้นเกิดเสียงดัง อ.บอกให้โจทก์หยุดซ่อม เพราะรบกวนการเรียนการสอน แต่โจทก์ไม่หยุด และเกิดการโต้เถียงกัน เมื่อโจทก์ซ่อมงานเสร็จแล้ว ขณะที่โจทก์กำลังจะออกไปนอกห้องโจทก์ได้พูดกับ อ.อีกว่า ถ้ามีปัญหาอะไรให้ออกไปคุยกันข้างนอก แล้วโจทก์ก็ออกไปพร้อมกับปิดประตูด้วยเสียงดังนั้น เห็นได้ว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวโต้ตอบ อ.เป็นการแสดงถึงความไม่เคารพหรือยำเกรง ทั้งเป็นการท้าทายผู้บังคับบัญชา เป็นการแสดงถึงความกระด้างกระเดื่องและใช้กิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้บังคับบัญชาต้องด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ด้วยแล้ว และขณะเกิดเหตุ อ.กำลังปฏิบัติหน้าที่ มีนักศึกษาจำนวนหลายคนฟังการบรรยายของ อ.อยู่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมมีมาก ที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ตามฟ้อง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6191/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยของลูกจ้าง: การโต้เถียงกับผู้บังคับบัญชาและความเหมาะสมของบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์ไม่เคยกระทำผิดที่ไหน เมื่อใด และไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กล่าวหาทั้งไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์เมื่อคำให้การจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธจึงต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงในส่วนนี้แล้ว ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบเข้ามาเอง แม้ศาลแรงงานมิได้นำมาประกอบการวินิจฉัยคดีก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าเป็นที่ยุติแล้ว ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงนี้ได้ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 56 ขณะที่ อ.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์กำลังสอนนักศึกษาหลักสูตรวิชาบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารอยู่ โจทก์ได้เข้ามาซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการเรียนการสอนอยู่ในห้องเดียวกัน ขณะที่ทำการซ่อมนั้นเกิดเสียงดัง อ. บอกให้โจทก์หยุดซ่อม เพราะรบกวนการเรียนการสอน แต่โจทก์ไม่หยุดและเกิดการโต้เถียงกัน เมื่อโจทก์ซ่อมงานเสร็จแล้ว ขณะที่โจทก์กำลังจะออกไปนอกห้องโจทก์ได้พูดกับ อ.อีกว่า ถ้ามีปัญหาอะไรให้ออกไปคุยกันข้างนอก แล้วโจทก์ก็ออกไปพร้อมกับปิดประตูด้วยเสียงดังนั้น เห็นได้ว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวโต้ตอบ อ.เป็นการแสดงถึงความไม่เคารพหรือยำเกรง ทั้งเป็นการท้าทายผู้บังคับบัญชี เป็นการแสดงถึงความกระด้างกระเดื่องและใช้กิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้บังคับบัญชาต้องด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ด้วยแล้ว และขณะเกิดเหตุ อ.กำลังปฏิบัติหน้าที่มีนักศึกษาจำนวนหลายคนฟังการบรรยายของ อ.อยู่ความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมมีมาก ที่จำเลยมีคำสั่งลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ตามฟ้อง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานจะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9426/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อขอความเป็นธรรมในการประกวดราคา ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยทั้งสองมีความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จำเลยทั้งสองทำหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่า ทำนองว่าโจทก์ใช้อิทธิพลบีบบังคับคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอนุมัติให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นผู้ได้งาน การที่โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาและเป็นผู้ชี้ขาดในการประชุมในความเข้าใจของบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับผลกระทบจากการกระทำของโจทก์ ย่อมมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและเสนอความคิดเห็นไปยังผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าโจทก์พิจารณาให้ความเป็นธรรมได้โดยเชื่อว่าโจทก์มีพฤติการณ์ตามนั้นจริง จึงเป็นการกระทำเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
of 6