พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4293/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถือเป็นการส่งโดยชอบ ผู้รับแทนที่อายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านเดียวกันมีผลผูกพันกับจำเลย
คดีนี้หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ จึงมีผลเสมือนว่าเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ เมื่อ ร. ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านเดียวกันได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2546 ตามรายงานเจ้าหน้าที่และใบตอบรับในประเทศ ย่อมถือได้ว่ามีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 โดยชอบแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 อาจยื่นคำให้การได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 18 พฤษภาคม 2546 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การในวันที่ 29 พฤษภาคม 2546 จึงเป็นการยื่นคำให้การเกินกำหนด 15 วัน ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับเช่นนี้ หาใช่เป็นการส่งโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดพิจารณาคดีโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้รับเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับแทน
เมื่อหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้นำส่งโดยเจ้าพนักงานขององค์การสื่อสารแห่งประเทศไทย มีผู้ลงลายมือชื่อรับแทนเป็นเอกสารตามใบตอบรับในประเทศของทางราชการ ทั้งการส่งก็เป็นการส่งตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์และทนายโจทก์ที่ได้แจ้งไว้ต่อศาล จึงฟังได้ว่าได้นำส่งให้แก่โจทก์และทนายโจทก์โดยชอบแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 73 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือแจ้งภาษี: วิธีการส่ง & ผู้รับแทน - ข้อจำกัดตามกฎหมายไปรษณีย์
การส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งป.รัษฎากร บัญญัติให้ส่งได้ 2 วิธี คือ วิธีส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและวิธีให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่งเฉพาะวิธีให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่งถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับก็ได้ ส่วนการส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ มาตรา 8วรรคหนึ่ง แห่ง ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติว่าในกรณีที่ไม่พบผู้รับจะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วก็ได้ ดังนั้น การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจึงอยู่ในบังคับของไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่ง พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 ข้อกำหนดในไปรษณียนิเทศดังกล่าวมิได้กำหนดอายุผู้แทนของผู้รับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ไว้ ดังนั้น บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันกับผู้รับแม้ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็เป็นผู้แทนของผู้รับได้ กรณีไม่อาจนำ ป.วิ.พ.มาตรา 73 ทวิและ 76 มาอนุโลมใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่สำเร็จ และสิทธิในการขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อไม่มีผู้รับแทน ณ ภูมิลำเนา
พนักงานเดินหมายนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่ 2 ยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 แต่ผู้จัดการของจำเลยที่ 2ออกไปธุระนอกบ้าน ไม่มีผู้ใดยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้แทนจำเลยที่ 2 ดังนี้ มิใช่กรณีที่จะลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 และจำเลยที่ 2 มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3337/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้รับเป็นผู้รับแทน และไม่มีหลักฐานมอบอำนาจเป็นหนังสือ
ผู้จำนองย้ายไปรับราชการต่างจังหวัด ทนายความของเจ้าหนี้ส่งหนังสือแจ้งการบังคับจำนองไปยังผู้จำนองตามภูมิลำเนาในกรุงเทพฯ มีผู้ลงชื่อรับแทน เวลามากรุงเทพฯ ทุกครั้งผู้จำนองพักที่ภูมิลำเนาเดิมซึ่งครอบครัวมิได้ย้ายไปที่อื่น ฟังได้ว่าผู้จำนองได้ทราบคำบอกกล่าวแล้ว แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจให้ทนายความทำหนังสือบอกกล่าว ผู้รับจำนองให้สัตยาบันตาม มาตรา 823 แล้ว การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับเงินชั่วคราวและการชำระอากร: ผู้รับแทนเงินไม่ต้องรับผิดหากส่งมอบเงินให้เจ้าของเงินและมีการชำระอากรถูกต้อง
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้ออกใบรับในการรับเงินไว้มีข้อความว่า "ใบรับเงินชั่วคราววันที่ 28 ตุลาคม 2507 ข้าพเจ้านายจิง แซ่โค้ว (จำเลย)ผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตท สามแยก กรุงเทพฯได้รับเงินที่นำมาลงทุนซื้อยาเบอร์เล่ย์เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น959,890 บาท 10 สตางค์ คืนจากกรรมการผู้จัดการบริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์ จำกัดไว้เป็นที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้วส่วนใบรับตัวจริงจะส่งมาให้ภายหลัง ลงชื่อนายจิง แซ่โค้วผู้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตท" เป็นแต่เพียงเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยในฐานะผู้แทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้รับเงินลงทุนซื้อยาของห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทคืนมาจากบริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์ จำกัด ไว้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทเป็นการชั่วคราว จำเลยมิได้รับเงินไว้เป็นของตนเอง เมื่อจำเลยเอาเงินรายนี้ไปส่งมอบให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทซึ่งเป็นเจ้าของเงินที่แท้จริงแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทได้ออกใบรับเงินตัวจริงส่งมาให้บริษัทแพร่เกษตรภัณฑ์จำกัดอีกฉบับหนึ่งใน3 วันต่อมาและได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ซึ่งแสดงว่าจำเลยได้ส่งมอบเงินที่รับแทนมาเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดโซไซท์เสตทผู้รับเงินแท้จริงไม่ได้ปฏิบัติการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากร จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินอากรและเงินเพิ่มอากรสำหรับใบรับเงินชั่วคราวอีก (อ้างคำพิพากษาฎีกา ที่ 1765/2515) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2517)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำสั่งอายัดทางไปรษณีย์ต้องพิสูจน์อายุและสถานะของผู้รับแทนตามกฎหมาย
การส่งคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 278/1 และมาตรา 76 เจ้าพนักงานบังคับคดีแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าได้ส่งคำสั่งอายัดให้แก่ผู้ร้องโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามที่อยู่ในหนังสือรับรอง มีผู้รับแทนตามเอกสารท้ายหนังสือของเจ้าพนักงานบังคับคดีฉบับลงวันที่ 14 มีนาคม 2549 โดยไม่ปรากฏรายละเอียดว่าบุคคลผู้รับแทนนั้นมีอายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้ร้องหรือไม่ ข้อเท็จจริงย่อมไม่เป็นการเพียงพอที่จะฟังว่าได้มีการส่งคำสั่งอายัดให้แก่ผู้ร้องถูกต้องตามกฎหมาย