พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อความเสียหายจากการอนุมัติจัดซื้อที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ
จำเลยที่ 9 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ลงนามอนุมัติจัดซื้อหนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นหนังสือประกอบหลักสูตรเท่านั้น โดยวิธีกรณีพิเศษ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดซื้อและซื้อจากร้านสหกรณ์กลาโหม จำกัด ซึ่งมิใช่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ อันเป็นการขัดระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2522 แม้หนังสือที่ขออนุมัติจัดซื้อได้ผ่านการตรวจสอบของจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำเลยร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นปลัดจังหวัด และจำเลยร่วมที่ 3 ซึ่งเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นก็ตาม แต่จำเลยที่ 9 เป็นผู้อนุมัติชั้นสุดท้ายต้องไตร่ตรองให้ละเอียดรอบคอบ ไม่ใช่เพียงแต่ลงนามอนุมัติผ่านไปตามความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น เมื่อการอนุมัติจัดซื้อเป็นเหตุให้โจทก์ซื้อหนังสือพิพาทแพงไป การกระทำของจำเลยที่ 9 จึงเป็นความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ส่วนที่จำเลยที่ 9 ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ คดีสำหรับจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 9 ไม่อาจแก้อุทธรณ์เพื่อให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 9 มานั้น เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยที่ 9 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยที่ 9 ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ คดีสำหรับจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 9 ไม่อาจแก้อุทธรณ์เพื่อให้จำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยร่วมที่ 1 ถึงที่ 3 ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 9 มานั้น เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยที่ 9 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกระทรวงที่มอบอำนาจผู้ว่าฯ แม้รัฐมนตรีพ้นตำแหน่งแล้ว คำสั่งมอบอำนาจยังสมบูรณ์
รัฐมนตรีมีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ นาย ธ. จะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งมอบอำนาจไม่ได้ถูกยกเลิกเพิกถอน คำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวของนาย ธ. คงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: การฟ้องขอเพิกถอนโฉนดที่ดิน และการฟ้องจำเลยที่ไม่ดำเนินการเพิกถอน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 นำเจ้าพนักงานรังวัดออกโฉนดที่ดินเลขที่ 8430 ทับที่ดินพิพาทของโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนด กลับขอให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงบังคับตามคำขอไม่ได้ พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกภายหลังจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีก่อนแล้ว การที่โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 มิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตจังหวัดตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 61(2)การเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทจึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์มีหนังสือร้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินพิพาทของโจทก์ แต่จำเลยที่ 2ไม่ดำเนินการให้ ย่อมถือได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างของผู้ว่าฯ และอายุความตามสัญญา
ตามหนังสือมอบอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ระบุชัดแจ้งว่าเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณในระดับจังหวัด ข้อ 5 ก็มีข้อความว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณมอบอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้ในนามตนเอง หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนส่วนราชการผู้มอบอำนาจตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยตัวแทนไม่ เมื่อเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเพื่อปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันได้ปฏิบัติผิดสัญญา ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม 193/30 ใหม่ หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 601 ไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม 193/30 ใหม่ หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 601 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งซื้อ/สั่งจ้างของผู้ว่าฯ ตามระเบียบงบประมาณระดับจังหวัด และการฟ้องรับผิดตามสัญญา
ตามหนังสือมอบอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ระบุชัดแจ้งว่าเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณในระดับจังหวัด ข้อ 5 ก็มีข้อความว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณมอบอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้ในนามตนเอง หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนส่วนราชการผู้มอบอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทนไม่ เมื่อเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเพื่อปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันได้ปฏิบัติผิดสัญญา ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม 193/30 ใหม่หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งซื้อจ้างของผู้ว่าฯ กับอายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา
ตามหนังสือมอบอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ระบุชัดแจ้งว่าเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณในระดับจังหวัดข้อ5ก็มีข้อความว่าให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณมอบอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้ในนามตนเองหาใช่เป็นการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนส่วนราชการผู้มอบอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทนไม่เมื่อเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเพื่อปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวการที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันได้ปฏิบัติผิดสัญญาย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม193/30ใหม่หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งสมุห์บัญชีสุขาภิบาลต้องโดยผู้ว่าฯ นายอำเภอไม่มีอำนาจ สั่งให้ปฏิบัติหน้าที่จึงไม่ชอบ
การที่จะแต่งตั้งเสมียนตราอำเภอให้เป็นสมุห์บัญชีสุขาภิบาลนั้น จะต้องทำเป็นเรื่องเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง นายอำเภอแม้จะเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลอยู่ด้วยก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะแต่งตั้งเสมียนตราอำเภอให้เป็นสมุห์บัญชีสุขาภิบาลได้ด้วยตนเอง ดังนั้นการที่นายอำเภอสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาล จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ จำเลยไม่มีฐานะเป็นพนักงานของสุขาภิบาลและไม่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ 157 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งสมุห์บัญชีสุขาภิบาลต้องเป็นของผู้ว่าฯ นายอำเภอไม่มีอำนาจ สั่งให้ปฏิบัติหน้าที่จึงไม่ชอบ
การที่จะแต่งตั้งเสมียนตราอำเภอให้เป็นสมุห์บัญชีสุขาภิบาลนั้นจะต้องทำเป็นเรื่องเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งนายอำเภอแม้จะเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลอยู่ด้วยก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะแต่งตั้งเสมียนตราอำเภอให้เป็นสมุห์บัญชีสุขาภิบาลได้ด้วยตนเองดังนั้นการที่นายอำเภอสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาลจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบจำเลยไม่มีฐานะเป็นพนักงานของสุขาภิบาลและไม่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147และ157ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของ ผวจ. และความรับผิดของคณะเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 71 ในการควบคุมดูแลเทศบาลโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 หรือมีอำนาจฟ้องผู้ที่ทำละเมิดแก่โจทก์ที่ 1 ได้ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 เพียงกำหนดให้คณะเทศมนตรีรับผิดชอบบริหารกิจการของเทศบาลโจทก์เท่านั้นมิได้บัญญัติให้คณะเทศมนตรีร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ยักยอกเงินของโจทก์ คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อได้ปล่อยปละละเลย หรือประมาทเลินเล่ออันวิญญูชนที่กระทำในหน้าที่และฐานะเช่นนั้นทำให้เกิดการยักยอกเงินดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ว่าฯ กับเทศบาล และความรับผิดของคณะเทศมนตรีต่อการทุจริตของเจ้าหน้าที่
โจทก์ที่2เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา71ในการควบคุมดูแลเทศบาลโจทก์ที่1เท่านั้นโจทก์ที่2ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่1หรือมีอำนาจฟ้องผู้ที่ทำละเมิดแก่โจทก์ที่1ได้ ศาลอุทธรณ์เทศบาลพ.ศ.2496มาตรา39เพียงกำหนดให้คณะเทศมนตรีรับผิดชอบบริหารกิจการของเทศบาลโจทก์เท่านั้นมิได้บัญญัติให้คณะเทศมนตรีร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ยักยอกเงินของโจทก์คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อได้ปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่ออันวิญญูชนที่กระทำในหน้าที่และฐานะเช่นนั้นทำให้เกิดการยักยอกเงินดังกล่าวเท่านั้น