พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกักกันของ ผู้ว่าคดีศาลแขวง และอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ว่าคดีศาลแขวงย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า พนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 43 ทั้งนี้โดยนัยแห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 5 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5) ฉะนั้นจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้กักกันจำเลยได้
กักกันมิใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 39(1) ซึ่งมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก(คำพิพากษาฎีกาในที่ประชุมใหญ่ที่ 1455/2511) ฉะนั้น จึงย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาให้กักกันจำเลยตามที่ผู้ว่าคดีฟ้องขอมาได้
กักกันมิใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 39(1) ซึ่งมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก(คำพิพากษาฎีกาในที่ประชุมใหญ่ที่ 1455/2511) ฉะนั้น จึงย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาให้กักกันจำเลยตามที่ผู้ว่าคดีฟ้องขอมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมย่อมเป็นไปตามคำฟ้องของผู้ว่าคดี หากคำฟ้องของผู้ว่าคดีต้องยกฟ้อง อำนาจฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย
การที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้ว่าคดีโจทก์ ตามอำนาจที่ให้ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 นั้น คำร้องของผู้เสียหายไม่ใช่คำฟ้องที่ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องคดีหนึ่งอีกต่างหากจากฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์เมื่ออำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์สำหรับคดีนั้นไม่มีต้องยกฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์แล้ว ย่อมเป็นผลตามกฎหมายที่ต้องยกฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมไปด้วยเพราะไม่มีคำฟ้องเหลืออยู่ที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้(อ้างฎีกาที่ 1274/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีและโจทก์ร่วม: เมื่อฟ้องของผู้ว่าคดีต้องห้าม โจทก์ร่วมก็ย่อมเสียอำนาจฟ้องไปด้วย
การที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้ว่าคดีโจทก์ ตามอำนาจที่ให้ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 นั้น คำร้องของผู้เสียหายไม่ใช่คำฟ้องที่ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องคดีหนึ่งอีกต่างหากจากฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์ เมื่ออำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์สำหรับคดีนั้นไม่มีต้องยกฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์แล้ว ย่อมเป็นผลตามกฎหมายที่ต้องยกฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมไปด้วยเพราะไม่มีคำฟ้องเหลืออยู่ที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 1274/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาหลังพ้นกำหนด 72 ชั่วโมง: อำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีเมื่ออธิบดีกรมอัยการอนุญาต
จำเลยหลบหนีไปจากสถานที่ควบคุมในระหว่างที่ถูกคุมขังอยู่ในข้อหาเรื่องอื่น พนักงานสอบสวนมิได้ส่งตัวจำเลยไปฟ้องหรือขอผัดฟ้องภายในกำหนด 72 ชั่วโมง นับแต่จำเลยถูกจับ ผู้ว่าคดีเพิ่งฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงเมื่อจำเลยถูกจับในคดีหลบหนีฯ นี้แล้ว 3 เดือนเศษ เมื่อได้ความว่าอธิบดีกรมอัยการได้อนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงตาม พ.ร.บ. 2499: บทบาทอัยการและผู้ว่าคดี, ศาลต้องรับฟ้อง
คดีเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499 ส่วนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 ยังมิได้ออกใช้บังคับ เมื่อผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวง ธนบุรีไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่า คดีมีมูลฐานวิ่งราวทรัพย์ (ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลอาญา) และให้ประทับฟ้องไว้ อัยการได้รับสำนวนจากศาลแขวงธนบุรี และพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้องฐานวิ่งราว คงสั่งฟ้องฐานลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง) เมื่อพนักงานอัยการฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ต่อศาลอาญา ศาลอาญาจำต้องรับคดีนี้ไว้พิจารณา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2503)
ความในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14 (2) ที่ให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ใช้ได้แต่ในระบบที่ศาลแขวงมิได้เป็นศาลไต่สวนความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น
นอกจากราษฎรฟ้องกันเอง แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าคดีตามความในมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499 เท่านั้น ที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีในศาลแขวงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อัยการหาอาจเป็นโจทก์ในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯ พ.ศ. 2499 นี้ได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2503)
ความในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14 (2) ที่ให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ใช้ได้แต่ในระบบที่ศาลแขวงมิได้เป็นศาลไต่สวนความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น
นอกจากราษฎรฟ้องกันเอง แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าคดีตามความในมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499 เท่านั้น ที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีในศาลแขวงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อัยการหาอาจเป็นโจทก์ในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯ พ.ศ. 2499 นี้ได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงตาม พ.ร.บ.ศาลแขวงฯ พ.ศ.2499: บทบาทผู้ว่าคดีและอัยการ
คดีเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 ส่วนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 ยังมิได้ออกใช้บังคับ เมื่อผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงธนบุรีไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่า คดีมีมูลฐานวิ่งราวทรัพย์(ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลอาญา) และให้ประทับฟ้องไว้ อัยการได้รับสำนวนจากศาลแขวงธนบุรีและพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้องฐานวิ่งราวคงสั่งฟ้องฐานลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง) เช่นนี้เมื่ออัยการฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ต่อศาลอาญาศาลอาญาจำต้องรับคดีนี้ไว้พิจารณา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2503)
ความในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(2) ที่ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ใช้ได้แต่ในระบบที่ศาลแขวงมิได้เป็นศาลไต่สวนความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น
นอกจากราษฎรฟ้องกันเองแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าคดีตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 เท่านั้นที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีในศาลแขวงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อัยการหาอาจเป็นโจทก์ในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 นี้ได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2503)
ความในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(2) ที่ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ใช้ได้แต่ในระบบที่ศาลแขวงมิได้เป็นศาลไต่สวนความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น
นอกจากราษฎรฟ้องกันเองแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าคดีตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 เท่านั้นที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีในศาลแขวงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อัยการหาอาจเป็นโจทก์ในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 นี้ได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2503)