คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับช่วงสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิสัญญาเช่าซื้อและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับช่วงสิทธิ
การที่ผู้ร้องได้ซื้อสินทรัพย์ประเภทสัญญาเช่าซื้อของบริษัทเงินทุน พ. ซึ่งถูกปิดกิจการตามพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) ถือว่าเป็นการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 การใช้สิทธิของผู้ร้องในการขอคืนของกลางคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิแทนบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ พ. ซึ่งผู้ร้องย่อมรับมาทั้งสิทธิเรียกร้องและหน้าที่ทั้งหมดที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ปรากฏว่าว. ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางและเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องเบิกความว่า ก่อนหน้านี้ตนได้ขายดาวน์รถยนต์ของกลางให้แก่ ศ. ไปแล้ว และเหตุที่ต้องยื่นคำขอคืนรถยนต์ก็เนื่องจากต้องคืนรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องเพราะยังค้างชำระค่าเช่าซื้ออยู่ หากสามารถชำระได้หมดก็จะไม่ถูกฟ้องเป็นคดีแพ่ง อันเป็นคำเบิกความที่เป็นไปในลักษณะปกปิดข้อเท็จจริงและมีพฤติการณ์ที่ไม่สุจริต เมื่อพิจารณาประกอบกับการที่จำเลยทั้งสามนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม2541 และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 ผู้ร้องได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดตามสัญญาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2541 และมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2542 โดยมิได้ดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่งต่อ ว. เพื่อให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ แต่กลับมอบอำนาจให้ ว. มาร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องร้องขอรถยนต์ของกลางคืนเพื่อประโยชน์ของ ว. ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต จึงไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับประกันภัย/ผู้รับช่วงสิทธิ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด แม้มีการประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายแล้ว
เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับ ส.และต. ภายหลังจากที่โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามพันธะที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยแก่ ส.และต. ผู้เสียหายแล้วผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิของผู้เสียหายที่ได้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้จ่ายไปนั้นได้โดยหาจำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามเสียก่อนไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของรถยนต์ที่เอาประกันภัยหรือไม่ทั้งมิได้ส่งกรมธรรม์ประกันภัยมาพร้อมกับคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะข้อความดังกล่าวเป็นรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา และโจทก์ไม่จำเป็นต้องส่งกรมธรรม์ประกันภัยมาพร้อมกับคำฟ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง และการคิดดอกเบี้ยของผู้รับช่วงสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างได้ขับรถยนต์รับจ้างไปในทางการที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ว่าจ้าง เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน คำว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน" หมายถึง ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ได้หมายถึงผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะแห่งการเป็นตัวการและตัวแทนซึ่งมีกฎหมายบังคับคนละลักษณะกัน เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 6 เดือน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คการสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลย และเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงเช็คบรรดามีเหนือจำเลยด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ทรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 หาใช่อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็ค และการรับผิดในหนี้ค่าซื้อขาย
ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือย่อมอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989เมื่อได้ชำระหนี้แก่ผู้ทรงไปแล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ย เอาจากผู้สั่งจ่ายและเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงที่มีเหนือผู้สั่งจ่ายด้วยกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดอายุความเท่าใด สิทธิเรียกร้องของผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงต่อผู้สั่งจ่าย จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 ผู้สลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือมิใช่ผู้สลักหลังตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1003 จึงไม่นำอายุความ 6 เดือนตามมาตรานี้มาใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่ใช่ 6 เดือนตามมาตรา 1003
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คการสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921ประกอบด้วยมาตรา 989 โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลย และเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงเช็คบรรดามีเหนือจำเลยด้วย กรณีเช่นนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ทรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 หาใช่อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 1003 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากละเมิด: ผู้รับช่วงสิทธิกับผู้กระทำผิดทางอาญา
การนับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง กำหนดไว้โดยอาศัยสิทธิเรื่องอายุความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสาม นั้น มีได้เฉพาะในกรณีที่โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากผู้กระทำผิดทางอาญาซึ่งศาลพิพากษาลงโทษจน คดีถึงที่สุดไปแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งเท่านั้น มิได้หมายความถึงการเรียกร้องจากผู้อื่นซึ่งมิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือร่วมกระทำผิดทางอาญาด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: สิทธิผู้รับช่วงจากผู้ทรงเช็คมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่อายุความ 1 ปี
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ถือ โจทก์ผู้ทรงได้สลักหลังเช็คนั้นโดยมิได้ ระบุข้อความใด ๆ ไว้แล้วนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับซื้อเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงการสลักหลังของโจทก์เป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรง โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คของจำเลย เมื่อผู้ทรงรับเงินตามเช็คไม่ได้และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ทรงแทนจำเลยไป ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 กรณีไม่ต้องด้วย มาตรา1002 ซึ่งบัญญัติไว้แต่เฉพาะกรณีที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย และโจทก์ก็มิได้อยู่ในฐานะผู้สลักหลังเช็คตามมาตรา 1003

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังเช็คและสิทธิเรียกร้องของผู้รับช่วงสิทธิ: อายุความ 10 ปี
จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ถือโจทก์ผู้ทรงได้สลักหลังเช็คนั้นโดยมิได้ ระบุข้อความใด ๆไว้แล้วนำไปขายลดให้แก่บุคคลภายนอกผู้รับซื้อเช็คไว้ ย่อมเป็นผู้ทรงการสลักหลังของโจทก์เป็นเพียงประกันหนี้ตามเช็คที่จำเลย จะต้องรับผิดต่อผู้ทรงโจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็ค ของจำเลยเมื่อผู้ทรงรับเงินตามเช็คไม่ได้และโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ทรง แทนจำเลยไปย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ทรงที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา1002 ซึ่งบัญญัติไว้แต่เฉพาะกรณีที่ ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายและโจทก์ก็มิได้อยู่ในฐานะ ผู้สลักหลังเช็คตามมาตรา 1003

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่สามารถโอนไปยังผู้รับช่วงสิทธิในสัญญาเช่าซื้อได้ เว้นแต่มีการโอนสิทธิโดยตรง
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัยโจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
of 2