พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการเวนคืนอ้างอิงอัตราบุคคลทั่วไป แม้ผู้ชำระเป็นส่วนราชการ
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น" และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ถ้าจะต้องมีการวางเงินค่าทดแทน ไม่ว่าเนื่องในกรณีใด ๆ ให้กระทำโดยการนำไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์ หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยแยกเป็นบัญชีเฉพาะราย ในการนี้ถ้ามีดอกเบี้ยหรือดอกผลใดเกิดขึ้นเนื่องจากการฝากเงินนั้นให้ตกเป็นสิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้นด้วย" ดังนั้น เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแก่โจทก์ และจำเลยทั้งสี่ได้นำเงินดังกล่าวมาวางต่อศาลเพื่อชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในฐานะที่โจทก์เป็นบุคคลผู้ฝากทั่วไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้จ่ายหรือวางเงินค่าตอบแทนจะเป็นส่วนราชการหรือไม่ เพราะโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวมิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีจำกัดเฉพาะคู่ความหรือผู้ร้องสอด กรณีผู้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความไม่มีสิทธิบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีได้คือคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจเป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีนั้น หรืออาจเป็นบุคคลภายนอกซึ่งร้องสอดเข้ามาในคดี แต่ผู้ร้องมิได้เป็นโจทก์ จำเลย หรือเป็นผู้ร้องสอดในคดีนี้ ผู้ร้องมีฐานะเป็นแต่เพียงผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีในคดีนี้ได้ เมื่อคู่ความไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ผู้ร้องต้องเสียหายอย่างไร ผู้ร้องก็ชอบที่จะต้องไปดำเนินคดีฟ้องร้องกันเป็นคดีต่างหาก จะใช้สิทธิขอบังคับในคดีนี้ไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีของผู้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผู้รับประโยชน์ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นและยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตโดยไม่รอว่าคู่ความฝ่ายอื่นจะยื่นอุทธรณ์และคัดค้านคำร้องดังกล่าวภายในกำหนดเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง หรือไม่ แต่เมื่อปรากฏว่าคู่ความฝ่ายอื่นได้รับสำเนาคำร้องและสำเนาอุทธรณ์แล้วก็ไม่มีผู้ใดยื่นคัดค้านคำร้อง การจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้อง กล่าวคือรอให้ล่วงพ้นเวลาที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว จึงมีคำสั่งอนุญาต ผลก็เป็นเช่นเดียวกัน ศาลฎีกาไม่ย้อนสำนวนและวินิจฉัยคดีไปเสียทีเดียว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีได้คือคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวอาจเป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีนั้น หรือเป็นบุคคลภายนอกซึ่งร้องสอดเข้ามาในคดีนั้นก็ได้ แต่ผู้ร้องมิได้เป็นโจทก์ เป็นจำเลยหรือเป็นผู้ร้องสอด ผู้ร้องมีฐานะเป็นแต่เพียงผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเท่านั้น จึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้มีอำนาจขอให้บังคับคดีได้คือคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวอาจเป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีนั้น หรือเป็นบุคคลภายนอกซึ่งร้องสอดเข้ามาในคดีนั้นก็ได้ แต่ผู้ร้องมิได้เป็นโจทก์ เป็นจำเลยหรือเป็นผู้ร้องสอด ผู้ร้องมีฐานะเป็นแต่เพียงผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเท่านั้น จึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกที่ดินพิพาท: สิทธิในที่ดินเป็นของผู้ครอบครองทำประโยชน์ ไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรม
คดีก่อนมีประเด็นว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ และมีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ฟ. หรือไม่ จึงมีประเด็นต่างกัน แม้ในคดีก่อนศาลจะฟังว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 312 เป็นของ ฟ. ผู้ตายเพียงผู้เดียว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วในคดีก่อน จึงไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยดังกล่าวในคดีก่อนมาผูกพันจำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก สิทธิผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
สัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยทำกับผู้เอาประกันภัยระบุว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย จำเลยเป็นผู้เอา ประกันภัย โดยมี ง. บุคคลภายนอกเป็นผู้รับประโยชน์เป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ง. จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ต่อเมื่อ ง. ได้แสดงเจตนาขอเข้ารับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยต่อโจทก์ ตามป.พ.พ. มาตรา 374 มิใช่เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์แล้วจะทำให้ ง. มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทันที
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่า ง. ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์เพื่อเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ประกันภัย ก่อนที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลย ดังนั้น ง. จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ย่อมเป็น ผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามป.พ.พ. มาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์จึงเป็นการรับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่า ง. ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์เพื่อเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ประกันภัย ก่อนที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลย ดังนั้น ง. จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ย่อมเป็น ผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามป.พ.พ. มาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์จึงเป็นการรับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยระบุผู้รับประโยชน์: สิทธิยังไม่บริบูรณ์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
กรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อบรรษัท ง. เป็นผู้รับประโยชน์ ซึ่งผู้รับประโยชน์หาต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 ไม่ กรณีเช่นนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ซึ่งบรรษัท ง. จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนหากเกิดวินาศภัยต่อเมื่อได้แสดงเจตนาว่า จะขอเข้ารับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยต่อโจทก์แล้ว ตามมาตรา 374 มิใช่เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์จะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทันที เมื่อบรรษัท ง. มิได้แสดงเจตนาเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของบรรษัท ง. ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยผู้เอาประกันภัยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยย่อมเป็นผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์ จึงเป็นการได้รับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตามมาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องไม่ระบุผู้รับประโยชน์เฉพาะเจาะจง ผู้ร้องมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
การสละมรดก หมายถึงการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้มรดกที่สละนั้นตกได้แก่บุคคลอื่นใด เพราะมิเช่นนั้นแล้วบทบัญญัติแห่งมาตรา 1615 วรรคสอง จะไม่มีผลบังคับ ดังนั้น หนังสือตามที่ผู้ร้องและผู้คัดค้าน ทำขึ้นโดยมีเจตนาจะไม่รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยจะยกให้เด็กหญิง ด. แต่ผู้เดียว แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังประสงค์จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอยู่ จึงมิใช่เป็นการสละมรดก ผู้ร้องซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องไม่ระบุผู้รับประโยชน์ การระบุเจตนาให้แก่ผู้อื่นไม่ใช่การสละมรดก
การสละมรดก หมายถึง การสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้มรดกที่สละนั้นตกได้แก่บุคคลอื่นใด เพราะมิเช่นนั้นแล้วบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1615วรรคสอง จะไม่มีผลบังคับ ดังนั้น หนังสือที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านทำขึ้นโดยมีเจตนาจะไม่รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยจะยกให้ ด. ผู้เดียว จึงมิใช่เป็นการสละมรดก ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7233-7234/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วม: กรณีบริษัทเป็นผู้รับประโยชน์จากเช็ค แต่โจทก์ร่วมลงนามในฐานะกรรมการบริษัท
ตามคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้ผู้เสียหายซึ่งคือโจทก์ร่วม เพื่อชำระหนี้เงินกู้ ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แต่โจทก์ร่วมเองกลับยืนยันรับข้อเท็จจริงในฎีกาของโจทก์ร่วมว่าโจทก์ร่วมลงนามในฐานะผู้ให้กู้แทนบริษัทลัวเซียร์-ไทย จำกัด จึงต้องถือว่าบริษัทลัวเซียร์ - ไทย จำกัด เป็นผู้ทรงและ มีสิทธิได้รับเงินตามเช็คพิพาทที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ แม้ตามข้อเท็จจริงโจทก์ร่วมเพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทลัวเซียร์-ไทย จำกัด ได้ ก็ไม่อาจแปลเจตนาว่ากระทำแทนผู้เสียหายในกรณีเช่นนี้ได้ โจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิจะเข้าเป็นโจทก์ร่วมและไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงการจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิตถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้รับประโยชน์
ตามบทบัญญัติมาตรา 37 และมาตรา 93 แห่ง พ.ร.บ.ประกันชีวิตพ.ศ. 2535 มุ่งคุ้มครองผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์เพราะบริษัทประกันชีวิตที่มีนิติสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยมีอำนาจต่อรองสูงกว่าผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
การฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 37 ของบริษัทประกันชีวิตโดยประวิงการใช้เงินแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ มิใช่เพียงเป็นการผิดสัญญาประกันภัยเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์อีกด้วย ดังนั้น หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า อาศัยอำนาจตามมาตรา 37 วรรคสองของ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวิงการใช้เงิน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2537 กำหนดในข้อ 7 ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้บริษัทใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัย แต่บริษัทไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจนพ้นระยะเวลาที่กำหนดในคำบังคับ เป็นการประวิงการใช้เงินตามมาตรา 37 วรรคสอง โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ระหว่างอายุสัญญาประกันภัยผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องใช้เงินแก่โจทก์ตามกรมธรรม์แต่จำเลยไม่ใช้ ศาลแพ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์แต่จนพ้นระยะเวลาที่กำหนดในคำบังคับจำเลยก็ยังไม่ใช้เงินแก่โจทก์ จนโจทก์ต้องดำเนินการบังคับคดี จำเลยจึงยอมใช้เงินให้ ทำให้โจทก์ต้องเสียหายต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทนายความในการบังคับคดีและขอให้จำเลยใช้เงินดังกล่าว การกระทำของจำเลยตามฟ้องย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นนอกจากการเยียวยาความเสียหายโดยการดำเนินการบังคับคดีตามปกติอย่างคดีแพ่งทั่วไปแล้ว โจทก์ยังฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับการละเมิดได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับฟ้องคดีของโจทก์ไว้แล้วดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป
การฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 37 ของบริษัทประกันชีวิตโดยประวิงการใช้เงินแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ มิใช่เพียงเป็นการผิดสัญญาประกันภัยเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์อีกด้วย ดังนั้น หากก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า อาศัยอำนาจตามมาตรา 37 วรรคสองของ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และระยะเวลาที่ถือว่าเป็นการประวิงการใช้เงิน หรือประวิงการคืนเบี้ยประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต ลงวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2537 กำหนดในข้อ 7 ว่า ในกรณีที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้บริษัทใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัย แต่บริษัทไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจนพ้นระยะเวลาที่กำหนดในคำบังคับ เป็นการประวิงการใช้เงินตามมาตรา 37 วรรคสอง โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ระหว่างอายุสัญญาประกันภัยผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ต้องใช้เงินแก่โจทก์ตามกรมธรรม์แต่จำเลยไม่ใช้ ศาลแพ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์แต่จนพ้นระยะเวลาที่กำหนดในคำบังคับจำเลยก็ยังไม่ใช้เงินแก่โจทก์ จนโจทก์ต้องดำเนินการบังคับคดี จำเลยจึงยอมใช้เงินให้ ทำให้โจทก์ต้องเสียหายต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทนายความในการบังคับคดีและขอให้จำเลยใช้เงินดังกล่าว การกระทำของจำเลยตามฟ้องย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นนอกจากการเยียวยาความเสียหายโดยการดำเนินการบังคับคดีตามปกติอย่างคดีแพ่งทั่วไปแล้ว โจทก์ยังฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับการละเมิดได้อีกทางหนึ่งด้วย จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับฟ้องคดีของโจทก์ไว้แล้วดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป