พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมที่ไม่ปรากฏผู้เขียน/ผู้พิมพ์ แต่ทำตามแบบกฎหมาย
พินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายที่จะทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1705 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่ามีกรณีใดบ้างที่เป็นโมฆะ แต่มิได้บัญญัติให้พินัยกรรมที่ไม่ลงลายมือชื่อผู้เขียน (หรือผู้พิมพ์) ในกรณีที่ผู้เขียนมิใช่ผู้ทำพินัยกรรม กล่าวคือทำไม่ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1671 ตกเป็นโมฆะ ฉะนั้นเมื่อขณะทำพินัยกรรมในคดีนี้มีพยานในพินัยกรรมทั้งสี่คนอยู่พร้อมกันและผู้ตายลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยาน 2 คน พินัยกรรมดังกล่าวจึงถูกต้องตามแบบที่ ป.พ.พ. มาตรา 1656 กำหนดไว้ และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ ผู้พิมพ์/โฆษณาต้องรับผิดชอบต่อข้อความที่เผยแพร่ แม้มิได้เป็นผู้เขียน
การที่หนังสือพิมพ์เสนอข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ว่า .....โจทก์ประพฤติปฏิบัติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม ......โจทก์มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มีนิสัยชอบใช้อำนาจบาตรใหญ่ ......ฯลฯ.....นั้น หาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำไม่ เมื่อข้อความนั้นไม่เป็นความจริง ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 และการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แม้ผู้กล่าวหรือไขข่าวมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริงแต่หากควรรู้ได้ก็ต้องรับผิด
แม้มูลกรณีเดียวกันนี้ศาลในคดีส่วนอาญาจะได้พิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์แล้วก็ตาม การที่ศาลในคดีส่วนแพ่งยังพิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์อีกด้วยนั้น ก็เป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447 หาใช่เป็นการลงโทษจำเลยสองครั้งในความผิดเดียวกันไม่แต่เมื่อจำเลยได้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์แล้ว ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดี จึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาต่อไปอีก
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา แม้จะมิใช่เจ้าของหนังสือพิมพ์และมิได้เป็นผู้เขียนหรือมีส่วนรู้เห็นในการเขียนข้อความอันเป็นละเมิดก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนำลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมดเพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้แพร่หลาย
แม้มูลกรณีเดียวกันนี้ศาลในคดีส่วนอาญาจะได้พิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์แล้วก็ตาม การที่ศาลในคดีส่วนแพ่งยังพิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์อีกด้วยนั้น ก็เป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447 หาใช่เป็นการลงโทษจำเลยสองครั้งในความผิดเดียวกันไม่แต่เมื่อจำเลยได้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์แล้ว ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดี จึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาต่อไปอีก
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา แม้จะมิใช่เจ้าของหนังสือพิมพ์และมิได้เป็นผู้เขียนหรือมีส่วนรู้เห็นในการเขียนข้อความอันเป็นละเมิดก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดชอบในข้อความหรือสิ่งอื่นใดที่ตนคัดเลือกนำลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ทั้งหมดเพราะตนเป็นผู้จัดการไขข่าวให้แพร่หลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2525 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ความรับผิดของบรรณาธิการและผู้พิมพ์
ข้อความที่ลงหนังสือพิมพ์ในคอลัมน์ "มองมุมนอก" ของหนังสือพิมพ์รายวัน "มติชน" นอกจากระบุถึงชื่อและนามสกุลของโจทก์แล้ว ยังลงรูปโจทก์ด้วย ทั้งข้อความก็หมายถึงโจทก์เป็นส่วนใหญ่ และข้อความดังกล่าวมีความหมายว่าโจทก์ประพฤติปฏิบัติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม การที่โจทก์ผ่านการสัมมนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารไม่ได้ช่วยดัดสันดานและนิสัยของโจทก์ให้กลับตัวกลับใจมีคุณธรรม โจทก์มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่านายพิชิตผู้สื่อข่าวไทยรัฐ เพราะโจทก์มีนิสัยขอบวางอำนาจมาตรใหญ่ มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย และใช้อำนาจในทางที่ผิด อำนาจฝ่ายต่ำจึงเข้าครอบงำ ถ้าประเทศมีข้าราชการระดับนักบริหารอย่างโจทก์ บ้านเมืองจะไปไม่รอด ข้อความดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ต่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง และถือไม่ได้ว่าเป็นการเสนอข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของหนังสือพิมพ์ที่พึงกระทำ หรือเป็นการลงข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
บรรณาธิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดลอก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ ดังนั้น ในกรณีแห่งนังสือพิมพ์ บรรณาธิการที่จะต้องรับผิดเป็นตัวการ ต้องเป็นบรรณาธิการซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการอำนวยการมีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการ เจ้าของผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์รายวัน "มติชน" รับว่าเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงโฆษณาทั้งหมดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
บรรณาธิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดลอก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ ดังนั้น ในกรณีแห่งนังสือพิมพ์ บรรณาธิการที่จะต้องรับผิดเป็นตัวการ ต้องเป็นบรรณาธิการซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการอำนวยการมีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการ เจ้าของผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์รายวัน "มติชน" รับว่าเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงโฆษณาทั้งหมดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ความรับผิดของบรรณาธิการและผู้พิมพ์
ข้อความที่ลงพิมพ์ในคอลัมน์ "มองมุมนอก" ของหนังสือพิมพ์รายวัน"มติชน" นอกจากจะระบุถึงชื่อและนามสกุลของโจทก์แล้ว ยังลงรูปโจทก์ด้วยทั้งข้อความก็หมายถึงโจทก์เป็นส่วนใหญ่ และข้อความดังกล่าวมีความหมายว่าโจทก์ประพฤติปฏิบัติอย่างคนไร้ศีลธรรมการที่โจทก์ผ่านการสัมมนาหลักสูตรพัฒนานักบริหารไม่ได้ช่วยดัดสันดานและนิสัยของโจทก์ให้กลับตัวกลับใจมีคุณธรรม โจทก์มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่านายพิชิตผู้สื่อข่าวไทยรัฐเพราะโจทก์มีนิสัยชอบวางอำนาจบาตรใหญ่ มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย และใช้อำนาจในทางที่ผิด อำนาจฝ่ายต่ำจึงเข้าครอบงำ ถ้าประเทศมีข้าราชการระดับนักบริหารอย่างโจทก์ บ้านเมืองจะไปไม่รอด ข้อความดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ต่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง และถือไม่ได้ว่าเป็นการเสนอข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นนิสัยของหนังสือพิมพ์ที่พึงกระทำ หรือเป็นการลงข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
บรรณาธิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ดังนั้น ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการที่จะต้องรับผิดเป็นตัวการต้องเป็นบรรณาธิการซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการอำนวยการมีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการ เจ้าของผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์รายวัน "มติชน" รับว่าเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงโฆษณาทั้งหมดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
บรรณาธิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ คัดเลือก หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์ดังนั้น ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการที่จะต้องรับผิดเป็นตัวการต้องเป็นบรรณาธิการซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการอำนวยการมีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการ เจ้าของผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของหนังสือพิมพ์รายวัน "มติชน" รับว่าเป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงโฆษณาทั้งหมดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลงหนังสือ: ผู้พิมพ์ที่ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เอกชนไม่มีอำนาจฟ้องตามพ.ร.บ.การพิมพ์ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียบควบคุมการพิมพ์โดยฉะเพาะ. ผู้พิมพ์ซึ่งไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องผู้ละเมิดสิขสิทธิหนังสือนั้น. ศาลไม่อนุญาตให้คู่ความสืบพะยานเพิ่มเติมได้ ไม่ผิดต่อประมวลวิธีพิจารณา เพราะเป็นการใช้ดุลพินิจ จำเลยพิมพ์หนังสือของผู้เสียหายอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ และประทับตราปลอมดวงตราของผู้เสียหายในหนังสือนี้ ผิดฐานละเมิดลิขสิทธิกะทงหนึ่งด้วย และฐานปลอมหนังสืออีกกะทงหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีลิขสิทธิ์และการละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือ
เอกชนไม่มีอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียบควบคุมการพิมพ์โดยเฉพาะ
ผู้พิมพ์ซึ่งไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือนั้น
ศาลไม่อนุญาตให้คู่ความสืบพยานเพิ่มเติมได้ ไม่ผิดต่อประมวลวิธีพิจารณา เพราะเป็นการใช้ดุลพินิจ
จำเลยพิมพ์หนังสือของผู้เสียหายอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และประทับตราปลอมดวงตราของผู้เสียหายในหนังสือนั้น ผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์กระทงหนึ่งและฐานปลอมหนังสืออีกกระทงหนึ่งด้วย ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1 และที่ 3/85
ผู้พิมพ์ซึ่งไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือนั้น
ศาลไม่อนุญาตให้คู่ความสืบพยานเพิ่มเติมได้ ไม่ผิดต่อประมวลวิธีพิจารณา เพราะเป็นการใช้ดุลพินิจ
จำเลยพิมพ์หนังสือของผู้เสียหายอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และประทับตราปลอมดวงตราของผู้เสียหายในหนังสือนั้น ผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์กระทงหนึ่งและฐานปลอมหนังสืออีกกระทงหนึ่งด้วย ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1 และที่ 3/85
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมพิมพ์ที่ไม่ลงชื่อผู้พิมพ์ ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ หากไม่ผิดแบบพินัยกรรม
พินัยกรรม์ซึ่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ธรรมดาแต่ผู้พิมพ์มิได้เซ็นชื่อเป็นผู้พิมพ์ไว้นั้นไม่ตกเป็นโมฆะ