พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งสินค้าและผู้ขนส่ง กรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่ง: การประเมินความรับผิดและค่าเสียหาย
ความรับผิดของผู้ส่งของในความเสียหายอันเนื่องมาจากการแจ้งหรือจัดให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความในใบตราส่งโดยไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของเครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเลฯ นั้น เพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง และเมื่อผู้ขนส่งได้บันทึกให้ตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือจัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้นทุกประการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความดังกล่าว บทบัญญัติ มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ส่งของรับผิดชดใช้ความเสียหายแก่ผู้ขนส่งแม้ผู้ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ตาม แต่ทั้งนี้ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามสัญญาขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอกผู้ทรงใบตราส่งนั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเหตุผลที่มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ส่งของรับผิดต่อผู้ขนส่งสำหรับความเสียหายดังกล่าว เป็นเพราะความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ทรงใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลเนื่องจากผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งอันเป็นผลมาจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของเครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของจำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นที่ไม่ถูกต้องไว้ในใบตราส่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับใบตราส่งตามมาตรา 32 วรรคสองนี้จึงมิใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ขนส่งหรือเรือผู้ขนส่งโดยตรง ดังนี้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าไม้เนื้อแข็งแปรรูปน้อยกว่าน้ำหนักสินค้าของสินค้าตามความเป็นจริง และมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ผู้ขนส่งและสินค้าของผู้อื่นในเรือซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้แต่ต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งผู้ส่งของจะต้องรับผิดต่อผู้ขนส่ง ในกรณีที่ความเสียหายเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับขนทางอากาศ: ผู้ส่งต้องรับผิดชอบค่าระวางส่วนที่เรียกเก็บจากผู้รับไม่ได้ หากตกลงกันไม่มีเงื่อนไขความรับผิด
การที่จำเลยผู้ขายสินค้าว่าจ้างโจทก์ให้ขนส่งสินค้าทางอากาศจากประเทศไทยไปส่งแก่ผู้ซื้อที่ต่างประเทศ โดยตกลงกันให้ชำระค่าระวาง และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นสองส่วน ส่วนแรกให้เรียกเก็บจากจำเลย ส่วนที่สองให้เรียกเก็บจากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ก็ไม่ได้ตกลงกันไว้ว่า ในกรณีที่โจทก์เรียกเก็บส่วนที่สองจากผู้ซื้อไม่ได้ โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขนส่งสินค้าของจำเลยไปส่งให้แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถเรียกเก็บส่วนที่สองจากผู้ซื้อ โจทก์ผู้ขนส่งในฐานะเป็นคู่สัญญารับขนของทางอากาศกับจำเลย จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยในฐานะ คู่สัญญาให้ชดใช้ส่วนที่ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่ง: ความรับผิดของผู้ส่งเมื่อเรียกเก็บค่าระวางจากผู้ซื้อไม่ได้
โจทก์และจำเลยตกลงกันขนส่งสินค้าโดยให้เก็บค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2จากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ไม่ได้ตกลงกันว่าในกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขนส่งเรียกเก็บไม่ได้โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ในใบตราส่งก็ไม่มีเงื่อนไขว่าหากเรียกเก็บจากผู้ซื้อไม่ได้แล้วโจทก์หมดสิทธิเรียกเอาจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ส่ง ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานคู่สัญญาให้รับผิดชดใช้ค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระได้ และเมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันผิดนัดแก่โจทก์อีกด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งสินค้าอันตรายและการประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งในการขนส่งทางทะเล
จำเลยผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายแสดงว่าเป็นสินค้าอันตรายที่ข้างกล่องกระดาษ ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าได้ทราบถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 อย่างไรก็ตาม มาตรา 34 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ส่งของไว้โดยเฉพาะในกรณีละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ไว้ว่า ถ้าผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 และผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นมีดังต่อไปนี้ (1)?(2) ผู้ส่งของยังคงต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายทั้งปวงอันเกิดขึ้นหรือเป็นผลเนื่องจากการขนส่งของนั้น ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งของจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 34(2) ประกอบกับมาตรา 33 ดังกล่าว เมื่อผู้ขนส่งไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งของนั้น หากโจทก์ในฐานะผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายของสินค้าของจำเลยผู้ส่งของอยู่แล้ว โจทก์ก็สามารถใช้ความระมัดระวังในการขนส่งสินค้าดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพอันตรายของสินค้านั้นได้ กรณีนี้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยบรรจุสินค้าถ่านไม้ลงในถุงพลาสติกแล้วรัดด้วยหนังยางไม่ได้ปิดผนึกจนอากาศเข้าไม่ได้และไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของไอเอ็มดีจี โค้ด และประกาศกรมเจ้าท่า เรื่อง การกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แม้ความเสียหายจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ในการจัดระวางบรรทุกสินค้าด้วย แต่ก็ถือว่าต่างก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นจึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง
โจทก์ไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยทราบถึงความเสียหายภายใน 90 วัน เป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
จำเลยบรรจุสินค้าถ่านไม้ลงในถุงพลาสติกแล้วรัดด้วยหนังยางไม่ได้ปิดผนึกจนอากาศเข้าไม่ได้และไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของไอเอ็มดีจี โค้ด และประกาศกรมเจ้าท่า เรื่อง การกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แม้ความเสียหายจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ในการจัดระวางบรรทุกสินค้าด้วย แต่ก็ถือว่าต่างก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นจึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง
โจทก์ไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยทราบถึงความเสียหายภายใน 90 วัน เป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งเป็นโมฆะหากผู้ส่งไม่ได้ตกลงด้วยชัดเจน และผู้ขนส่งต้องรับผิดในราคาสินค้าที่แท้จริง
แม้พนักงานของบริษัทส.ผู้ส่ง ได้ลงชื่อไว้ในใบรับเอกสารซึ่งมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งก็ตาม แต่บริษัทฮ.ผู้ส่งซึ่งเป็นนิติบุคคลมิได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ดังนี้ ข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ประกอบ กับสินค้าพิพาทเป็นยาแม้จะมีราคาค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 วรรคหนึ่งบริษัทฮ.ผู้ส่งจึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดชดใช้ราคาสินค้าพิพาทแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิของบริษัทฮ.ผู้ส่งในราคาทรัพย์สินที่แท้จริงซึ่งได้สูญหายไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล: ข้อตกลงต้องชัดแจ้งและผู้ส่งต้องยินยอม
กรณีรับขนส่งทางทะเลปรากฏว่าผู้ขายสัญชาติอเมริกันได้ส่งสินค้าประเภทอะไหล่รถแทรกเตอร์จำนวน 2 ตู้คอนเทนเนอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกามาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้ซื้อที่กรุงเทพมหานครโดยบริษัทจำเลยสัญชาติเดนมาร์คซึ่งประกอบการพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นผู้ขนส่ง จำเลยได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าระบุเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าผู้รับขนจะไม่มีความรับผิด สำหรับความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้น หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเกินไปกว่า 500 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อหีบห่อหรือหน่วย แล้วผู้ขายได้มอบใบตราส่งดังกล่าวให้แก่ธนาคารและธนาคารได้สลักหลังส่งมอบให้แก่ผู้ซื้ออีกชั้นหนึ่ง ผู้ซื้อได้เอาสินค้าดังกล่าวประกันภัยไว้กับโจทก์ เมื่อเรือจำเลยมาถึงประเทศไทย ผู้ซื้อไปรับสินค้าปรากฏว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตก สินค้าที่บรรจุมาส่วนหนึ่งสูญหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง กรณีนี้ถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ไม่ โดยให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้นถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่า 500 เหรียญสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั่นเอง เมื่อไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วย จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง โจทก์จึงหาผูกพันให้ต้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียง 500 เหรียญสหรัฐอเมริกาไม่แต่มีสิทธิเรียกตามความเสียหายที่แท้จริง
ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นซึ่งผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งนั้นถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง การที่จำเลยกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังใบตราส่งว่าจำเลยจะไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่า 500 เหรียญสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั่นเอง เมื่อไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วย จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง โจทก์จึงหาผูกพันให้ต้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยเพียง 500 เหรียญสหรัฐอเมริกาไม่แต่มีสิทธิเรียกตามความเสียหายที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อความเสียหายเกิดจากความผิดของผู้ส่ง/ผู้รับขน
โจทก์รับประกันวินาศภัยเยื่อกระดาษไว้จากบริษัท ต. ในการขนส่งเยื่อกระดาษจากสหรัฐจนถึงคลังสินค้าในประเทศไทย เรือเดินสมุทรได้บรรทุกเยื่อกระดาษมาถึงประเทศไทยแล้ว บริษัท ต. ได้ว่าจ้างจำเลยเอาเรือฉลอมบรรทุกเยื่อกระดาษจากเรือเดินสมุทรไปส่งที่ท่าเรือโรงงานกระดาษ โดยบริษัท ต.มีหน้าที่ขนเยื่อกระดาษขึ้นจากเรือฉลอมเอง ดังนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่เพียงขนเยื่อกระดาษจากเรือเดินสมุทรมาเทียบท่าเรือโรงงานกระดาษเท่านั้น เมื่อได้ความว่าเรือฉลอมบรรทุกเยื่อกระดาษมาเทียบท่าเรือโรงงานกระดาษตั้งแต่เวลา 11 น. เศษ แต่คนงานมิได้มาขนเยื่อกระดาษขึ้นจากเรือฝ่ายจำเลยได้ไปเตือนและเร่งรัดแล้วพวกคนงานก็ยังไม่มาจนกระทั่งค่ำ ระหว่างนี้น้ำลงเรื่อยๆ ทำให้เรือเกยตื้นในลักษณะหัวเรือสูงท้ายเรือต่ำ เพราะพื้นแม่น้ำตรงนั้นไม่เรียบ ครั้นเวลาราวเที่ยงคืนมีคนงานมาขนเยื่อกระดาษส่วนหนึ่งที่อยู่ตอนหัวเรือ ต่อมาน้ำเริ่มขึ้น แต่เนื่องจากน้ำหนักถ่วงอยู่ทางท้ายเรือ เรือจึงไม่ลอย น้ำเข้าเรือทำให้เรือจมลงเยื่อกระดาษที่บรรทุกเสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าถ้าคนงานมาขนเยื่อกระดาษขึ้นเสียตั้งแต่โอกาสแรกก็จะขนเยื่อกระดาษขึ้นได้หมด เพราะใช้เวลาเพียง 5 ชั่วโมงเท่านั้น เรือก็จะไม่จม จึงถือได้ว่าการสูญหายหรือบุบสลายเกิดเพราะความผิดของบริษัท ต. ผู้ส่งจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 แม้โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ต. ไป ก็จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าเมื่อความเสียหายเกิดจากความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับขน
โจทก์รับประกันวินาศภัยเยื่อกระดาษไว้จากบริษัท ต. ในการขนส่งเยื่อกระดาษจากสหรัฐจนถึงคลังสินค้าในประเทศไทยเรือเดินสมุทรได้บรรทุกเยื่อกระดาษมาถึงประเทศไทยแล้วบริษัท ต. ได้ว่าจ้างจำเลยเอาเรือฉลอมบรรทุกเยื่อกระดาษจากเรือเดินสมุทรไปส่งที่ท่าเรือโรงงานกระดาษโดยบริษัท ต. มีหน้าที่ขนเยื่อกระดาษขึ้นจากเรือฉลอมเอง ดังนี้จำเลยจึงมีหน้าที่เพียงขนเยื่อกระดาษจากเรือเดินสมุทรมาเทียบท่าเรือโรงงานกระดาษเท่านั้น เมื่อได้ความว่าเรือฉลอมบรรทุกเยื่อกระดาษมาเทียบท่าเรือโรงงานกระดาษตั้งแต่เวลา 11.00 น.เศษ แต่คนงานมิได้มาขนเยื่อกระดาษขึ้นจากเรือฝ่ายจำเลยได้ไปเตือนและเร่งรัดแล้วพวกคนงานก็ยังไม่มาจนกระทั่งค่ำระหว่างนี้น้ำลงเรื่อยๆ ทำให้เรือเกยตื้นในลักษณะหัวเรือสูงท้ายเรือต่ำเพราะพื้นแม่น้ำตรงนั้นไม่เรียบครั้นเวลาราวเที่ยงคืนมีคนงานมาขนเยื่อกระดาษส่วน.หนึ่งที่อยู่ตอนหัวเรือต่อมาน้ำเริ่มขึ้นแต่เนื่องจากน้ำหนักถ่วงอยู่ทางท้ายเรือเรือจึงไม่ลอย น้ำเข้าเรือทำให้เรือจมลงเยื่อกระดาษที่บรรทุกเสียหายพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าถ้าคนงานมาขนเยื่อกระดาษขึ้นเสียตั้งแต่โอกาสแรกก็จะขนเยื่อกระดาษขึ้นได้หมดเพราะใช้เวลาเพียง 5 ชั่วโมงเท่านั้นเรือก็จะไม่จม จึงถือได้ว่าการสูญหายหรือบุบสลายเกิดเพราะความผิดของบริษัท ต.ผู้ส่งจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 แม้โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท ต. ไปก็จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ส่งสินค้า: สิทธิยังไม่ตกแก่ผู้รับตราส่งหากยังไม่ส่งมอบ
บริษัทโจทก์ทำสัญญาขายสุนัขพันธุ์เยอรมันเชฟเพอดรวม 20 ตัวให้กรมตำรวจ และได้ตกลงกันว่าจ้างบริษัทจำเลยขนส่งสุนัขดังกล่าวโดยเครื่องบินจากประเทศเยอรมันตะวันตกมายังท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อส่งให้แก่กรมตำรวจ เมื่อจำเลยขนส่งสุนัขมาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองอันเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่ง ปรากฏว่าสุนัขตายไป 12 ตัว อีก 8 ตัว มีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากความผิดของบริษัทจำเลยที่มิได้จัดให้มีอากาศหายใจเพียงพอสำหรับสุนัขเหล่านั้น กรรมการบริษัทโจทก์ไปรับมอบจึงได้รับสุนัขที่ยังมีชีวิตจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยมาเพียง 8 ตัว ดังนี้ เมื่อประปรากฏว่ากรมตำรวจผู้รับตราส่งยังมิได้เรียกให้ส่งมอบสุนัขตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามมาตรา 627 สิทธิทั้งหลายของบริษัทโจทก์ผู้ส่งสุนัขอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นจึงยังมิได้ตกไปได้แก่กรมตำรวจผู้รับตราส่ง โจทก์ในฐานะผู้ส่งจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ส่งสินค้ากรณีสุนัขตายระหว่างขนส่ง สิทธิไม่ตกเป็นของผู้รับตราส่ง
บริษัทโจทก์ทำสัญญาขายสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพอดรวม 20 ตัวให้กรมตำรวจ และได้ตกลงว่าจ้างบริษัทจำเลยขนส่งสุนัขดังกล่าวโดยเครื่องบินจากประเทศเยอรมันตะวันตกมายังท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อส่งให้แก่กรมตำรวจ เมื่อจำเลยขนส่งสุนัขมาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองอันเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งปรากฏว่าสุนัขตายไป 12 ตัว อีก 8 ตัวมีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากความผิดของบริษัทจำเลยที่มิได้จัดให้มีอากาศหายใจ เพียงพอสำหรับสุนัขเหล่านั้น กรรมการบริษัทโจทก์ที่ไปรับมอบจึงได้รับสุนัขที่ยังมีชีวิตจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยมาเพียง 8 ตัว ดังนี้ เมื่อปรากฏว่ากรมตำรวจผู้รับตราส่งยังมิได้เรียกให้ส่งมอบสุนัขตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 สิทธิทั้งหลายของบริษัทโจทก์ผู้ส่งสุนัขอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นจึงยังมิได้ตกไปได้แก่กรมตำรวจผู้รับตราส่ง โจทก์ในฐานะผู้ส่งจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้