คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับจำนอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินพิพาทที่ออกโฉนดโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิเพิกถอนได้ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้รับจำนองสุจริต
อ. ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินทีมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนโอนสิทธิกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ อ. ได้สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และโจทก์เข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนในวันที่ซื้อขายแล้ว ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของ อ. จึงสิ้นสุดลง และโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 อ. ไม่ใช่เจ้าของ อ. และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่จำเลยที่ 2 เพราะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองจึงไม่มีผล โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่เพราะสิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้น ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกโฉนดที่ดินพิพาทไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิที่เกิดจากที่ดินส่วนที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิผู้รับจำนองสุจริต: การบรรยายข้อโต้แย้งในคำร้องขอ
สิทธิของผู้ร้องเป็นการได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิอันยังมิได้ จดทะเบียนของผู้ร้อง ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาของผู้ร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้นั้น เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้อยู่ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 เช่นนี้ ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น แต่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็น ข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหุ้นส่วนและการกระทบสิทธิบุคคลภายนอก: หุ้นส่วนยังไม่เลิกห้าง สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนยังไม่มีผลกระทบต่อผู้รับจำนอง
โจทก์กับจำเลยยังเป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากคนอื่นๆ ได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 1055, 1056 และ 1057
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนยังไม่เลิกสัญญา สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนในห้างหุ้นส่วนเป็นไปตามกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิผู้รับจำนอง
โจทก์กับจำเลยยังเป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากคนอื่นๆได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055,1056 และ 1057
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยปลอดจำนอง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไปกระทบสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้กระทบกระเทือนสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเหนือทรัพย์ขายทอดตลาด แม้มิได้ยื่นคำร้องก่อนการขาย
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองไม่ได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาด ก็หาเป็นเหตุให้ผู้ร้องหมดสิทธิในฐานะผู้รับจำนองไปไม่เพราะการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนองซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์พิพาทได้ ฉะนั้น เมื่อเอาทรัพย์พิพาทขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้อง และผู้ร้องเป็นผู้ประมูลซื้อจากขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใด? ผู้รับจำนองต้องรับผิดอย่างไร?
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2(ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตามแต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้ เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ 1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มี การสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกัน ทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึง เป็นอันเลิกกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุด ในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์ บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะ ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิ พักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยัง บุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง เท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนอง เป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน 56,000 บาท ทำให้ ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนอง ในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนอง โดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สาม จะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม หนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวน หากบังคับจำนองแล้วได้เงิน ไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำนองเหนือทรัพย์สินก่อนการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองได้
ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อประมาณปี 2514 ผู้ร้องได้ซื้อที่ดินเนื้อที่ 84 ตารางเมตรพร้อมตึกแถว 2 คูหา เลขที่ 2741ซึ่งปลูกบนที่ดินดังกล่าวอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่4783 ที่จำเลยได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องชำระราคาแล้ว ผู้ร้องและครอบครัวได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทตั้งแต่ปี 2515 แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และต่อมาผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แต่โจทก์รับจำนองที่ดินโฉนดเลขที่4783 ทั้งแปลงจากจำเลยเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2516จึงเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมได้สิทธิจำนองอันครอบไปถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 4783 ทั้งแปลงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วตั้งแต่ก่อนที่ผู้ร้องจะสามารถอ้างได้ว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาท สิทธิจำนองนี้เป็นสิทธิครองเหนือทรัพย์จำนองทั้งหมดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716ทรัพย์ส่วนที่ผู้ร้องได้ไปโดยการครอบครองปรปักษ์นับเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์ที่จำนอง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินทั้งแปลงได้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ผู้รับจำนองได้รับจำนองได้รับจำนองที่ดินและตึกแถวพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและได้ทะเบียนจำนองโดยสุจริต ผู้ร้องซึ่งได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองที่ยังไม่ได้จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นจากการบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และได้ยื่นคำร้องเข้ามาภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นมาขอเฉลี่ยหนี้ของจำเลยหรือไม่ การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองนั้นขายได้ 2 วิธี คือขายโดยปลอดจำนองหรือขายโดยติดจำนอง การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตนได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องประสงค์ให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายโดยปลอดจำนองแล้วจำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้ตน ก่อนเจ้าหนี้อื่น และการที่วรรคสองของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 บัญญัติให้ผู้รับจำนองยื่นคำร้องเสียก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออก ขายทอดตลาดก็เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ดำเนินการขายไป ได้ถูกต้องตามเจตนาของผู้รับจำนอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้อง เป็นผู้รับจำนองผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองยังคงมีผลผูกพันถึงที่ดินที่แบ่งแยก หากไม่มีความยินยอมจากผู้รับจำนอง
แม้จะมีการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกเป็นหลายแปลงก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองได้ตกลงยินยอมให้จำเลยทำการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกไปโดยปลอดจากการจำนอง ต้องถือว่าการจำนองยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนที่แบ่งแยกออกไปด้วยกันอยู่นั่นเอง ตามป.พ.พ.มาตรา 717 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินทุกแปลงที่แบ่งแยกออกไปจากที่ดินที่จำนองอย่างทรัพย์ที่จำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4224/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากการแสดงเจตนาลวงและการคุ้มครองผู้รับจำนองสุจริต
โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 รวมทั้งขอให้ไถ่ถอนจำนองจากจำเลยที่ 4 เพื่อให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลับมาเป็นของโจทก์ตามเดิม ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความและไม่ใช่เรื่องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนองเป็นประกันการกู้ยืมเงินแทนโจทก์ และเมื่อสำเร็จแล้วก็จะโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนให้โจทก์ ถือได้ว่าการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวทำขึ้นโดยการแสดงเจตนาลวง
จำเลยที่ 3 เคยฟ้องขับไล่โจทก์ในคดีนี้ออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินที่พิพาทโดยรู้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 เพียงแต่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145
เมื่อจำเลยที่ 4 ผู้รับจำนองเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต จำเลยที่ 4 จึงได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 4 ร่วมโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนโจทก์จึงไม่ชอบ
of 8