พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่อเนื่อง 90 วัน
ผู้ร้องอ้างว่าได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2548 หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าอนุมัติให้เป็นสมาชิกพรรคและขึ้นทะเบียนสมาชิกพรรคไว้แล้วเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 ซึ่งหากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้าง ทะเบียนสมาชิกพรรคจะต้องมีชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ร้องซึ่งเป็นสมาชิกไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2548 เมื่อหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้ามีหนังสือแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2549 ก็จะต้องระบุชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคคนหนึ่งในจำนวนสมาชิกพรรคการเมืองที่เพิ่มขึ้นในรอบปี 2548 ได้ เนื่องจากการขึ้นทะเบียนสมาชิกพรรคเป็นหน้าที่ของหัวหน้าพรรคการเมืองที่จะต้องจัดทำให้ตรงตามความเป็นจริงและเก็บรักษาไว้ ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมืองและพร้อมที่จะให้นายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตรวจสอบได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้านับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องจึงไม่มีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ชอบที่ผู้คัดค้านจะไม่รับสมัครไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งได้
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต้องแจ้งรายชื่อและมีข้อพิรุธในข้อมูล
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคไทยช่วยไทย วันที่ 11 มกราคม 2548 ซึ่งตามกฎหมายพรรคไทยช่วยไทยจะต้องแจ้งรายชื่อสมาชิกเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนภายในเดือนมกราคมของปีรุ่งขึ้น พรรคไทยช่วยไทยจึงมีหน้าที่แจ้งชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกเพิ่มเติมภายในวันที่ 31 มกราคม 2549 แต่พรรคไทยช่วยไทยไม่ได้แจ้งชื่อผู้ร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ทำให้ผู้ร้องไม่มีชื่อในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง ดังนี้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 วรรคสอง หัวหน้าพรรคการเมืองต้องแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมา พร้อมด้วยรายชื่อ อาชีพ และที่อยู่สมาชิกดังกล่าวตามวิธีการที่นายทะเบียนกำหนดให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี การที่พรรคไทยช่วยไทยไม่แจ้งรายชื่อผู้ร้องเป็นสมาชิกเพิ่มเติมตามที่กฎหมายกำหนด ทั้ง ๆ ที่พรรคไทยช่วยไทยก็มีการแจ้งจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาต่อนายทะเบียน จึงเป็นข้อพิรุธเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในการเป็นสมาชิกพรรคไทยช่วยไทยของผู้ร้อง แม้ผู้ร้องจะอ้างว่า มีการแจ้งชื่อผู้ร้องให้นายทะเบียนทราบเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 ก็ไม่ปรากฏเหตุผลว่า เหตุใดพรรคไทยช่วยไทยจึงต้องแจ้งชื่อผู้ร้องในภายหลังเช่นนั้น นอกจากนี้เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับสมัครสมาชิกพรรคจำนวน 66 คน ดังกล่าว ก็พบพิรุธในเอกสารรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริหารพรรคไทยช่วยไทยครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2548 เพราะตามรายงานการประชุม เอกสารหมาย ค.2 ซึ่งเป็นเอกสารที่เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจพบ ณ ที่ทำการพรรคไทยช่วยไทยนั้น ในระเบียบวาระที่ 5 เป็นเรื่องการรับสมาชิกพรรค ณ วันที่ 11 มกราคม 2548 ซึ่งรวมถึงหมายเลข กศ 000053 อันเป็นหมายเลขสมาชิกของผู้ร้องด้วย แต่รายงานการประชุม เอกสารหมาย ค.1 ซึ่งเป็นเอกสารรายงานการประชุมครั้งเดียวกัน และพรรคไทยช่วยไทยได้จัดส่งให้นายทะเบียนนั้น ระเบียบวาระที่ 5 ระบุว่า เรื่องอื่น ๆ (ไม่มี) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับผู้ร้องเข้าเป็นสมาชิกพรรคไทยช่วยไทยจึงเป็นพิรุธไม่อาจรับฟังได้ว่า พรรคไทยช่วยไทยได้รับผู้ร้องเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2548 ดังนั้น ลำพังข้อมูลที่ว่า ผู้ร้องมีชื่อปรากฏในฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองจึงไม่พอรับฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคไทยช่วยไทย ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2548 จริง เมื่อข้อเท็จจริงไม่อาจรับฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคไทยช่วยไทย ผู้ร้องจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 109 (4)
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และผลการลาออก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อข้อเท็จจริงน่าเชื่อตามพยานหลักฐานของผู้ร้องว่า ผู้ร้องยื่นหนังสือลาออกต่อพรรคมหาชนในวันที่ 16 กันยายน 2547 ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 22 บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ...(2) ลาออก ย่อมต้องถือว่าการลาออกจากสมาชิกพรรคมหาชนของผู้ร้องมีผลเมื่อผู้ร้องยื่นหนังสือลาออกต่อพรรคมหาชนในวันดังกล่าวแล้ว ความเป็นสมาชิกพรรคมหาชนของผู้ร้องจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 16 กันยายน 2547 ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 และผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 ผู้ร้องย่อมเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องจึงมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีสมาชิกภาพพรรคการเมืองและการลาออกที่ไม่ครบ 90 วัน
เดิมผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคความหวังใหม่ เมื่อพรรคความหวังใหม่ไปรวมเข้าเป็นพรรคเดียวกับพรรคไทยรักไทย ผู้ร้องจึงเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นหลักตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 73 วรรคสอง ประกอบมาตรา 72 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องเพิ่งยื่นหนังสือขอลาออกจากพรรคไทยรักไทยในวันที่ 14 มกราคม 2548 นับแต่วันที่ผู้ร้องลาออกจากพรรคไทยรักไทยถึงวันที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 ผู้ร้องจึงเป็นสมาชิกพรรคความหวังใหม่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่ถึง 90 วัน ผู้ร้องจึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีถูกไล่ออกจากราชการฐานทุจริต แม้คำสั่งวินัยยังไม่ถึงที่สุด
ผู้ร้องเคยรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจ ต่อมาถูกลงโทษทางวินัย ฐานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการให้ลงโทษไล่ออกจากราชการ ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจและยังมิได้มีมติเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่ผู้ร้อง ต้องถือว่าคำสั่งลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่ราชการนั้น ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องจึงได้ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้เคยถูกไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ และเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 109 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีเป็นบุคคลล้มละลายที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้พ้นจากคดี
ขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องได้ถูกศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลแพ่งธนบุรียังไม่ได้สั่งให้พ้นจากคดี แม้คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาก็ตาม ผู้ร้องก็ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี และเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 109 (2) และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 29
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8240/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี - วันที่อนุมัติผลการศึกษา vs วันที่อนุมัติปริญญา
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 29 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งจะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ ซึ่งตามมาตรา 107 (3) กำหนดไว้ว่า ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า แสดงว่ามุ่งประสงค์ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าเป็นสำคัญ ตามหลักฐานแสดงผลการศึกษาที่ผู้ร้องอ้างส่งประกอบการสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องสอบได้ครบถ้วนทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีแล้ว ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏว่าด้วยการออกหลักฐานแสดงผลการศึกษา พ.ศ. 2538 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในข้อ 8 ว่า "วันที่สำเร็จการศึกษาในหลักฐานแสดงผลการศึกษา ให้ถือเอาวันที่คณะกรรมการอนุมัติผลการศึกษา" ส่วนการออกปริญญาบัตรซึ่งจะต้องดำเนินการต่อไปได้กำหนดไว้ในข้อ 9 เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งแยกจากกัน และตามหนังสือตอบข้อหารือของอธิการบดีสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานีก็ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า คณะกรรมการวิชาการซึ่งสภาประจำสถาบันมอบหมายได้ประชุมอนุมัติผลการศึกษาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 สถาบันราชภัฏถือว่าวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 คือวันที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้ง เป็นวันสำเร็จการศึกษา และวันที่ 29 พฤศจิกายน 2543 เป็นวันอนุมัติปริญญา อันเป็นไปตามลำดับขั้นตอนในระเบียบคณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏดังกล่าว กรณีจึงต้องถือว่า ผู้ร้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าแล้วในวันสมัคร มีคุณสมบัติในเรื่องความรู้ครบถ้วนตามที่กฎหมายต้องการแล้ว การที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยถือว่าผู้ร้องขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 107 (3) เป็นการไม่ชอบ
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีถูกไล่ออกราชการฐานทุจริต แม้ยังอยู่ในขั้นตอนอุทธรณ์
ขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ร้องได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจอันเป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ก็ต้องถือว่าคำสั่งที่ลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8459/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีจบการศึกษานอกระบบ ต้องเข้าเรียนตามกำหนดเวลา และมีความรู้เทียบเท่า ม.ปลาย
ผู้ศึกษาจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร การศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2530 เมื่อจบหลักสูตรแล้วจะมีศักดิ์และสิทธิเท่ากับผู้ที่จบจาก สถานศึกษาในระบบโรงเรียนทุกประการ ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้าน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดยโสธร จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านได้เข้าเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศตามกำหนดเวลามาโดยตลอดจนมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการจึงมีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 19(1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2535 มาตรา 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8459/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีจบการศึกษานอกระบบ: ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนเทียบเท่า ม.ปลายได้
ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้เข้าเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศตามกำหนดเวลามาโดยตลอดจนมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าหรือรับรองว่าเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 19(1)ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับ 3) พ.ศ. 2535มาตรา 12