คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้บุพพการี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รับมรดกความในคดีที่ฟ้องผู้บุพพการี: การวินิจฉัยอำนาจฟ้องเป็นอุทลุมและการรับมรดกความ
คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์มรณะส. ร้องขอรับมรดกความ แต่ปรากฏว่าจำเลยเป็นปู่ของ ส.ซึ่งอยู่ในฐานะผู้บุพพการี การรับมรดกความของ ส. จึงถือได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพพการี อันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1534 แม้จำเลยมิได้คัดค้านคำร้องของ ส. และศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้รับมรดกความไปแล้ว แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเข้าลักษณะเป็นอุทลุม ย่อมยกขึ้นวินิจฉัยในเวลาพิพากษาคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นคดีอุทลุม ส. ผู้รับมรดกความคงอุทธรณ์คัดค้านในประเด็นสำคัญข้อเดียวว่า การรับมรดกความของ ส. ไม่เป็นการฟ้องผู้บุพพการี ส.มีอำนาจที่จะดำเนินคดีต่อไปได้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นแห่งอุทธรณ์เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก้าวล่วงเข้าไปสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ ส. เข้ารับมรดกความเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น หาใช่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์โดยตรงไม่ อนึ่งการขอรับมรดกความของ ส. ก็นับว่าเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42, 43 ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องของ ส. แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตได้ หาเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
ในชั้นอุทธรณ์ ก. ผู้จัดการมรดกของโจทก์ผู้มรณะตามคำสั่งศาล ยื่นคำร้องขอรับมรดกความร่วมกับ ส. เป็นการยอมรับให้ ส.มีฐานะเป็นผู้รับมรดกความต่อไป ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจสั่งตั้ง ก.ให้เข้ารับมรดกความแทนที่ ส. ซึ่งผิดไปจากคำขอ ทั้ง ก.ก็เพิ่งขอเข้ามารับมรดกความภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปแล้วและเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์มรณะ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามารับมรดกความ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์จะดำเนินการให้ฟ้องเป็นคดีใหม่ภายในกำหนดอายุความนั้นยังไม่เป็นการถูกต้อง เพราะ ส. อาจจะแก้ไขอำนาจฟ้องของตนให้สมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534ได้อยู่แล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการรื้อร้องฟ้องเกี่ยวกับประเด็นวินิจฉัยชี้ขาดซ้ำแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีอันจำเป็นจะต้องกำหนดเงื่อนไขในการฟ้องคดีใหม่ ให้เป็นคุณแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(3)ซึ่งจะกลายเป็นว่า ส. ผู้รับมรดกความยังอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้บุพพการีอย่างคดีเดิมได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีอาญาจำกัดเฉพาะผู้บุพพการี ผู้สืบสันดาน สามี/ภริยาเท่านั้น
สิทธิฟ้องคดีอาญามีบทบัญญัติไว้แล้วใน ป.วิธีพิจารณาความอาญา จะยก ป.วิธีพิจารณาความแพ่งอนุโลมมาใช้ไม่ได้
คดีที่บุคคลถูกทำร้ายตายจะฟ้องได้แต่ฉะเพาะบุคคลตามวิธีพิจารณาความอาญา ม.5(2) เท่านั้น
พี่ชายของผู้ตายไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องผู้ฆ่าน้องชาย แม้จะไม่มีบิดามารดาและอยู่ในความปกครองของพี่ชายก็ตาม