พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงฎีกาโดยผู้มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้ฎีกานั้นไม่ชอบ ศาลไม่รับพิจารณา
จำเลยยื่นฎีกาโดยลงชื่อเป็นผู้ฎีกา แต่มี ส. ซึ่งเป็นนักโทษลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียง ปรากฎว่า ส.มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ กับทั้งไม่ปรากฎว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 แห่งพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 ดังนั้น การที่ ส. เรียง หรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12386/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการทางกฎหมายโดยผู้มิได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้คำฟ้องอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 มี ป. ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ โดยไม่ปรากฏว่า ป. เป็นทนายความของลูกหนี้ที่ 1 หรือเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากลูกหนี้ที่ 1 ให้มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาแทนในศาล ทั้งไม่ปรากฏว่าในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายนี้ ลูกหนี้ที่ 1 ได้อ้างส่งหนังสือมอบอำนาจที่มีระบุให้ ป. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนลูกหนี้ที่ 1 และหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน ที่อยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลได้แล้ว ป. ยังลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงคำฟ้องอุทธรณ์ซึ่งตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาล หรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา คำร้องหรือคำแถลงอันเกี่ยวแก่การพิจารณาคดีในศาลให้แก่บุคคลอื่น ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้กระทำในฐานะเป็นข้าราชการผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น" และการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้ มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่า ป. เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความหรือเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 การที่ ป. เรียงคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งให้ลูกหนี้ที่ 1 จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวด้วย ดังนั้น คำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งของลูกหนี้ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย