พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: เริ่มนับเมื่อใดเมื่อโจทก์ทราบตัวผู้รับผิด แม้มีการพิจารณาภายใน
คณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดทางแพ่ง สรุปผลว่าจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยแจ้งให้เลขาธิการโจทก์ทราบเมื่อวันที่27 กันยายน 2537 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงผู้ที่ต้องรับผิดในทางแพ่งว่าเป็นจำเลยตั้งแต่ก่อนหรืออย่างช้าที่สุดในวันที่โจทก์มีบันทึกถึงผู้ทรงคุณวุฒิแม้ต่อมาเลขาธิการโจทก์จะเสนอขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิก็ตามแต่ผลการพิจารณาก็มิได้เปลี่ยนแปลงตัวผู้รับผิดทางแพ่งแต่อย่างใดและแม้เลขาธิการโจทก์จะลงนามเห็นชอบให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2538 ก็ไม่ทำให้การรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์อันเป็นการเริ่มนับอายุความเปลี่ยนแปลงไป เพราะมิฉะนั้นแล้วอายุความก็จะขยายออกไปได้เรื่อย ๆแล้วแต่ความล่าช้าของโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 15 มีนาคม 2539พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6579/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาเติมน้ำมันอากาศยาน: ผู้รับผิดคือผู้ควบคุมอากาศยาน ไม่ใช่ผู้ค้าน้ำมัน
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาสำหรับการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่อากาศยาน เป็นการเรียกเก็บโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 110 และมาตรา 122 ซึ่งมาตรา 110 ได้ระบุตัวผู้รับผิดไว้คือ นายเรือหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ แม้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติความรับผิดทางอาญาแต่ก็เนื่องมาจากความรับผิดในค่าธรรมเนียมล่วงเวลาอันเป็นความรับผิดทางแพ่งการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่อากาศยานเป็นการกระทำการงานอย่างหนึ่งอย่างใดแก่อากาศยาน ซึ่งนายเรือหรือผู้ควบคุมอากาศยานเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ จำเลยเป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่บริษัทสายการบิน เพื่อใช้เติมให้แก่อากาศยานแม้จะเป็นผู้ยื่นคำขอทำการไว้ต่อพนักงานศุลกากรแต่จำเลยก็ไม่ใช่นายเรือและไม่ได้ความว่าเป็นตัวแทนนายเรือและไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้ผู้ยื่นคำขอทำการไว้ต่อพนักงานศุลกากรเป็นผู้รับผิด จำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4378/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย: การมอบอำนาจสั่งฟ้องและการรู้ตัวผู้รับผิด
เมื่อคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชดใช้ทางแพ่งสอบสวนแล้ว มีความเห็นว่าจำเลยทั้งหกต้องรับผิดชดใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยักยอกไปกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางก็เสนอเรื่องไปตามสายงานจนกระทั่งวันที่ 24กรกฎาคม 2529 พลตำรวจโท อ.ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจมีคำสั่งว่า ดำเนินการฟ้องจำเลยทั้งหกตามข้อเสนอแนะของกองคดีดังนี้ แม้ว่าที่พลตำรวจโท อ.สั่งนั้นเป็นการเสนอตามสายงาน และการฟ้องคดีอธิบดีกรมตำรวจจะไม่มอบหมายให้พลตำรวจโท อ.ดำเนินการเพราะเป็นอำนาจเฉพาะตัวอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งแสดงว่ามีการมอบหมายให้พลตำรวจโท อ.มีอำนาจสั่งให้ดำเนินคดีแก่ผู้รับผิดทางแพ่งเว้นแต่การฟ้องคดีก็ตาม แต่การทราบตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งและการฟ้องคดีเป็นคนละประเด็นกัน เมื่อพลตำรวจโท อ.สั่งแล้วก็มีการดำเนินการต่อไปโดยอ้างว่าเป็นคำสั่งของกรมตำรวจให้ฟ้องจำเลยทั้งหกแล้วให้มีหนังสือถึงกรมอัยการเพื่อจัดพนักงานอัยการเป็นทนายดำเนินการฟ้องโดยอธิบดีกรมตำรวจมอบอำนาจให้ผู้บังคับการกองทะเบียนเป็นโจทก์แทน จึงถือว่าโจทก์โดยอธิบดีกรมตำรวจรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมแทนโดยพลตำรวจโท อ.ในฐานผู้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจเมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2530 ซึ่งพ้นกำหนดหนึ่งปีแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมล่วงเวลาเติมน้ำมันอากาศยาน: ผู้ค้าน้ำมันไม่ใช่ผู้รับผิดตามกฎหมายศุลกากร
กรมศุลกากรโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าธรรมเนียมล่วงเวลาเนื่องจากจำเลยเป็นผู้จำหน่ายด้วยการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นให้แก่อากาศยาน การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งแก่อากาศยานซึ่งผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมอากาศยานหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเป็นผู้มีหน้าที่ที่รับผิดชอบในเรื่องค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 110จำเลยเป็นเพียงบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่จำหน่ายน้ำมันให้แก่บริษัทสายการบิน มีหน้าที่บริการเติมน้ำมันให้แก่อากาศยานซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยเท่านั้น มิใช่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมอากาศยานจึงมิใช่นายเรือ และไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นตัวแทนนายเรือตามบทบัญญัติมาตรา 110 ดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาในการเติมน้ำมันแก่อากาศยานให้แก่โจทก์
เมื่อตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา110 ซึ่งเป็นที่มาของกฎกระทรวง ฉบับที่ 73 (พ.ศ.2521) อันเป็นกฎกระทรวงที่ให้ใช้ใบแนบ ศ.3 ซึ่งเป็นบัญชีเดียวกับอัตราค่าธรรมเนียมล่วงเวลา บัญญัติให้เฉพาะนายเรือหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเท่านั้นที่มีหน้าที่รับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าว การที่หัวเรื่องของใบแนบ ศ.3 ใช้คำว่า "ผู้ค้า"จึงไม่เป็นเหตุทำให้บุคคลอื่นนอกเหนือจากนายเรือหรือตัวแทนมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาไปด้วย ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจนำคำว่า "ผู้ค้า"ดังกล่าวมาใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าวจากจำเลย
ในการวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีของศาลนั้น เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจหยิบยกประเด็นข้อพิพาทข้อใดข้อหนึ่งขึ้นวินิจฉัยได้ และเมื่อได้วินิจฉัยประเด็นข้อใดแล้วทำให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา110 ซึ่งเป็นที่มาของกฎกระทรวง ฉบับที่ 73 (พ.ศ.2521) อันเป็นกฎกระทรวงที่ให้ใช้ใบแนบ ศ.3 ซึ่งเป็นบัญชีเดียวกับอัตราค่าธรรมเนียมล่วงเวลา บัญญัติให้เฉพาะนายเรือหรือตัวแทนหรือทั้งสองคนร่วมกันเท่านั้นที่มีหน้าที่รับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าว การที่หัวเรื่องของใบแนบ ศ.3 ใช้คำว่า "ผู้ค้า"จึงไม่เป็นเหตุทำให้บุคคลอื่นนอกเหนือจากนายเรือหรือตัวแทนมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมล่วงเวลาไปด้วย ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจนำคำว่า "ผู้ค้า"ดังกล่าวมาใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่วงเวลาดังกล่าวจากจำเลย
ในการวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีของศาลนั้น เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจหยิบยกประเด็นข้อพิพาทข้อใดข้อหนึ่งขึ้นวินิจฉัยได้ และเมื่อได้วินิจฉัยประเด็นข้อใดแล้วทำให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในสัญญาประกันภัยสินค้าและการรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้าย
การที่บริษัทเอผู้ขายและผู้เอาประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลได้รับชำระราคาสินค้านั้นแล้วได้ส่งใบตราส่ง ใบกรมธรรม์ประกันภัย ใบกำกับสินค้าและใบรายการบรรจุหีบห่อไปให้บริษัทบี ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของบริษัทเอว่าประสงค์จะโอนสินค้าซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยไปให้บริษัทบีแล้ว และเมื่อปรากฎว่าสินค้าที่ขนส่งได้รับความเสียหาย บริษัทบีก็ได้ทวงถามให้จำเลยซึ่งบริษัทเชื่อว่าเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยเพิกเฉย จึงทวงถามโจทก์ผู้รับประกันภัย โจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้บริษัทบีไป ย่อมทำให้เชื่อว่าบริษัทเอผู้เอาประกันภัยได้บอกกล่าวการโอนสินค้าซึ่งเป็นวัตถุที่เอาประกันภัยไปยังโจทก์ผู้รับประกันภัยแล้ว มิฉะนั้นย่อมไม่มีเหตุที่โจทก์จะยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทบี ฉะนั้น สิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมโอนไปยังบริษัทบี ตามป.พ.พ. มาตรา 875 วรรคสอง เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายให้บริษัทบี โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิของบริษัทดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวได้
การที่จำเลยขอนำเรือเข้า ติดต่อขอเช่าเรือลากจูง นำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อกรมเจ้าท่าและการท่าเรือ-แห่งประเทศไทย และการที่จำเลยเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าพิพาท เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้รับตราส่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการรับ-ขนของทางทะเลในขณะเกิดเหตุข้อพิพาท
การที่จำเลยขอนำเรือเข้า ติดต่อขอเช่าเรือลากจูง นำหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อกรมเจ้าท่าและการท่าเรือ-แห่งประเทศไทย และการที่จำเลยเป็นผู้ออกใบปล่อยสินค้าพิพาท เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้รับตราส่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับการรับ-ขนของทางทะเลในขณะเกิดเหตุข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: เจ้าหนี้ต้องแจ้งการประเมินให้ผู้รับผิดเสียภาษีทราบก่อน
กรมสรรพากรยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินซึ่งจะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 30 แห่ง ป. รัษฎากร เสียก่อน ดังนั้น แม้ว่าบริษัท ร. ซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนจะไม่ได้อุทธรณ์การประเมินรายนี้โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง และเป็นกรณีซึ่งจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างรายนี้หรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์คดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท ร. ในประเทศไทย ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังโจทก์ผู้ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 , 20 คงประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังผู้จัดการบริษัท ร. เท่านั้น ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วน จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร
แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท ร. ในประเทศไทย ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังโจทก์ผู้ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 , 20 คงประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังผู้จัดการบริษัท ร. เท่านั้น ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วน จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การประเมินภาษีที่ไม่แจ้งผู้รับผิดและขั้นตอนไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์มิใช่ขอให้เพิกถอนการประเมินที่จะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรและกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยเห็นว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรที่ค้างชำระแต่โจทก์ไม่ชำระจำเลยจึงได้ยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามอำนาจแต่โจทก์อ้างว่าไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรรายนี้จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(2)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยนำข้อเท็จจริงจากการสอบถามคู่ความมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังนี้คำสั่งงดสืบพยานในกรณีนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาปรากฎว่าจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ทั้งที่จำเลยมีเวลาโต้แย้งได้จึงต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แม้ฟังว่าโจทก์เป็นลูกจ้างผู้กระทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในประเทศไทยเมื่อเจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา19,20คงประเมินไปยังผู้จัดการสาขาบริษัทคนใหม่ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา76ทวิวรรคสามกรณียังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วนจำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8194/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท และการเริ่มนับอายุความเมื่อรู้ตัวผู้รับผิด
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยร่วมฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยร่วมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เพราะฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะนายจ้างนั้น ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนว่าพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยร่วม ฎีกาของจำเลยร่วมจึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาข้อนี้มานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
กำหนดอายุความ 1 ปี ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 448วรรคหนึ่ง จะเริ่มนับก็ต่อเมื่อผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว หากผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดแต่ยังไม่รู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กำหนดอายุความ 1 ปี นั้นก็จะยังไม่เริ่มนับ โจทก์เพิ่งได้ทราบจากคำให้การของจำเลยที่ 2 ซึ่งยื่นต่อศาลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2533 ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขายรถยนต์คันเกิดเหตุให้แก่จำเลยร่วมไปก่อนเกิดเหตุ โจทก์จึงเพิ่งรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยร่วม ที่โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534 ยังไม่ล่วงพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
กำหนดอายุความ 1 ปี ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 448วรรคหนึ่ง จะเริ่มนับก็ต่อเมื่อผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว หากผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดแต่ยังไม่รู้ตัวผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน กำหนดอายุความ 1 ปี นั้นก็จะยังไม่เริ่มนับ โจทก์เพิ่งได้ทราบจากคำให้การของจำเลยที่ 2 ซึ่งยื่นต่อศาลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2533 ว่าจำเลยที่ 2 ได้ขายรถยนต์คันเกิดเหตุให้แก่จำเลยร่วมไปก่อนเกิดเหตุ โจทก์จึงเพิ่งรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าคือจำเลยร่วม ที่โจทก์ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534 ยังไม่ล่วงพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด: การรู้ตัวผู้รับผิดและการฟ้องร้องเกินกำหนด
ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งที่เสนอต่ออธิบดีของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิด โจทก์เสียหายเป็นเงิน181,080 บาท เห็นควรเรียกร้องหรือฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งแก่จำเลยที่ 1 และส.รองอธิบดีของโจทก์ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2530 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ ส.ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่ที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 27 มีนาคม 2532 เป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยที่ 1 ถูกพนักงานอัยการฟ้องในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกอันเป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในคดีอาญาสำหรับข้อหาส่วนนี้ การที่โจทก์นำการกระทำของจำเลยดังกล่าวมาฟ้องว่า จำเลยกระทำละเมิดเป็นคดีนี้ ดังนี้คดีนี้จึงมิใช่เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จะนำอายุความทางอาญาที่ยาวกว่ามาบังคับได้
ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งมีข้อความระบุเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 แต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 นั่งโดยสารมาด้วยในรถที่จำเลยที่ 1 ขับหาได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถคันดังกล่าวอันจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายนั้นด้วยไม่ การที่ ส.รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่ต่อมากองนิติการในสังกัดโจทก์ได้รับสำนวนการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งแล้ว เห็นว่าผู้ที่จะต้องรับผิดคือจำเลยทั้งสอง และได้ทำบันทึกข้อความเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองต่ออธิบดีของโจทก์ และ ส.ลงนามไว้ท้ายเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 ถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกคนหนึ่งคือจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ ส.ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 27 มีนาคม 2532 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
ตามรายงานผลการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งมีข้อความระบุเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 แต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 นั่งโดยสารมาด้วยในรถที่จำเลยที่ 1 ขับหาได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถคันดังกล่าวอันจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายนั้นด้วยไม่ การที่ ส.รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ลงนามไว้ด้านหลังเอกสารนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่ต่อมากองนิติการในสังกัดโจทก์ได้รับสำนวนการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่งแล้ว เห็นว่าผู้ที่จะต้องรับผิดคือจำเลยทั้งสอง และได้ทำบันทึกข้อความเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองต่ออธิบดีของโจทก์ และ ส.ลงนามไว้ท้ายเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 ถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกคนหนึ่งคือจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ ส.ลงนามไว้ดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 27 มีนาคม 2532 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5528/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับแต่ทราบตัวผู้รับผิด การสอบสวนเพิ่มเติมไม่ทำให้ขยายอายุความ
อายุความคดีฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ที่ร่วมกันทำละเมิดเริ่มนับแต่เมื่อโจทก์ทราบถึงผู้รับผิดในทางแพ่งตามที่ได้รับแจ้งผลการสอบสวนจากคณะกรรมการสอบสวนการที่โจทก์สั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมให้ได้พยานหลักฐานที่สมบูรณ์ขึ้นไม่ใช่เหตุที่จะอ้างว่ายังไม่รู้ตัวผู้รับผิดมิฉะนั้นอายุความก็จะขยายออกไปแล้วแต่ความล่าช้าในการดำเนินการของโจทก์