คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับมอบหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบถึงการโอนทรัพย์สินผ่านผู้รับมอบหมาย
เมื่อโจทก์ได้ว่าจ้างให้สำนักงานกฎหมาย ท. สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้โจทก์ สำนักงานกฎหมาย ท.ได้มอบหมายให้อ.เป็นผู้ไปสืบหา เมื่อ อ. ไปสืบและทราบว่าจำเลยที่ 1 มีบ้านและที่ดิน แต่ได้ทำนิติกรรมยกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร การที่อ.ทราบก็ต้องรายงานให้สำนักงานกฎหมายท. ทราบ และสำนักงานกฎหมาย ท.ต้องรายงานให้โจทก์ทราบเพียงแต่อ. ทราบมิได้ถือว่าโจทก์ทราบด้วย เพราะ อ. มีหน้าที่เพียงแต่สืบให้ทราบเรื่องทรัพย์สินของจำเลย เพื่อโจทก์จะได้ทำการบังคับคดีต่อไปอ. มีหน้าที่เพียงแต่จะต้องรายงานต่อไปตามลำดับจนถึงตัวโจทก์ในวันที่ 10 มิถุนายน 2530 ถือว่าโจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลวันที่ 8 มิถุนายน 2531 ยังไม่พ้น 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโดยปริยายประมาทเลินเล่อในการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ ผู้รับมอบหมายและผู้มอบหมายต่างมีส่วนรับผิด
โจทก์มอบหมายให้จำเลยดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์ให้เป็นชื่อของ ส. ผู้รับโอนให้เป็นที่เรียบร้อย จำเลยจึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์และจำเลยได้จัดการให้มีการย้ายเครื่องโทรศัพท์แล้ว ควรจะจัดการให้มีการโอนไปพร้อมกันแต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์เป็นชื่อ ส. ให้เป็นที่เรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์
หลังจากโจทก์ได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากจำเลยและมอบหมายให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์แล้ว โจทก์ควรติดตามดูเรื่องราวว่าได้มีการโอนสิทธิการเช่าจากชื่อโจทก์เป็นชื่อของ ส. เรียบร้อยแล้วหรือไม่ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการอย่างไร นับว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นพอ ๆ กับจำเลยศาลให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนประมาทเลินเล่อในการโอนสิทธิการเช่า ทำให้เกิดความเสียหาย ผู้รับมอบหมายก็มีส่วนประมาท
โจทก์มอบหมายให้จำเลยดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์ให้เป็นชื่อของ ส. ผู้รับโอนให้เป็นที่เรียบร้อย จำเลยจึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์และจำเลยได้จัดการให้มีการย้ายเครื่องโทรศัพท์แล้ว ควรจะจัดการให้มีการโอนไปพร้อมกันแต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์เป็นชื่อ ส. ให้เป็นที่เรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ หลังจากโจทก์ได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากจำเลยและมอบหมายให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์แล้ว โจทก์ควรติดตามดูเรื่องราวว่าได้มีการโอนสิทธิการเช่าจากชื่อโจทก์เป็นชื่อของ ส. เรียบร้อยแล้วหรือไม่ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการอย่างไร นับว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นพอ ๆ กับจำเลยศาลให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอก: ความไว้วางใจผู้รับมอบหมายทรัพย์เป็นหลัก
ที่จะเป็นความผิดฐานยักยอกนั้นกฎหมายต้องการความไว้วางใจในตัวผู้รับมอบหมายทรัพย์เป็นหลัก หาได้เพ่งเล็งถึงประโยชน์ของผู้มอบหรือผู้รับมอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินโดยผู้รับมอบหมายเกินขอบเขต ผู้รับมอบหมายต้องรับผิดชอบคืนทรัพย์สิน
ผู้ปกครองเงินของผู้อื่นตามพินัยกรรม์เอาทรัพย์นั้นไปลงทุนประกอบการค้าโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้รับนั้น ผู้ปกครองต้องคืนเงินเต็มจำนวน จะอ้างว่าการถ้านั้นขาดทุนมาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
พฤตติการณ์อันเกี่ยวกับการตีความในเอกสาร
การเสนอและการสนองนั้นตามกฎหมายเดิมก็มีหลักเช่นเดียวกับกฎหมายแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับมอบหมายจัดการมรดก แม้มิใช่ทายาท: ผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นทายาทของผู้ตาย แต่การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกย่อมทำให้ผู้ร้องมีหน้าที่ที่จะต้องทำการอันจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก และอาจต้องรับผิดต่อทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และ 1720 จึงถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713