คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ละเมิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้มีประกันภัย ผู้เสียหายยังเรียกค่าสินไหมจากผู้ละเมิดได้ เพราะจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมาย
แม้บริษัทประกันภัยที่โจทก์เอาประกันภัยไว้จะเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่โรงพยาบาลแทนโจทก์ไปแล้วอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยสัญญาประกันภัย แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยได้อีก เพราะจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดที่ได้กระทำต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2306/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิหลังชดใช้ค่าเสียหายจากการขนส่ง และการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ละเมิด
โจทก์รับจ้างขนส่งไม้อัดให้แก่บริษัท ม. เมื่อเกิดความเสียหายแก่ไม้อัดที่โจทก์เป็นผู้รับขนส่ง โจทก์ย่อมจะต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ม. ตาม สัญญา เมื่อโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัท ม. แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ม. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ผู้กระทำละเมิดและจำเลยที่ 3 ซึ่ง เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 ให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยที่ 4 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดและอาญา: การรู้ตัวผู้ละเมิดและการกระทำแทนผู้อำนวยการ
หัวหน้าแผนกประกันภัยและสอบสวนขององค์การโจทก์ได้ทำหนังสือตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในระเบียบของโจทก์ ซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.) พ.ศ. 2496 มาตรา 21,22 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในทันทีที่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอันมีผลเท่ากับเป็นการปฎิบัติงานตามหน้าที่ของผู้อำนวยการของโจทก์และแทนผู้อำนวยการของโจทก์ ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2523 ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วอย่างช้าตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2523 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 สิงหาคม 2525 จึงเกินกว่า 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก จำเลยที่ 1 กระทำความผิดทางอาญา ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43,157 ซึ่งเป็นคดีลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 อายุความทางอาญามีกำหนด 1 ปี เท่ากับคดีละเมิดต้องบังคับตามอายุความทางแพ่งซึ่งมีกำหนด 1 ปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความเช่นกัน เมื่อคดีได้ความว่า จำเลยที่ 2 ที่ 4 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิด เนื่องจากฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องแล้ว จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันเกิดการละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ หากโจทก์ไม่สืบหรือสืบไม่ได้ก็ต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อโจทก์ทราบตัวผู้ละเมิด
คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งเกี่ยวกับกรณีรถยนต์ของโจทก์ที่สูญหายได้รายงานผลการสอบสวนสรุปความเห็นเป็น 3 ประการเสนอต่อเลขาธิการสำนักงานโจทก์แล้ว เลขาธิการได้บันทึกต่อท้ายรายงานนั้นว่า'ทราบ สยช.(โจทก์) ได้รับเรื่องเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2526 ขอให้ ลขก. (เลขานุการกรม) พิจารณาเสนอ'จึงต้องถือว่า โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2526การให้เลขานุการกรมพิจารณาเสนอความเห็น เป็นเรื่องที่เลขาธิการสำนักงานโจทก์ดำเนินการต่อไปหลังจากรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว หาใช่ยังไม่รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2455/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ละเมิด แม้ได้รับเงินจากราชการแล้ว และขอบเขตการฟ้องร้องตามที่ระบุในคำฟ้อง
แม้โจทก์เป็นข้าราชการได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลบุตรผู้เยาว์ซึ่งถูกทำละเมิดจากทางราชการแล้ว ก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดอีกได้ เพราะสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจากทางราชการ เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย
ในการละเมิดทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องค่าเสียหายอย่างใดได้บ้างมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444,445,และ 446 ซึ่งหาได้ให้สิทธิแก่บิดาที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งทุพพลภาพเพราะถูกกระทำละเมิดต่อไปในอนาคตไม่
ฟ้องเรียกค่าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งต้องทุพพลภาพเพราะถูกกระทำละเมิด แม้ทางพิจารณาโจทก์จะนำสืบเป็นทำนองขอเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่บุตรเสียความสามารถสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 ศาลก็จะบังคับให้ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใดๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
หมายเหตุวรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่18/2519

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากผู้ละเมิด: ผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่มีสิทธิเรียกร้อง หากไม่ใช่ผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย
จำเลยขับเรือโดยประมาทชนเรือโดยสารของโจทก์ เป็นเหตุให้ผู้โดยสารในเรือของโจทก์บาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์ได้จ่ายไปในทางรักษาพยาบาลผู้โดยสารดังกล่าว โจทก์หาสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ไม่ เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเรียกร้องเอาจากผู้ละเมิดได้ และไม่เป็นการรับช่วงสิทธิตามกฎหมาย ทั้งกรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อผู้โดยสารตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการรับขนคนโดยสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ & สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีขับไล่ผู้ละเมิด
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือผู้ให้เช่าผู้เช่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีหาได้ไม่
คดีฟ้องขับไล่ผู้ละเมิดออกจากอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะมิใช่คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าหรือผู้อาศัย
คดีฟ้องขับไล่เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้มิใช่คดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: การรู้ตัวผู้ละเมิดเริ่มต้นเมื่อทราบการกระทำละเมิด ไม่จำเป็นต้องรู้จำนวนค่าเสียหาย
ผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งกล่าวไว้ในมาตรา 448 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ก็คือ ผู้ทำละเมิดตามมาตรา 420 นั่นเอง และการรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าไหมทดแทนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 448 นั้น ก็มิได้หมายรวมถึงการรู้จำนวนค่าเสียหายที่ผู้ละเมิดจะพึงต้องใช้ด้วย
เสมียนแผนกเงินยักยอกเงินของทางราชการในระหว่างที่จำเลย 3 คนดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกเงินสืบต่อกันเมื่ออธิบดีกรมนั้นได้รับรายงานจากคณะกรรมการสอบสวนว่าจำเลยคนใดจะต้องรับผิดเพียงใด เป็นจำนวนเงินเท่าใดย่อมแล้วแต่ความทุจริตซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่จำเลยนั้น ๆ เป็นหัวหน้าแผนก ดังนี้ อายุความในการที่กรมนั้นจะใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยย่อมเริ่มต้นแล้ว แม้รายงานนั้นจะแจ้งด้วยว่าในขณะนั้นยังไม่สามารถจะรายงานให้ทราบจำนวนเงินซึ่งจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794-1795/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: เริ่มนับแต่วันที่รู้ตัวผู้ละเมิด & ห้ามเปลี่ยนประเด็นใหม่ในชั้นฎีกา
การนับอายุความ 1 ปี เรื่องละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ว่าใครควรรับผิดอย่างใด เมื่อมาฟ้องคดีเกินกว่าหนึ่งปี นับแต่ได้ทราบเรื่อง ก็ขาดอายุความ (ฎีกา 243/2497)
เมื่อโจทก์จำเลยกะประเด็นมาแต่ศาลขั้นต้นว่ามีประเด็นข้อสืบเป็นเรื่องละเมิดแล้ว ในชั้นฎีกาจะโต้เถียงว่าควรปรับอายุความเข้าตามบทมาตรา 164,165 ย่อมเป็นการแปรเรื่องเป็นอื่นซึ่งไม่ตรงกับคดี และจะโต้เถียงว่า หากจะมิใช่เป็นความผิดเรื่องละเมิดก็ต้องรับผิดในฐานเป็นตัวแทนผู้เสียหายด้วย ดังนี้เป็นเรื่องยกประเด็นขึ้นมาใหม่ มิใช่ข้อที่ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดได้เฉพาะส่วนที่จ่ายตามจริงเท่านั้น
ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกได้เพียงเท่ากับจำนวนที่บุคคลนั้นได้กระทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยเท่านั้น จะเรียกร้องเต็มตามจำนวนที่ผู้รับประกันภัยต้องชำระให้แก่ผู้เอาประกันซึ่งเกินกว่าค่าเสียหายที่บุคคลภายนอกได้กระทำละเมิด หาได้ไม่
of 2