พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้รับอนุญาตใช้สิทธิแต่ผู้เดียว แม้ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง
โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจากเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เรื่อง TIANDI ซึ่งเป็นการอนุญาตให้โจทก์แต่ผู้เดียวหรือโดยเด็ดขาด ในการฉายภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวในประเทศไทยรวมทั้งการนำไปผลิตเป็นโฮมวิดีโอในประเภทวิดีโอซีดีและดิจิตอลเวอร์แซทไทล์ดิสก์ ออกให้เช่าและขายด้วยตลอดระยะเวลา 60 เดือน อันเป็นลิขสิทธิ์บางส่วนในงานภาพยนตร์ การที่จำเลยทั้งสองนำภาพและเสียงของภาพยนตร์เรื่องTIANDI ไปผลิตเป็นแผ่นวิดีโอซีดีออกจำหน่ายแก่ประชาชนในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ในระหว่างอายุสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเด็ดขาด จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่โจทก์มีสิทธิใช้แต่ผู้เดียวในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้: ผู้รับอนุญาตต้องรับผิดชอบการจัดทำบัญชี ไม่ใช่ตัวแทน
พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 58 ประกอบมาตรา 73 ทวิ และกฎกระทรวงฉบับที่ 27(พ.ศ. 2530) ข้อ 5 วรรคหนึ่ง และข้อกำหนดฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2526)ข้อ 5 ประกอบกันความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความเป็นจริงอันเป็นความผิดตามมาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามดังจะเห็นได้จากข้อกำหนดฉบับที่ 18(พ.ศ. 2532) ข้อ 8 และข้อ 11 จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามแม้จำเลยเป็นตัวแทนของผู้รับอนุญาตแต่หนังสือตั้งตัวแทนก็มิได้ระบุให้จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามที่กล่าวมาข้างต้นอันเป็นหน้าที่ของผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด จำเลยไม่จัดทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 58 ประกอบมาตรา 73 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิลิขสิทธิ์ที่มิชอบ ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิแก่ผู้อื่น ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัท ด. ตกลงอนุญาตให้บริษัทฟ. แต่ผู้เดียวเป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อบปี้ ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัทด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้นบริษัทด.ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ซึ่งบริษัทด.อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ ดังนั้น การที่บริษัทฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายสิทธิ์ในภาพยนตร์ นั้นให้แก่บริษัทก.และต่อมาบริษัทก.ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัทฟ.มีอยู่ เท่านั้น เมื่อบริษัทฟ.เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัทฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด.ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่า ได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัทก.และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัทก.ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทด.กับบริษัทก.ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ระหว่างบริษัทก.กับโจทก์ร่วม ดังนั้น ที่บริษัทก. ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์และอำนาจฟ้องคดีลิขสิทธิ์: ผู้รับอนุญาตไม่มีอำนาจโอนสิทธิให้ผู้อื่น
เอกสารสัญญามีข้อความระบุว่า บริษัทด. ตกลงอนุญาตให้บริษัท ฟ. แต่ผู้เดียว เป็นผู้มีสิทธิเสนอฉายภาพยนตร์พิพาทในประเทศไทย มีกำหนดเวลา 5 ปี เมื่อหมดสัญญาผู้รับอนุญาตจะต้องส่งคืนก๊อปปี้ภาพยนตร์พิพาทแก่ผู้อนุญาตหรือทำลายพร้อมแสดงหลักฐานการทำลาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่บริษัท ด.เจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทอนุญาตให้บริษัทฟ.ใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาท ชั่วในระยะเวลาหนึ่งและเฉพาะในเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในสัญญาเท่านั้น บริษัท ด. ยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทอยู่ ซึ่งบริษัท ด. อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใดใช้ลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทในอาณาเขตประเทศอื่นได้ดังนั้น การที่บริษัท ฟ. ได้ทำหนังสือรับรองลิขสิทธิ์ภาพยนตร์พิพาทว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นให้แก่บริษัท ก.และต่อมา บริษัท ก. ได้ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ร่วมเช่าฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอีกทอดหนึ่ง คงทำให้โจทก์ร่วมได้สิทธิในภาพยนตร์พิพาทเพียงเท่าที่บริษัท ฟ. มีอยู่เท่านั้นเมื่อ บริษัท ฟ. เป็นเพียงผู้รับอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์มิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิดีกว่าสิทธิของบริษัท ฟ.ที่มีอยู่แม้บริษัทด. ได้ทำใบรับรองลิขสิทธิ์ว่าได้โอนขายลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทให้แก่บริษัท ก. และเมื่อวันทำสัญญาเช่าดังกล่าวบริษัท ก. ได้ทำหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมด้วยก็ตาม แต่ใบรับรองการโอนลิขสิทธิ์ทำขึ้นภายหลังหนังสือโอนลิขสิทธิ์ ดังนั้น ที่บริษัท ก.ออกหนังสือมอบหรือโอนลิขสิทธิ์ให้โจทก์ร่วมจึงไม่มีผลให้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาทแต่อย่างใด เพราะขณะโอนบริษัทดังกล่าวยังมิได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์นั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมมีลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนในความครอบครองโดยได้รับมอบหมายจากผู้รับอนุญาตและเจตนาของกฎหมายอาวุธปืน
ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 14 หากว่าบุคคลใดมีความประสงค์ให้ผู้อื่นมีและใช้อาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนสำหรับรักษาทรัพย์สินของตนอันจักต้องใช้บุคคลอื่นดูแลอาจขอรับหนังสืออนุญาตพิเศษจากนายทะเบียนท้องที่ที่บุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ว่า กรณีดังกล่าวกฎหมายถือว่าเป็นการมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง จึงบัญญัติให้ขอรับหนังสืออนุญาตพิเศษจากนายทะเบียนท้องที่
จำเลยเป็นลูกจ้างเหมืองแร่ ว. มีหน้าที่เป็นยามดูแลรักษาความปลอดภัยในเหมืองแร่ ส.ผู้จัดการเหมืองแร่มอบอาวุธและกระสุนปืนของกลางซึ่ง ส. ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีไว้ในครอบครอง ให้จำเลยไว้เพื่อใช้ในการเป็นยามดูแลรักษาความปลอดภัยในเหมืองแร่ โดยจำเลยจะไปรับอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางเวลา 18 นาฬิกาแล้วนำไปคืนเวลา 8 นาฬิกาวันรุ่งขึ้นทุกวัน เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลยพร้อมด้วยอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางได้ที่บ้านพักจำเลยในบริเวณเหมืองแร่ เมื่อจำเลยไม่ได้รับหนังสืออนุญาตดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมาย
จำเลยเป็นลูกจ้างเหมืองแร่ ว. มีหน้าที่เป็นยามดูแลรักษาความปลอดภัยในเหมืองแร่ ส.ผู้จัดการเหมืองแร่มอบอาวุธและกระสุนปืนของกลางซึ่ง ส. ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีไว้ในครอบครอง ให้จำเลยไว้เพื่อใช้ในการเป็นยามดูแลรักษาความปลอดภัยในเหมืองแร่ โดยจำเลยจะไปรับอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางเวลา 18 นาฬิกาแล้วนำไปคืนเวลา 8 นาฬิกาวันรุ่งขึ้นทุกวัน เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลยพร้อมด้วยอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางได้ที่บ้านพักจำเลยในบริเวณเหมืองแร่ เมื่อจำเลยไม่ได้รับหนังสืออนุญาตดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับอนุญาตจำหน่ายฝิ่นต้องรับผิดต่อการขายฝิ่นให้ผู้ไม่มีใบอนุญาต แม้จะมอบหมายให้ลูกจ้างเป็นผู้ขาย
แม้ผู้รบอนุญาตให้ตั้งร้านจำหน่ายฝิ่น จะได้รับมอบหมายให้ลูกจ้างมีหน้าที่จำหน่ายฝิ่นแล้วก็ดี เมื่อลูกจ้างจำหน่ายฝิ่นแก่บุคคลที่ไม่มีใบอนุญาตที่เจ้าพนักงานกำหนดให้สูบฝิ่นได้ในร้าน ผู้รับใบอนุญาตให้ตั้งร้านจำหน่ายฝิ่นก็ต้องรับผิด
(อ้างฎีกา 1218/80, 156 - 157/83)
(อ้างฎีกา 1218/80, 156 - 157/83)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับอนุญาตจำหน่ายฝิ่นต่อการกระทำของลูกจ้าง แม้จะมอบหมายหน้าที่ไปแล้ว
แม้ผู้รับอนุญาตให้ตั้งร้านจำหน่ายฝิ่น จะได้มอบหมายให้ลูกจ้างมีหน้าที่จำหน่ายฝิ่นแล้วก็ดี เมื่อลูกจ้างจำหน่ายฝิ่นแก่บุคคลที่ไม่มีใบอนุญาตที่เจ้าพนักงานกำหนดให้สูบฝิ่นได้ในร้าน ผู้รับใบอนุญาตให้ตั้งร้านจำหน่ายฝิ่นก็ต้องรับผิด (อ้างฎีกา 1218/80,156-157/83)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับอนุญาตจำหน่ายฝิ่นต้องรับผิดต่อการกระทำผิดของลูกจ้าง แม้จะมอบหมายหน้าที่ให้
แม้ผู้รับอนุญาตให้ตั้งร้านจำหน่ายฝิ่น จะได้มอบหมายให้ลูกจ้างมีหน้าที่จำหน่ายฝิ่นแล้วก็ดี เมื่อลูกจ้างจำหน่ายฝิ่นโดยผิดต่อ พ.ร.บ.ฝิ่น ผู้รับใบอนุญาตให้ตั้งร้านจำหน่ายฝิ่นก็ต้องรับผิด
(อ้างฎีกา 1218/80, 156 - 157/83)
(อ้างฎีกา 1218/80, 156 - 157/83)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างจำหน่ายฝิ่นแทนผู้รับอนุญาตไม่ผิด กิจการร้านฝิ่นต้องมีผู้กระทำหลายคน
ลูกจ้างผู้รับอนุญาตตั้งร้านฝิ่นย่อมขายฝิ่นแทนผู้รับอนุญาตได้ไม่มีความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝิ่นแทนผู้รับอนุญาตไม่เป็นความผิด
ลูกจ้างผู้รับอนุญาตตั้งร้านฝิ่นย่อมขายฝิ่นแทนผู้รับอนุญาตได้ ไม่มีความผิด