คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้สมัคร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีสมาชิกภาพในพรรคการเมืองไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคสอง บัญญัติว่า หัวหน้าพรรคการเมืองต้องแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี การที่ผู้ร้องไม่มีชื่ออยู่ในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรค ก. น่าเชื่อว่าเกิดจากการที่พรรค ก. ไม่ได้แจ้งชื่อผู้ร้องไปให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบ จึงเป็นข้อพิรุธเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในการเป็นสมาชิกพรรค ก. ของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกินหนึ่งพรรค
ผู้คัดค้านได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ก. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 และได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 ต่อมาผู้คัดค้านได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ท. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 และวันเดียวกันนั้น ผู้คัดค้านได้ยื่นหลักฐานการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้คัดค้านจึงมีรายชื่อเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกินกว่า 1 พรรค ถือได้ว่าผู้คัดค้านมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่พรรคเดียวนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกิน 90 วัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรค ก. ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2547 ผู้คัดค้านได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. และลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ท. โดยพ้นจากการเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ดังนี้ ระหว่างวันที่ 4 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 2 พรรค ผู้คัดค้านเพิ่งเป็นสมาชิกพรรค ก. เพียงพรรคเดียว เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 นับถึงวันที่ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือวันที่ 8 มีนาคม 2549 ยังไม่ครบ 90 วัน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2007/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีสมาชิกพรรคการเมืองหลายพรรค และระยะเวลาการเป็นสมาชิก
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนวันเลือกตั้งถ้าปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยเร็ว ถ้าเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น ดังนั้น เมื่อผู้ร้องตรวจพบว่าผู้คัดค้านขาดคุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้คัดค้านได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผู้ร้องมีหลักฐานการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้คัดค้านว่านอกจากผู้คัดค้านจะเป็นสมาชิกพรรค พ. แล้ว ผู้คัดค้านยังเป็นสมาชิกพรรค ช. ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2543 ต่อมาวันที่ 21 กันยายน 2547 พรรค ช. ยุบพรรครวมเข้ากับพรรค ท. ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรค ท. ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นหลัก แม้ว่าผู้คัดค้านจะไม่เคยสมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. มาก่อนก็ตาม ทำให้ผู้คัดค้านเป็นทั้งสมาชิกพรรค พ. และพรรค ท. จึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน มีผลให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามกฎหมาย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 กำหนดให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาพร้อมด้วยรายชื่อ อาชีพ และที่อยู่ของสมาชิกตามวิธีการที่นายทะเบียนกำหนดให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี แต่ปรากฏว่ารายชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคในรอบปี 2548 ที่พรรค ผ. ส่งไปให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่มีชื่อผู้ร้อง ดังนั้น แม้จะปรากฏตามบันทึกการประชุมพรรค ผ. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ว่า พรรคมีมติรับผู้ร้องเป็นสมาชิกลำดับที่ 081/2548 แต่บันทึกการประชุมครั้งที่ 10/2548 เป็นเพียงการรับรองรายงานการประชุมพรรคครั้งที่ 9/2548 ลงวันที่ 11 กันยายน 2548 ซึ่งระบุเพียงเลขที่สมาชิก ไม่ปรากฏชื่อผู้ร้อง ทั้งใบสมัครสมาชิกพรรคของผู้ร้องระบุว่าผู้ร้องยื่นใบสมัครวันที่ 14 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวันหลังจากพรรค ผ. มีมติรับสมัครสมาชิกเลขที่ 081/2548 ไปแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงมิได้เป็นสมาชิกพรรค ผ. จึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. – การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่อเนื่อง 90 วัน – พยานหลักฐานไม่สอดคล้อง
ผู้ร้องแถลงว่าได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2548 หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าอนุมัติให้เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าหมายเลขสมาชิก 011400 และขึ้นทะเบียนสมาชิกพรรคไว้แล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 นั้น หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้าง หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าก็น่าจะระบุชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าคนหนึ่งในจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 ที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 เนื่องจากได้ขึ้นทะเบียนผู้ร้องเป็นสมาชิกไว้แล้ว และทะเบียนสมาชิกพรรคดังกล่าวเป็นหน้าที่ของหัวหน้าพรรคการเมืองที่จะต้องจัดทำให้ตรงตามความเป็นจริงและเก็บรักษาไว้ ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมือง และพร้อมที่จะให้นายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตรวจสอบได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง ส่วนที่อ้างว่าหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไม่ได้ระบุชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 เนื่องจากใบสมัครสมาชิกพรรคบางส่วนซึ่งมีใบสมัครสมาชิกพรรคของผู้ร้องอยู่ด้วยหาไม่พบระยะหนึ่งเนื่องจากมีการย้ายที่ทำการพรรคนั้น เป็นคำแถลงที่ไม่ประกอบด้วยเหตุผล เพราะหากมีการขึ้นทะเบียนผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 ตามที่อ้างจริง แม้จะหาใบสมัครสมาชิกพรรคไม่พบก็น่าจะแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 โดยอาศัยทะเบียนสมาชิกพรรคได้ ข้ออ้างและพยานหลักฐานของผู้ร้องจึงมีพิรุธไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้านับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องไม่มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1832/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองติดต่อกัน 90 วัน
การที่ไม่มีชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและผู้สมัครยอมรับว่าเพิ่งสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาไม่ถึง 90 วัน ผู้สมัครจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาจำกัดเฉพาะการวินิจฉัยคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34 และ 34/1 กำหนดให้ศาลฎีการับวินิจฉัยเฉพาะกรณีที่มีการโต้แย้งกันเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น หาได้กำหนดให้ศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การสิ้นสุดสมาชิกภาพพรรค และระยะเวลาการเป็นสมาชิก
ผู้ร้องยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปัตย์ได้รับหนังสือแล้วเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 เมื่อ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 22 บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ ... (2) ลาออก จึงต้องถือว่าการลาออกจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องมีผลเมื่อหนังสือลาออกของผู้ร้องไปถึงพรรคประชาธิปัตย์ความเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ของผู้ร้องจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคความหวังใหม่เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2547 ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 เมื่อนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งผู้ร้องจึงเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องจึงมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และระยะเวลาการเป็นสมาชิก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ป. และพรรค ป. ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 22 บัญญัติว่า "สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง เมื่อ? (2) ลาออก" จึงต้องถือว่าการลาออกจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องมีผลเมื่อหนังสือลาออกของผู้ร้องไปถึงพรรค ป. ความเป็นสมาชิกพรรค ป. ของผู้ร้องจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ค. เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2547 ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 ผู้ร้องจึงเป็นเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องจึงมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4)
of 5