คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับเหมาช่วง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับเหมาชั้นต้นต่อลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วง: การฟ้องไม่ชัดเจนและฐานะนายจ้าง
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยทั้งสองได้จ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างสร้างสถานีอนามัยและบ้านพักสถานีอนามัย โดยได้ระบุวันที่อ้างว่าจำเลยจ้างโจทก์ และระบุประเภท ตำแหน่ง อัตราค่าจ้างกำหนดวันจ่ายค่าจ้างไว้ด้วย รวมทั้งจำเลยทั้งสองค้างค่าจ้างโจทก์เป็นจำนวนเงินเท่าใด และเมื่อโจทก์ทวงถาม จำเลยทั้งสองปฏิเสธไม่ยอมจ่ายให้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายค่าจ้างค้างแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย อันเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วคำฟ้องโจทก์ จึงไม่เคลือบคลุม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7เป็นบทบังคับในกรณีที่ผู้รับเหมาช่วงเป็นนายจ้างของลูกจ้างแต่ผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของลูกจ้างด้วยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้รับเหมาช่วงที่เป็นนายจ้างของลูกจ้างในหนี้เงินบางประเภทดังที่กำหนดไว้เท่านั้น กรณีมิได้หมายความว่า ผู้รับเหมาชั้นต้นมีฐานะเป็นนายจ้างของลูกจ้างไปด้วย สภาพของการเป็นนายจ้าง ก็ดี หรือลูกจ้างก็ดี เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 หากโจทก์ประสงค์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นซึ่งมิได้เป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ข้อ 7 แล้ว ก็ชอบที่จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงถึงฐานะของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ตรงกับบทกฎหมาย ดังกล่าวให้แจ้งชัด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานฟังมาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นโดยมีโจทก์ที่ 1เป็นผู้รับเหมาช่วง ส่วนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 เป็นลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 มิใช่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 ตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยให้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในฐานะเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นจึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้อง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 และคำให้การของ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ และศาลฎีกาให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 15 จะนำคำฟ้อง มายื่นใหม่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดในค่าจ้างลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วง แม้จำเลยขาดนัดศาลก็วินิจฉัยได้จากเอกสาร
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้นหากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวนคดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของ โจทก์หรือจำเลย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของนายจ้างและผู้รับเหมาช่วงในค่าจ้างลูกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
ความในข้อ 7 วรรคหนึ่ง แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103กำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปหากมีตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด ซึ่งต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างด้วย การที่จำเลยรับเหมางานทุบรื้อถอน และซ่อมบำรุงถนนจากกรมทางหลวง ถือเป็นสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับกรมทางหลวง และต่อมาจำเลยได้ว่าจ้าง ส.รับเหมาช่วงให้ทำงานทุบ รื้อถอนและซ่อมบำรุงถนนคอนกรีตก็เป็นกรณีจ้างทำของเช่นเดียวกัน เช่นนี้จำเลยและ ส.ย่อมเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามลำดับ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้าง ส.กรณีก็ต้องบังคับตามข้อ 7 วรรคหนึ่งดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้จำเลยในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดร่วมกับ ส.ผู้รับเหมาช่วงอย่างลูกหนี้ร่วมต่อโจทก์ ดังนั้นแม้จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ ส. แต่ ส.มิได้จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยก็ยังคงต้องมีความรับผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อโจทก์อยู่เช่นเดิม กรณีหาใช่จำเลยพ้นความรับผิดเพราะเหตุสัญญาระหว่างจำเลยกับ ส.มิใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136-146/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดร่วมกับผู้รับเหมาช่วงในค่าจ้างลูกจ้างตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
จำเลยที่2รับจ้างบุคคลอื่นตกแต่งห้องพักของโรงแรมแต่จำเลยที่2กลับว่าจ้างจำเลยที่1ทำแทนเมื่อจำเลยที่1มาว่าจ้างโจทก์ทำงานดังกล่าวจำเลยที่2และจำเลยที่1จึงเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามลำดับแม้จำเลยที่2จะจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่1แล้วแต่จำเลยที่1มิได้จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามจำเลยที่2ก็ยังคงต้องร่วมรับผิดในค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดต่อโจทก์ด้วย ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ข้อ7.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136-146/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาชั้นต้นมีหน้าที่รับผิดร่วมกับผู้รับเหมาช่วงในค่าจ้างลูกจ้าง แม้จ่ายค่าจ้างให้ผู้รับเหมาช่วงแล้วก็ตาม
การที่จำเลยที่2รับเหมาตกแต่งห้องพักของโรงแรมโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์ของจำเลยที่2นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของต่อมาจำเลยที่2ว่าจ้างจำเลยที่1ตกแต่งห้องพักก็เป็นกรณีจ้างทำของเช่นเดียวกันจำเลยที่2และจำเลยที่1ย่อมเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามลำดับจำเลยที่2ในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงในฐานะลูกหนี้ร่วมชำระค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างแม้จำเลยที่2ได้จ่ายค่าจ้างให้จำเลยที่1และจำเลยที่1มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามจำเลยที่2ก็คงต้องรับผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ข้อ7.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบอาคารโดยชอบของบุคคลภายนอก ผู้รับเหมาช่วงไม่มีสิทธิเรียกร้องละเมิด
จำเลยจ้างเหมา ม.ปลูกสร้างโรงเรียนในที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง โจทก์เป็นผู้รับเหมาช่วงจาก ม. เมื่อ ม. คู่สัญญาจำเลยได้มอบอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างให้แก่จำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาที่ทำไว้ต่อกัน จึงเป็นการที่จำเลยรับมอบอาคารพิพาทไว้โดยชอบ และย่อมเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิใช้อาคารได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยเข้าใช้อาคารพิพาทจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ ส่วนการที่ ม. ได้ทำสัญญากับโจทก์เกี่ยวกับอาคารพิพาทนั้น เป็นเรื่องระหว่าง ม. กับโจทก์เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ม. ทำผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ โจทก์ก็ต้องฟ้องร้องว่ากล่าวเอาแก่ ม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอาคารพิพาทโดยชอบ ผู้รับเหมาช่วงไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ว่าจ้างเหมาช่วง
จำเลยจ้างเหมา ม. ปลูกสร้างโรงเรียนในที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง โจทก์เป็นผู้รับเหมาช่วงจาก ม.เมื่อ ม. คู่สัญญาจำเลยได้มอบอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างให้แก่จำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาที่ทำไว้ต่อกันจึงเป็นการที่จำเลยรับมอบอาคารพิพาทไว้โดยชอบ และย่อมเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิใช้อาคารได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยเข้าใช้อาคารพิพาทจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ส่วนการที่ ม. ได้ทำสัญญากับโจทก์เกี่ยวกับอาคารพิพาทนั้น เป็นเรื่องระหว่าง ม. กับโจทก์เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย เมื่อ ม. ทำผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์โจทก์ก็ต้องฟ้องร้องว่ากล่าวเอาแก่ ม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบอาคารพิพาทโดยชอบจากผู้รับเหมาช่วง แม้ไม่ได้ทำสัญญากับผู้รับเหมาหลัก ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยจ้างเหมา ม. ปลูกสร้างโรงเรียนในที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง. โจทก์เป็นผู้รับเหมาช่วงจาก ม.. เมื่อม. คู่สัญญาจำเลยได้มอบอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างให้แก่จำเลยเป็นลายลักษณ์อักษรตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาที่ทำไว้ต่อกัน. จึงเป็นการที่จำเลยรับมอบอาคารพิพาทไว้โดยชอบ และย่อมเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิใช้อาคารได้โดยชอบด้วยกฎหมาย. การที่จำเลยเข้าใช้อาคารพิพาทจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.ส่วนการที่ ม. ได้ทำสัญญากับโจทก์เกี่ยวกับอาคารพิพาทนั้น เป็นเรื่องระหว่าง ม. กับโจทก์เท่านั้น. ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วย. เมื่อ ม.ทำผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์. โจทก์ก็ต้องฟ้องร้องว่ากล่าวเอาแก่ ม..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15186-15192/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของนายจ้างและผู้รับเหมาช่วงในค่าจ้างแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
สัญญาจ้างลูกจ้างชั่วคราวระบุว่า ป. กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานในโครงการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือที่จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาจากจำเลยที่ 2 แม้สัญญาจ้างลูกจ้างชั่วคราวจะไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 แต่กฎหมายมิได้บังคับให้สัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อมีการเข้าทำงานก่อสร้างในโครงการดังกล่าวบางส่วนและจำเลยที่ 1 มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าจ้างในส่วนของงานที่ก่อสร้างไปแล้ว หากโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานในส่วนดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เข้ารับเอาผลงานที่โจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงาน พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าการทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดของ ป. เป็นการทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้ซึ่งตกลงรับโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้อันเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดตามมาตรา 70 และตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วงให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปหากมีตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้าง เมื่อจำเลยที่ 2 ตกลงรับจ้างก่อสร้างในโครงการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรีผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ซึ่งตกลงรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานก่อสร้างดังกล่าวจนสำเร็จประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ซึ่งทำสัญญาจ้างเหมาค่าแรงงานพร้อมแบบหล่อคอนกรีตกับจำเลยที่ 2 โดยรับจะดำเนินงานแต่บางส่วนของงานดังกล่าวอันเป็นงานในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 เพื่อประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงตามบทนิยามในมาตรา 5 ดังนั้น หากโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานแล้วจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ด จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายด้วยตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง และมีสิทธิไล่เบี้ยเงินค่าจ้างที่จ่ายให้โจทก์ทั้งเจ็ดคืนจากจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 12 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9266/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างผู้รับเหมาช่วงกับผู้รับเงิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามสัญญารับเหมาช่วงที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ร่วมลงนามผูกพันเป็นคู่สัญญาด้วย ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญากับโจทก์โดยตกลงที่จะเป็นผู้ชำระหนี้ดังกล่าวให้โจทก์แทนจำเลยที่ 1 อันจะมีผลเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ แม้จะได้ความว่าก่อนจะทำสัญญา จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 แจ้งว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อสินค้าสำหรับใช้ในโครงการที่จำเลยที่ 1 รับเหมากับโจทก์ หากจำเลยที่ 2 ได้รับเงินในงวดงานที่ 17, 18 ก็ขอให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งว่าไม่ขัดข้อง ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ก็เป็นเพียงข้อตกลงในการจัดการชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ต่อโจทก์ให้เป็นไปโดยถูกต้องเรียบร้อยเท่านั้น หาใช่เป็นข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ตกลงจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 เพราะตราบใดมีค่างวดงานที่จำเลยที่ 2 ได้รับจากมหาวิทยาลัย ม. ยังนำไปหักชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ไม่ครบถ้วน ข้อตกลงที่จำเลยที่ 2 จะชำระค่าจ้างเหมาให้แก่โจทก์ก็ยังไม่เกิดผลบังคับและแม้การเบิกเงินในงวดงานที่ 17, 18 จะเกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของงานที่โจทก์รับเหมาช่วงจากจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้โจทก์มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ในอันที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงตามมาตรา 374 ได้ไม่
of 2