พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาในคดีเลือกตั้ง: ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง vs. ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง
การยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเกี่ยวกับคดีเลือกตั้งตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มีได้ 2 กรณีคือ (1) กรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของตนได้ตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง และ (2) กรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้ว แต่ต่อมาปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขาดคุณสมบัตรหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดังกล่าวมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครผู้นั้นได้ตามมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินจิฉัยว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งและการดำเนินการของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นคำร้องที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยได้
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาในคดีเลือกตั้ง: ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง vs. ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง
การยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเกี่ยวกับคดีเลือกตั้งตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิ พ.ศ. 2541 นั้น มีได้ 2 กรณี คือ กรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งผู้สมัครผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของตนได้ตามมาตรา 34 วรรคหนึ่ง และกรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแล้ว แต่ต่อมาปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้หนึ่งผู้ใด ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดังกล่าวมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครผู้นั้นได้ตามมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พ. มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่ดำเนินการสืบสวนสอบสวนและยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร รับเลือกตั้งของ พ. ตามที่ผู้ร้องขอให้ตรวจสอบ เป็นคำร้องที่ไม่ต้องด้วยมาตรา 34 วรรคหนึ่ง และมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 ผู้ร้อง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยได้
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พ. มีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่ดำเนินการสืบสวนสอบสวนและยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัคร รับเลือกตั้งของ พ. ตามที่ผู้ร้องขอให้ตรวจสอบ เป็นคำร้องที่ไม่ต้องด้วยมาตรา 34 วรรคหนึ่ง และมาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 ผู้ร้อง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13545/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหาเสียงด้วยดนตรีและการปราศรัยเข้าข่ายจัดมหรสพเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ในการโฆษณาหาเสียงของจำเลยทั้งสิบสองมีการเล่นดนตรีพื้นบ้านประเภทสะล้อซอซึง บนรถยนต์บรรทุกในขบวนรถหาเสียง การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มจาวเชียงคำยืนปราศรัยอยู่บนรถยนต์บรรทุกหกล้อ โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 ยืนอยู่บนรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อขบวนรถหาเสียงเข้าพื้นที่เลือกตั้งเขตของตน การเล่นดนตรีพื้นบ้านประเภทสะล้อซอซึงในพฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นผู้สมัครกระทำการเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งแก่ตนเอง โดยทำการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงใด ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14297/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นเจตนาจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้เข้าใจผิด
การที่จำเลยซึ่งเคยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมายเดิม ซึ่งต่อมาเมื่อมีการแก้ไขโดย พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 อันเป็นเวลาที่จำเลยได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ได้เทียบตำแหน่งกรรมการบริหารเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมายใหม่ ดังนั้น การที่จำเลยปิดประกาศโฆษณาว่าเคยดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอันเป็นความเชื่อของจำเลยโดยสุจริตว่าตำแหน่งเทียบเท่ากันได้ และจำเลยมีสิทธิจะใช้ชื่อตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้ และการที่จำเลยได้รับการเลือกตั้งโดยมีคะแนนรวมเป็นอันดับที่ 1 น่าจะเกิดจากผลงาน ชื่อเสียงในการทำงานทางการเมืองในครั้งก่อน ๆ เชื่อว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำการอันเป็นการจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจผิดในเรื่องประสบการณ์การทำงานของจำเลยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการให้เงินจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเหตุไม่รอการลงโทษ
จำเลยให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4 คน เพื่อจูงใจให้แต่ละคนลงคะแนนเลือกตั้ง ธ. และ ว. ย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวและเป็นการอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานซื้อเสียง: การให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยให้เงิน ค. ท. ส. และ ล. ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เขตเลือกตั้งที่ 2 เพื่อจูงใจให้บุคคลทั้งสี่ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ ธ. ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และ ว. ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก การกระทำของจำเลยเป็นการจูงใจโดยให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวและอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน