คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับใบอนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918-2920/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานต่างประเทศ: ผู้รับใบอนุญาตจัดหางานมีฐานะเป็นตัวแทนได้ และต้องรับผิดชอบค่าจ้างลูกจ้าง
บทบัญญัติมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มีความหมายว่านายจ้างซึ่งอยู่ในต่างประเทศก็ดี หรือตัวแทนของนายจ้างดังกล่าวนั้นก็ดี จะดำเนินการรับสมัครคนหางานเพื่อไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างโดยตรงโดยไม่ผ่านการจัดหาของสำนักงานจัดหางานในประเทศ ไทย หรือกรมแรงงานนั้นไม่ได้ หากนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้างฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรานี้ ก็จะมีความผิดตามมาตรา 82 และบทบัญญัติมาตรา 50 ก็มิได้ห้ามไว้ว่า ผู้รับใบอนุญาตจัดหางานจะเป็นตัวแทนของนายจ้างไม่ได้ ดังนั้นจำเลยในฐานะเป็นผู้รับใบอนุญาตจัดหางานอาจมีฐานะเป็นตัวแทนของนายจ้างอีกฐานะหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.ฝิ่น: ผู้รับใบอนุญาต vs. ผู้จัดการร้าน และการรับสารภาพเฉพาะเจาะจง
ตาม พ.ร.บ.ฝิ่น 2472 มาตรา 22,58 มุ่งเอาผิดเฉพาะแต่ผู้รับใบอนุญาตตั้งร้านฝิ่น หาได้หมายถึงผู้จัดการร้านฝิ่นด้วยไม่ ผู้ฝ่าฝืนตาม มาตรา 14 พ.ร.บ.ฝิ่น 2472 นั้นย่อมหมายเฉพาะผู้สูบฝิ่นเท่านั้น ฟ้องว่ามีฝิ่นและมูลฝิ่น จำเลยให้การรับโดยระบุถึงฝิ่นอย่างเดียวดังนี้ จะถือว่าจำเลยรับถึงมูลฝิ่นด้วยไม่ได้ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2486

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15098/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรเงินให้ผู้รับใบอนุญาตสถาบันศึกษาเอกชน ไม่เป็นเงินส่วนแบ่งกำไรตามกฎหมายภาษี
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 โดยบริษัท ร. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโจทก์ และโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของบริษัทให้แก่โจทก์เพื่อใช้ประกอบกิจการวิทยาลัย ต่อมาโจทก์จัดสรรเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการของโจทก์ให้แก่บริษัท ร. อันเป็นการจัดสรรเงินรายได้จากการประกอบกิจการให้บริการด้านการศึกษาของโจทก์ตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 เงินผลประโยชน์ที่ผู้รับใบอนุญาตได้รับจากโจทก์จึงเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) ตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ป.รัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ข้อ 12/1 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่น ๆ... หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 ..." ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 284) พ.ศ.2538 มาตรา 3 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร สำหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังนี้ (1) กำไรสุทธิที่ได้จากกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน... (2) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการตาม (1) โจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ฯ ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร เงินผลประโยชน์ที่โจทก์จ่ายให้แก่บริษัท ร. จึงไม่อาจถือเป็นเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 40 (4) (ข) เงินผลประโยชน์ที่ผู้รับใบอนุญาตได้รับจากโจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าว