คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ผลิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก และผลกระทบต่อหน้าที่เสียภาษีของโจทก์
โจทก์ผลิตน้ำตาลทรายดิบขายให้แก่องค์การคลังสินค้าขายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากรมาตรา 78 และตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 บัญชีท้าย พ.ร.ฎ. บัญชีที่ 1หมวด 1 (7) แต่โดยที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 18) เรื่อง กำหนดหน้าที่ผู้เสียภาษีการค้า ตามมาตรา 78 วรรคสองแห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517 ข้อ 3 ให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าแต่เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรได้มีประกาศดังกล่าวผลักภาระการเสียภาษีการค้าให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1ยอมให้เปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตไปเป็นผู้ส่งออก โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าจากการขายน้ำตาลทรายดิบให้แก่องค์การคลังสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้คิดค้น/ผลิตก่อนย่อมมีสิทธิเหนือตัวแทนจำหน่าย
บิดาจำเลยที่ 1 ป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้ารูปไก่และคำว่าCOCK ที่พิพาทในลักษณะประดิษฐ์ แล้วนำไปจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 8รายการสินค้าถ่านไฟฉาย ตามทะเบียนเลขที่ 20333 คำขอเลขที่ 31034 แต่ได้ขาดการจดทะเบียนต่ออายุ จึงถูกเพิกถอนจากทะเบียนแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 2นำมาขอจดทะเบียนใหม่ตามคำขอเลขที่ 199611 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2533โดยบริษัทจำเลยที่ 2 ตั้งขึ้นเมื่อปี 2482 มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อตั้งและผลิตถ่านไฟฉายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ส่วนโจทก์เป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านไฟฉายที่มีเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท ตามนัยบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และโจทก์ไม่มีสิทธิห้ามจำเลยทั้งสองใช้ ยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอขายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับอนุญาตจากผู้ผลิตเดิม ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตได้ร่วมกันกระทำละเมิดด้วยการเอาชื่อทางการค้าคำว่าSABและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้องไปใช้ในการประกวดราคาผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติทั้งสองครั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์และร่วมกันจัดทำแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของSAB ที่มีรูปแบบภาพจำลองคำบรรยายเหมือนคล้ายและละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปภาพจำลองเป็นเหตุให้คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาหลงเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ตามใบประกวดราคาทั้งสองครั้งที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำและยื่นต่อคณะกรรมการเปิดซองประกวดเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์และอยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และได้พิจารณาซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติตามใบประกวดราคาทั้งสองครั้งที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอแทนการรับซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโตมัติของแท้ของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหายโดยไม่อาจขายสินค้าของโจทก์ได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนี้เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเกี่ยวกับความเสียหายของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วส่วนรายละเอียดว่าโจทก์เสียหายอย่างไรจึงเป็นค่าเสียหายจำนวนตามฟ้องนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยทั้งสองได้เสนอขายสินค้าแก่ร.โดยระบุไปตามความเป็นจริงว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศโปแลนด์ มิใช่สินค้าของโจทก์ที่ผลิตในประเทศสวีเดนจำเลยทั้งสองหาได้ระบุว่าสินค้าที่เสนอขายเป็นผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ประเทศสวีเดนไม่ทั้งปรากฎตามเงื่อนไขรายละเอียดของการประกวดราคาว่าร.ต้องการซื้อเครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ผลิตโดยSAB ประเทศสวีเดน หรือเทียบเท่ามิได้ระบุว่าต้องการซื้อเฉพาะสินค้าของโจทก์เท่านั้นประกอบกับเหตุที่ประธานกรรมการเปิดซองประกวดราคาของร.รับซื้อสินค้าของจำเลยที่1เนื่องจากราคาต่ำสุดและใช้แทนของเดิมได้จึงได้เสนอให้ร.รับซื้อไว้ขณะตรวจรับก็ได้ทำการทดสอบและตรวจสอบก่อนปรากฎว่าใช้การได้กรรมการตรวจสอบมิได้หลงเชื่อหรือหลงผิดในข้ออ้างที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของSAB หรือไม่ดังนี้การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่เป็นการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าคำวาSAB ของโจทก์ แม้รูปแบบภายจำลองและคำบรรยายในแคตตาล๊อกผลิตภัณฑ์เครื่องร่นแท่งห้ามล้ออัตโนมัติที่ทำขึ้นในประเทศสวีเดนเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2521อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิและโจทก์เป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นแต่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองเสนอต่อร.เป็นแคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองได้รับมาจากประเทศโปแลนด์มิใช่แคตตาล็อกที่จำเลยทั้งสองจัดทำขึ้นโดยลอกเลียนแคตตาล็อกของโจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงยังไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้ากรณีจำเลยเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก และการคิดดอกเบี้ยเงินภาษีที่ได้รับคืน
โจทก์เป็นผู้ผลิตขายน้ำตาลทรายดิบให้องค์การคลังสินค้าภายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เสียภาษีการค้า และตาม พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชีท้าย พระราชกฤษฎีกาบัญชีที่ 1 หมวด 1(7) แต่เนื่องจากได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18) เรื่องกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อนละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ เมื่อจำเลยได้ประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้าให้โจทก์ ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรกำหนดให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133(พ.ศ. 2516)ข้อ 1(2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไป และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศ วรรคแรกกำหนดไว้จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ใน อัตราตามที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าจากการดัดแปลงรถยนต์: ผู้ประกอบการค้าคือผู้ผลิตรถยนต์ที่ดัดแปลง
ย. ดัดแปลงหรือจัดให้ผู้อื่นดัดแปลงรถยนต์กระบะบรรทุกให้เป็นรถยนต์นั่งและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงลักษณะรถเมื่อเดือนสิงหาคม2529 จึงถือได้ว่า ย. เป็นผู้ประกอบการค้าในฐานะผู้ผลิต มีหน้าที่เสียภาษีการค้าของเดือนสิงหาคม 2529 อันเป็นเดือนภาษีนั้นโจทก์ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2530 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ด้วยในขณะนั้น จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าให้แก่จำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินค่าภาษีการค้าที่ชำระไปคืนได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเสียภาษีการค้ากรณีดัดแปลงรถยนต์กับแบบแสดงรายการการค้าต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลย เจ้าหน้าที่ของจำเลยคำนวณเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจทก์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลัก จึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้น กรณีมิใช่ลาภมิควรได้ อันจะขาดอายุความ 1 ปี โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันที่ 7 มีนาคม 2532 แต่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2531 เป็นการเกินไปกว่าคำขอไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและผลิตวัตถุมีพิษโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการปลอมแปลงข้อมูลผู้ผลิต
จำเลยเป็นผู้สั่งทำถุงพลาสติกของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้แล้วของบริษัทผู้เสียหาย แม้จำเลยจะไม่ได้เป็นผู้ทำถุงพลาสติกของปลอมขึ้นด้วยตนเอง แต่การที่จำเลยสั่งให้ผู้อื่นเป็นผู้จัดทำของปลอมนั้นขึ้น จำเลยก็มีความผิดในข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าแล้ว และเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยจัดให้มีการปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหาย
จำเลยผลิตยากำจัดวัชพืช มีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 11, 36 และผลิตยาฆ่าปูมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษพ.ศ. 2510 มาตรา 12, 37 เป็นการผลิตวัตถุมีพิษต่างชนิดกันคือเป็นวัตถุมีพิษธรรมดากับวัตถุมีพิษร้ายแรง กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน ความผิดสองฐานนี้จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
จำเลยผลิตยากำจัดวัชพืชมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาดังกล่าวปลอมโดยได้แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่เป็นความจริงนั้นเป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท ส่วนที่จำเลยผลิตยาฆ่าปู มีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงดังกล่าวปลอมโดยได้แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่เป็นความจริง เป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยกับการส่งมอบสินค้า: กรณีผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าตามสเปคที่ตกลงกันได้
การที่โจทก์ไม่สามารถส่งมอบเครื่องทดสอบการอัดแน่นให้จำเลยตามสัญญาเพราะบริษัทผู้ผลิตไม่ได้ผลิตเครื่องตามขนาดที่ระบุไว้ในสัญญา แต่ขณะเดียวกันยังมีบริษัทอื่นผลิตเครื่องหมายทดสอบการอัดแน่นซึ่งมีรายละเอียดตามคำเชิญชวนของจำเลยกรณีเช่นนี้จะถือว่าโจทก์ไม่สามารถส่งมอบเครื่องทดสอบการอัดแน่นให้จำเลยเพราะเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่ เพราะกรณีเป็นความผิดพลาดของโจทก์เองที่ยื่นคำเสนอขายเครื่องดังกล่าวโจทก์จำเลยโดยมิได้ตรวจสอบให้ดีเสียก่อนว่าจะสามารถจัดหาเครื่องขนาดและชนิดตามที่ระบุไว้ในคำเสนอของโจทก์เองต่อจำเลยได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อ: พิจารณาภาษีการค้าฐานะผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างทำของ โดยพิจารณาจากความสำคัญของวัตถุดิบและการงาน
เมื่อคุณภาพและส่วนผสมของสบู่และเนยที่โจทก์ผลิตตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้ากับที่โจทก์ผลิตและจำหน่ายเองเหมือนกัน สัมภาระหรือวัตถุที่นำมาใช้ในการผลิตตามคำสั่งเฉพาะรายดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่งกว่าการงานกรณีเป็นการผลิตและขายให้ลูกค้าผู้สั่ง มิใช่การรับจ้างทำของ ดังนั้นโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้า: การผลิตถุงเท้าเพื่อขาย แม้ทำสัญญาจ้างหรือซื้อขายกับราชการ ถือเป็นผู้ผลิตต้องเสียภาษี
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการตั้ง โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมทั้งโรงงานทำถุงเท้า โรงงานทำรองเท้า และโรงงานทำสิ่งถักทอทุกชนิดจำหน่ายถุงเท้า รองเท้าและอื่นๆการขอจดทะเบียนการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์ก็ระบุว่าเป็นการขายของชนิด 1(ก) สินค้าและการค้าส่วนใหญ่เป็นจำพวกถุงเท้าและโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากรแสดงว่า โจทก์ประกอบการค้า ประเภท 1การขายของชนิด 1(ก) ผลิต ถุงเท้าจำหน่าย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าว่า โจทก์ประกอบการค้าประเภท 4การรับจ้างทำของเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ประกอบการค้าจัดส่งถุงเท้าให้กรมพลาธิการทหารบก โดยทำสัญญากับกองทัพบกเป็นสัญญาจ้างทำถุงเท้าบ้าง สัญญาซื้อขายถุงเท้าบ้าง และคุณลักษณะเฉพาะของถุงเท้า รูปแบบถุงเท้าตามที่กำหนดไว้ท้ายสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายถุงเท้าระหว่าง กองทัพบกกับห้างโจทก์ ก็ใช้คุณลักษณะเฉพาะแสดงว่า กองทัพบกมีวัตถุประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในถุงเท้าที่มีคุณภาพและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ถึง แม้จะระบุชื่อว่าเป็นสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายก็ไม่สำคัญ เห็นได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานทอถุงเท้าจำหน่ายและได้ จำหน่ายให้กองทัพบกโดยโจทก์ได้รับมูลค่าของถุงเท้าเป็นค่าตอบแทน โจทก์จึงเป็นผู้ทำให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ถุงเท้า ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต ตามมาตรา 77แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7ของรายรับในประเภท 1 การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับโดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่าผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: ผู้ผลิตสบู่และแปรงสีฟัน การหักยอดขายสินค้าคืนจากลูกค้าเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีซ้ำ
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ในข้อ 1 ว่า โจทก์เป็นผู้ผลิตสบู่หอมเชอร์ลักค์หรือไม่ ก่อนสืบพยานจำเลยแถลงยอมรับว่าบริษัท ก. ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตสบู่เชอร์ลักค์ไว้แล้ว คำแถลงดังกล่าวจำเลยหาได้แถลงรับว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ผลิตสบู่หอมเชอร์ลักค์แต่อย่างใดไม่ คดียังคงมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้ผลิตสบู่หอมเชอร์ลักค์หรือไม่ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์นำข้อเท็จจริงจากการนำสืบของโจทก์จำเลยขึ้นมาวินิจฉัยจึงหาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่
บริษัทผู้ผลิตสินค้าสบู่และแปรงสีฟันขายให้โจทก์ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้แล้วการที่โจทก์ให้ผู้ขายประทับตราเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ดี การที่โจทก์เป็นผู้จัดหากระดาษและกล่องใส่ตัววัตถุสินค้าให้แก่ผู้ขายก็ดี ตลอดจนมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายจะผลิตออกจำหน่ายให้แก่ผู้อื่นไม่ได้ก็ดี เงื่อนไขเหล่านี้คู่สัญญาย่อมอาจจะตกลงกำหนดเป็นข้อสัญญาบังคับกันตามพาณิชโยบายของทั้งสองฝ่ายได้ ทั้งตัววัตถุสินค้าที่ซื้อ โจทก์จะนำมาบรรจุห่อหรือมอบให้ผู้ขายบรรจุห่อก็ย่อมทำได้ ตัววัตถุสินค้าสบู่และแปรงสีฟันที่โจทก์ซื้อก็ยังคงเป็นสบู่และแปรงสีฟันอย่างเดิม มิได้แปรสภาพเป็นสินค้าชนิดใหม่ กรณีเช่นนี้หาเข้าลักษณะเป็นการ"ผลิต" หรือเป็น "ผู้ผลิต" ตามคำนิยามในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรไม่
โจทก์ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตในการขายครั้งแรกแล้ว เมื่อโจทก์รับสินค้าคืนจากลูกค้าแล้วขายสินค้านั้นไปใหม่ โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตสินค้าที่รับคืนนั้นเป็นการซ้ำอีก การที่โจทก์ขายสินค้าที่รับคืนไปใหม่แล้วนำไปหักออกจากยอดรวมในการจำหน่ายสินค้าทั้งหมดของเดือนนั้น เพื่อแยกเป็นยอดรายรับจากการขายสินค้าเฉพาะที่ได้รับคืนกับยอดรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าของเดือนภาษีนั้น ก็เพื่อไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตเป็นการซ้ำอีก หาเป็นการไม่ชอบและต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 จัตวา (3) ไม่
of 3