พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6272/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกประชุมใหญ่เจ้าของร่วมอาคารชุดโดยผู้ไม่มีอำนาจตามข้อบังคับ และการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่มีผู้มีอำนาจ
ตามข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดข้อ 31 กำหนดไว้ว่า บุคคลผู้มีสิทธิเรียกประชุมใหญ่สามัญ คือ 31.1 ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ 31.2 คณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ เมื่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2542 และขณะนั้นก็ไม่มีคณะกรรมการควบคุมจัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่มีการแต่งตั้งโดยชอบตามกฎหมาย ดังนั้น นับแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา นิติบุคคลอาคารชุดจึงไม่มีทั้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดและคณะกรรมการควบคุมจัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่จะเรียกประชุมใหญ่ตามข้อบังคับข้อ 31 ได้ ที่จำเลยที่ 2 กับเจ้าของร่วมจำนวนหนึ่งได้เรียกประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2542 จึงไม่ขัดต่อข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งไม่ได้กำหนดข้อบังคับในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ เมื่อมีการประชุมในวันที่ 5 กันยายน 2542 ก็ถือได้ว่าเป็นไปตามความประสงค์ของการก่อตั้งนิติบุคคลอาคารชุดที่ประสงค์จะให้เจ้าของร่วมทั้งหมดจัดการร่วมกัน การเรียกประชุมดังกล่าวจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคลและผู้มีอำนาจกระทำการ, ฟ้องเคลือบคลุม, การกระทำแทนบริษัท
ฟ้องโจทก์ระบุว่า โจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ว. จำกัด มี ม. เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้แทนโจทก์ที่ 1 และในฐานะส่วนตัวได้ติดต่อสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องหนังและรองเท้ากับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ขายสินค้าให้โจทก์ภายหลังโจทก์พบว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่อง ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสามทราบและรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยเพิกเฉย คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวบรรยายถึงฐานะโจทก์สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคล ในคำฟ้องก็ไม่จำต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ในช่องชื่อโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องบรรยายในคำฟ้องอยู่แล้ว และตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้บรรยายไว้แล้วว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 กระทำการแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 เมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญาที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำขึ้นโดยผู้มีอำนาจกระทำการเป็นผู้ทำแทนจึงย่อมผูกพันเฉพาะโจทก์ที่ 1 และเฉพาะโจทก์ที่ 1 เท่านั้น มีอำนาจฟ้องคดีได้ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจะฟ้องคดีในนามของตนเองแทนโจทก์ที่ 1 ตามสัญญานั้นไม่ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคล ในคำฟ้องก็ไม่จำต้องระบุชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 ในช่องชื่อโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องบรรยายในคำฟ้องอยู่แล้ว และตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้บรรยายไว้แล้วว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 2 กระทำการแทนบริษัทโจทก์ที่ 1 เมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญาที่โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำขึ้นโดยผู้มีอำนาจกระทำการเป็นผู้ทำแทนจึงย่อมผูกพันเฉพาะโจทก์ที่ 1 และเฉพาะโจทก์ที่ 1 เท่านั้น มีอำนาจฟ้องคดีได้ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจะฟ้องคดีในนามของตนเองแทนโจทก์ที่ 1 ตามสัญญานั้นไม่ได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การที่ไม่ชอบเนื่องจากเรียงโดยผู้ไม่มีอำนาจตามกฎหมายทนายความและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตหรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลรวมทั้งเรียงคำฟ้องและคำให้การ การที่จำเลยยื่นคำให้การระบุว่า ส. ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและพิมพ์ แต่มิได้ยื่นใบแต่งทนายความหรือแสดงพยานหลักฐานว่า ส. เป็นทนายความ จึงยังไม่ชัดเจนว่าคำให้การของจำเลยชอบหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้จำเลยแสดงหลักฐานการเป็นทนายความ จึงเป็นการสั่งเพื่อตรวจคำให้การของจำเลยหาใช่สั่งให้ส่งเอกสารที่กฎหมายต้องการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลางและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 17 เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้แสดงหลักฐานการเป็นทนายความของ ส. ภายในเวลาที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนด จึงถือว่าคำให้การของจำเลยทั้งสองเรียงโดยผู้ไม่มีอำนาจเป็นคำให้การไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำ: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจและเจตนาโอนสิทธิ
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: ผู้มีอำนาจลงนามแต่งตั้งทนายความ ถือเป็นการฟ้องด้วยตนเอง ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งไม่รับฟ้องได้
ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องโดยอ้างว่าหนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ น.ทนายโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้อง แม้ในคำฟ้องจะระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้นาย ส.ดำเนินคดีแทน แต่เมื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งนาย น.เป็นทนายความ พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ จึงเท่ากับว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับฟ้องโจทก์แล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการสั่งโดยเข้าใจผิด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่เพิกถอน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาได้ตามบทกฎหมายทั่วไป หาใช่ต้องอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18วรรคท้ายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีภาษีอากรเริ่มต้นเมื่อผู้มีอำนาจของนิติบุคคลทราบการตายของผู้เสียภาษี
กองกฎหมายและคดีได้ทำบันทึกให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับทราบถึงการตายของ ย.เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงลายมือชื่อรับทราบการตายของ ย. ในวันนั้นโดยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นถือได้ว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพิ่งทราบการตายของ ย. ในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 เมษายน2541 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รู้ถึงความตายของ ย. ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร การนับอายุความจึงต้อง เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครรู้ถึง การตายของ ย. มิใช่นับแต่วันที่สำนักงานเขตบางกอกน้อย รับแจ้งการตายของ ย.แม้สำนักงานเขตดังกล่าวเป็นหน่วยงานของโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคล: ผู้มีอำนาจกระทำการแทน
ป.วิ.อ.มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมาย เช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก.กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย และตามบันทึกคำให้การของ ก.มีข้อความว่าก.ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก.เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก.ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก.กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก.ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงาน-อัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก.กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย และตามบันทึกคำให้การของ ก.มีข้อความว่าก.ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก.เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก.ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก.กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก.ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงาน-อัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนนิติบุคคล: ผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมายเท่านั้นที่พนักงานสอบสวนจะสอบสวนได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมายเช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยและตามบันทึกคำให้การของ ก. มีข้อความว่า ก. ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก. เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก. ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยและตามบันทึกคำให้การของ ก. มีข้อความว่า ก. ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก. เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก. ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนนิติบุคคล: ต้องสอบสวนผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามกฎหมายเท่านั้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมายเช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนก. กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวนอ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยและตามบันทึกคำให้การของก. มีข้อความว่าก. ไม่ขอให้การชี้สอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก.เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ก.ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจ ให้ก. กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก. ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลย โดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลย เป็นคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5234/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขงานสัญญาภาครัฐ: การตกลงราคากับผู้มีอำนาจ และผลผูกพันสัญญา
สัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 มีข้อความว่า ผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะทำการแก้ไขหรือเพิ่มเติมหรือลดงานจากแบบรูปและรายละเอียดตามสัญญาได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องเลิกสัญญานี้ การเพิ่มเติมหรือลดงานจะต้องคิดและตกลงราคากันใหม่ และถ้าต้องเพิ่มหรือลดเงินหรือยืดเวลาออกไปอีกก็จะได้ตกลงกัน ณ บัดนั้นและได้ระบุรายละเอียดส่วนหนึ่งของสัญญาว่าสำนักงบประมาณอนุมัติให้จำเลยลดจำนวนการถมดินลงพร้อมส่วนประกอบอื่น ๆ รวม 5 รายการ วงเงิน3,473,900 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างพิพาทเท่านั้น ซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างทราบแต่ต้นแล้วว่าจำเลยเป็นหน่วยงานของรัฐบาลมีวงเงินที่จะชำระหนี้ให้โจทก์เป็นค่าจ้างได้ไม่เกินจำนวนดังกล่าว ทั้งการเพิ่มวงเงินจำเลยจะต้องขออนุมัติตามขั้นตอนของระเบียบทางราชการก่อน ส่วนการถมดินเพิ่มและการต่อฐานรากเสาเข็มเพิ่ม ปรากฏว่าโจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร และฝ่ายจำเลยซึ่งตกลงกับโจทก์คือคณะกรรมการตรวจการจ้างซึ่งไม่มีอำนาจตกลงเพิ่มหรือลดเงินแทนจำเลย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยมิได้ทราบและโจทก์จำเลยมิได้ตกลงราคากันใหม่ตามสัญญาจ้างที่พิพาทข้อ 18 การถมดินเพิ่มและการต่อฐานรากเสาเข็มเพิ่มจึงไม่ผูกพันจำเลยจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนนี้