คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ประสบภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนจาก พ.ร.บ.เงินทดแทน และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ลูกจ้างมีสิทธิแม้บริษัทนายจ้างจะได้รับเงินทดแทนไปแล้ว
โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานย่อมมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 และโจทก์เป็นผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 บริษัท ศ. นายจ้างโจทก์จะมีสิทธิขอรับเงินทดแทนต่อจำเลยได้ก็แต่เฉพาะที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนไปก่อน แล้วไปขอรับคืนจากจำเลยตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 25 เท่านั้น และแม้บริษัท ศ. จะเป็นผู้เอาประกันภัยรถโดยสารคันที่โจทก์ทำงานและประสบอุบัติเหตุ แต่ก็มิใช่ผู้ประสบภัยจากรถ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 การที่บริษัท ศ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และได้ขอรับคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยไปแล้ว เป็นการจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะผู้เอาประกันภัย มิใช่ทดรองจ่ายในฐานะนายจ้างตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 25 จึงไม่มีสิทธิมาขอรับเงินคืนจากจำเลยและไม่อาจสละสิทธิในเงินดังกล่าวได้ ทั้งการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามกฎหมายอื่นไม่ตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 อีกตามมาตรา 7 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัย: ผู้ประสบภัย vs. ผู้จ่ายค่ารักษา
การที่ผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองประสบภัยได้รับบาดเจ็บต่อร่างกายก็เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อด้วยความประมาทเลินเล่ออันเป็นการทำละเมิดต่อผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองโดยตรง ไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรถที่กระทำโดยจงใจหรือประพฤติเลินเล่ออย่างร้ายแรง และไม่ใช่ผู้ขับขี่รถอันจะต้องถูกไล่เบี้ยตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสองจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้โดยสารในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองไปแล้ว โจทก์ทั้งสองก็ชอบที่จะไปเรียกร้องเอาแก่บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองไว้ซึ่งมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ประสบภัยและไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัยหรือใช้สิทธิไล่เบี้ยเรียกร้องเอาค่าเสียหายเบื้องต้นที่โจทก์ทั้งสองจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยจากจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถเช่าซื้อไม่ต้องรับผิดประกันภัยผู้ประสบภัย หากไม่ได้ใช้รถเอง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 4 ให้คำจำกัดความคำว่า "เจ้าของรถ" หมายถึง ผู้ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถหรือผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ และหมายความรวมถึงผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวด้วย ดังนั้น ผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อต่างก็เป็น "เจ้าของรถ" ตามคำจำกัดความดังกล่าว เพราะผู้ให้เช่าซื้อคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้เช่าซื้อคือผู้ครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ตามมาตรา 7 นั้น ระบุว่า ผู้ที่จะต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยนั้น ต้องเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้เท่านั้น หากเป็นเจ้าของรถแต่ไม่ได้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรานี้ เพราะมาตรานี้มุ่งหมายถึงเฉพาะเจ้าของรถที่มีการใช้รถเท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อแม้จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถก็ตาม แต่ไม่ได้เป็นผู้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้คงมีรถไว้เพื่อให้เช่าซื้อเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่จำต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยตามมาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: เจ้าของรถที่ก่อเหตุไม่มีประกัน vs. ผู้ประสบภัย
เจ้าของรถที่จะต้องชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 26 นั้น หมายถึงเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 23 (1) ไว้เท่านั้น จำเลยเป็นเพียงผู้ประสบภัยอันเกิดจากรถคันอื่น จึงไม่ใช่เจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายตามนัยแห่ง มาตรา 23 (1) จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประสบภัยจากรถคันอื่นไม่ต้องชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนกองทุนทดแทนฯ
เจ้าของรถที่จะต้องชำระเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยพร้อมเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯมาตรา 26 นั้น หมายถึงเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 23(1) ไว้เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ประสบภัยจากรถยนต์ของผู้อื่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมิใช่เจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายตามมาตรา 23(1)
เจตนารมณ์ของการประกาศใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯก็เพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการเยียวยารักษาทันท่วงทีจากบริษัทประกันภัยหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ แล้วให้บริษัทหรือสำนักงานดังกล่าวมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถผู้ประสบภัยไม่ต้องชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย หากมิได้เป็นผู้ก่อเหตุ
เจ้าของรถที่จะต้องชำระเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยพร้อมเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 มาตรา 26 หมายถึงเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 23(1) ไว้เท่านั้น แต่จำเลยเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นผู้ประสบภัยจากรถยนต์ของผู้อื่นที่ทำให้จำเลยได้รับบาดเจ็บจำเลยจึงมิใช่เจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายตามมาตรา 23(1) กรมการประกันภัยโจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายเบื้องต้นที่ได้จ่ายให้จำเลยไปคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9047/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยต้องไม่ใช่ความผิดผู้ประสบภัย และป้องกันไม่ได้แม้ใช้ความระมัดระวัง
เหตุที่จะถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 ต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของบุคคลผู้นั้นและต้องเป็นเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้ แม้บุคคลผู้ประสบเหตุนั้นจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว การที่จำเลยได้ประกาศขายโครงการก่อสร้างบ้านที่พักอาศัยแก่ประชาชนโดยทั่วไปรวมทั้งโจทก์ไปแล้วโดยที่ยังไม่ได้ตระเตรียมเงินลงทุนไว้ให้พร้อมเสียก่อน เมื่อเกิดมีปัญหาเกี่ยวกับเงินลงทุนโดยสถาบันการเงินระงับการให้กู้ในระหว่างนั้นอันเป็นผลมาจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้การดำเนินกิจการโครงการก่อสร้างหยุดชะงักอันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเงินลงทุนครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะความผิดของจำเลยโดยแท้ที่ไม่เตรียมป้องกันทั้ง ๆ ที่สามารถป้องกันได้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ถูกจำกัดโดยบทบัญญัติขณะเกิดเหตุ
ขณะเกิดเหตุจนถึงวันที่โจทก์ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทนแก่ทายาทผู้ประสบภัยนั้นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมดังเช่นปัจจุบัน โดยบทบัญญัติของมาตรา 31 ที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุได้กำหนดเงื่อนไขในการที่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะความจงใจหรือประพฤติเลินเล่ออย่างร้ายแรงเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ อันเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์ให้ผู้ประสบภัยได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นทันท่วงที โดยไม่จำต้องพิสูจน์ความผิดหรือมีข้อโต้แย้งใดจากบริษัทผู้รับประกันภัยดังนั้น แม้ภายหลังมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ(ฉบับที่ 3)ฯ มาตรา 12 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยความใหม่มีบทบัญญัติให้บริษัทผู้รับประกันภัยที่ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น หรือค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยไปแล้วสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับหลังจากเกิดเหตุคดีนี้ โจทก์จึงไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำเลยไม่มีความผิดฐานไม่ให้ความช่วยเหลือ
จำเลยขับรถบรรทุกคนโดยสารโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ตกลงจากรถจักรยานยนต์แล้วถูกรถของจำเลยแล่นทับถึงแก่ความตายทันทีตรงที่เกิดเหตุ หลังเกิดเหตุจำเลยได้แสดงตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และมอบใบสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจราจรกับบัตรประจำตัวประชาชนแก่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวตรงที่เกิดเหตุ ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจได้ควบคุมตัวจำเลยไว้ ต่อมาจำเลยขออนุญาตเจ้าพนักงานตำรวจไปโทรศัพท์แล้วหลบหนีไป เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยสะบัดมือแล้วหลบหนีไปทันที รูปคดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นแล้วไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร และแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย และไม่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นคนละกรรมกัน
เมื่อจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย และรับอันตรายสาหัส เป็นการกระทำความผิดสำเร็จไปกรรมหนึ่งแล้ว และหลังเกิดเหตุชนกันแล้ว จำเลยไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือและ ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที เป็นความผิดสำเร็จไปอีกกรรมหนึ่ง แม้จะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกัน แต่ก็สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้อย่างชัดเจน จึงเป็น การกระทำหลายกรรมต่างกัน
of 3