พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งของต่อความเสียหายจากการแจ้งน้ำหนักสินค้าไม่ถูกต้อง และการประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่ง
ความเสียหายที่ผู้ส่งของจะต้องรับผิดต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นกรณีที่ผู้ส่งของเป็นผู้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความในใบตราส่งเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปแห่งของ เครื่องหมายที่จำเป็นเพื่อบ่งตัวของ จำนวนหน่วยการขนส่ง น้ำหนักของหรือปริมาณอย่างอื่นเพื่อให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง และเมื่อผู้ขนส่งได้บันทึกตามที่ผู้ส่งของได้แจ้งหรือจัดให้ซึ่งข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าผู้ส่งของได้รับรองกับผู้ขนส่งว่าข้อความที่แจ้งหรือจัดให้นั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับของนั้นทุกประการ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่ถูกต้องแท้จริงของข้อความดังกล่าว มาตรา 32 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งของรับผิดชดใช้ ความเสียหายแก่ผู้ขนส่งแม้ผู้ส่งของจะได้โอนใบตราส่งนั้นให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว แต่ทั้งนี้ผู้ขนส่งยังคงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อบุคคลภายนอกผู้ทรงใบตราส่ง เนื่องจากผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าที่ขนส่งไม่ถูกต้องตรงตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งอันเป็นผลมาจากผู้ส่งของยืนยันให้ผู้ขนส่งบันทึกข้อความที่ไม่ถูกต้องนั้น
จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่งแก่โจทก์ที่ 1 ผู้ขนส่งว่าเป็นไม้เนื้อแข็งแปรรูปจำนวน 5 รายการ รวมทั้งสิ้น 173 มัด รวมน้ำหนักประมาณ 167.244 เมตริกตัน โจทก์ที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 1 บันทึกรายละเอียดของสินค้าตามที่จำเลยได้แจ้งไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยแจ้งน้ำหนักของสินค้าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าน้อยกว่าความจริง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 และสินค้าอื่นซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้ เมื่อความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งโดยตรง กรณีนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายหรือการที่เรือเสียหาย เว้นแต่จะเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น" เมื่อฟังได้ว่าการแจ้งน้ำหนักสินค้าของจำเลยไม่ถูกต้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ความเสียหายที่ฝาระวางบนเรือของผู้ขนส่งหักพังลงมากระแทกกับสินค้าอื่นเสียหายก็มาจากโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ตามพฤติการณ์
จำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งของได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าที่ขนส่งแก่โจทก์ที่ 1 ผู้ขนส่งว่าเป็นไม้เนื้อแข็งแปรรูปจำนวน 5 รายการ รวมทั้งสิ้น 173 มัด รวมน้ำหนักประมาณ 167.244 เมตริกตัน โจทก์ที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยโดยโจทก์ที่ 1 บันทึกรายละเอียดของสินค้าตามที่จำเลยได้แจ้งไว้ มิใช่กรณีที่จำเลยแจ้งน้ำหนักของสินค้าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองผู้ขนส่งบันทึกข้อความนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ส่งของแจ้งน้ำหนักของสินค้าน้อยกว่าความจริง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 และสินค้าอื่นซึ่งไม่ใช่สินค้าตามใบตราส่ง จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 32 มาใช้บังคับได้ เมื่อความเสียหายนั้นเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เรือของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งโดยตรง กรณีนี้จึงต้องบังคับตามมาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นได้รับความเสียหายหรือการที่เรือเสียหาย เว้นแต่จะเป็นเหตุมาจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ส่งของหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ส่งของหรือจากสภาพแห่งของนั้นเอง โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือประเพณีทางการค้าเกี่ยวกับการส่งของนั้น" เมื่อฟังได้ว่าการแจ้งน้ำหนักสินค้าของจำเลยไม่ถูกต้องเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย แต่ความเสียหายที่ฝาระวางบนเรือของผู้ขนส่งหักพังลงมากระแทกกับสินค้าอื่นเสียหายก็มาจากโจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ศาลจึงมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ตามพฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6141/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับขนทางทะเล: ใบตราส่งที่ออกโดยผู้ขนส่งให้ผู้ส่งของต่างจากใบตราส่งที่ออกให้ผู้ขนส่งอื่น
ใบตราส่ง ตามความหมายใน พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 59 วรรคหนึ่ง หมายถึง ใบตราส่งซึ่งออกโดยผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของซึ่งเป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเลเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้ออกใบตราส่งให้แก่บริษัท อ. ผู้ขายสินค้าซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้า ถือเป็นใบตราส่งตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 59 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้ขนส่งอื่น มิใช่คู่สัญญากับผู้ส่งของโดยตรง แต่ได้รับว่าจ้างจากบริษัท น. ผู้ขนส่งอื่นให้ขนส่งสินค้าพิพาทนี้อีกทอดหนึ่ง ดังนั้นใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่บริษัท น. จึงไม่ถือเป็นใบตราส่งตามความหมายแห่งบทบัญญัตินี้ จำเลยที่ 3 จึงไม่สามารถยกข้อความตามใบตราส่งดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ส่งของได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ ผู้ส่งของแสดงความตกลงโดยชัดแจ้ง
ใบตราส่งมีข้อความปรากฏชัดในด้านหน้าว่า ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่อยู่ด้านหลังนี้ ขอให้ผู้ส่งของรับทราบข้อสังเกตเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วย ผู้ส่งของอาจเพิ่มส่วนจำกัดความรับผิดได้โดยแจ้งมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้นและชำระเงินเพิ่มเติมหากจำเป็น ย่อมทำให้ผู้ส่งของทราบดีว่าตนมีทางเลือก 2 ทาง คือ จะยอมรับข้อจำกัดความรับผิดที่มีอยู่ชัดในด้านหลังใบตราส่งหรือจะเพิ่มส่วนจำกัดความรับผิดโดยต้องเสียเงินเพิ่มก็ได้ และปรากฏว่าด้านหน้าใบตราส่งมีช่องสำหรับการแจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง แต่ในช่องดังกล่าวมีข้อความว่า "เอ็นวีดี"(NVD) ซึ่งหมายถึง การไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง โดยมีการแจ้งเฉพาะน้ำหนักสินค้าและมีการคิดค่าระวางตามน้ำหนักที่แจ้ง ซึ่งทำให้ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเติมเท่ากับเป็นการเลือกยอมรับข้อจำกัดความรับผิดหลังใบตราส่ง ถือว่าผู้ส่งของแสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ส่งของสินค้าอันตรายต่อความเสียหายจากการขนส่งทางทะเล กรณีไม่แจ้งลักษณะสินค้า
ประกาศกรมเจ้าท่ากำหนดว่า "สารหรือสิ่งของใดจัดอยู่ในชั้นและประเภทใดให้เป็นไปตาม INTERNATIONAL MARITIME DANGEROUS GOODS CODE (IMDG CODE) ขององค์การทางการค้าระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL MARITIME ORGANIZATION หรือ IMO)" ดังนั้น สิ่งของใดจะเป็นสิ่งของอันตรายบ้างนั้น ก็ต้องเป็นไปตามที่ IMDG CODE กำหนดไว้ที่ประเทศไทยต้องยอมรับในฐานะที่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วย ความปลอดภัยแก่ชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (THE INTERNATIONAL CONVENTION FOR THE SAFETY OF LIFE AT SEA 1974) เมื่อ IMDG CODE ระบุว่า ถ่านที่มาจากพืชเป็นของที่ลุกไหม้ได้โดยธรรมชาติ เพราะสามารถร้อนตัวขึ้นช้า ๆ และติดไฟได้เองในอากาศ ดังนั้น ถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งของที่อาจเกิด อันตรายได้
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของ นั้นด้วย ก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้อง อันจะเป็น การปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกาง ตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกาง เช่น เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่น ๆ ที่โจทก์รับขน ไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของ นั้นด้วย ก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้อง อันจะเป็น การปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกาง ตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกาง เช่น เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่น ๆ ที่โจทก์รับขน ไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ส่งของต้องแจ้งลักษณะอันตรายของสินค้าเพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง หากไม่แจ้งต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น
ประกาศกรมเจ้าท่ากำหนดว่า "สารหรือสิ่งของใดจัดอยู่ในชั้นและประเภทใดให้เป็นไปตาม INTERNATIONALMARITMEDANGEROUSGOODS CODE(IMDGCODE) ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (INTERNATIONALMARITIMEORGANIZATION หรือ IMO)" ดังนั้น สิ่งของใดจะเป็นสิ่งของอันตรายบ้างนั้นก็ต้องเป็นไปตามที่ IMDGCODE กำหนดไว้ที่ประเทศไทยต้องยอมรับในฐานะที่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (THEINTERNATIONALCONVENTIONFORTHESAFETYOFLIFEATSEA1974) เมื่อ IMDGCODE ระบุว่า ถ่านที่มาจากพืชเป็นของที่ลุกไหม้ได้โดยธรรมชาติ เพราะสามารถร้อนตัวขึ้นช้า ๆ และติดไฟได้เองในอากาศ ดังนั้นถ่านไม้โกงกางสินค้าของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งของที่อาจเกิดอันตรายได้
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของนั้นด้วยก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้องอันจะเป็นการปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 มิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกางตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกางเช่นนี้ เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่นที่โจทก์รับขนไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 กำหนดให้ผู้ส่งของมีหน้าที่ต้องทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อบรรจุตามสมควรเพื่อให้ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งต้องแจ้งถึงสภาพอันตรายของสิ่งของนั้นด้วยก็โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ขนส่งได้มีโอกาสดูแลรักษาสินค้าด้วยความระมัดระวังและถูกต้องอันจะเป็นการปกป้องผู้ขนส่งและบุคคลอื่นมิให้ได้รับอันตรายหรือต้องเสียหายจากสิ่งของอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวสิ่งของนั้นเองได้ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 มิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายหีบห่อที่บรรจุถ่านไม้โกงกางตามสมควรเพื่อให้โจทก์ผู้ขนส่งได้รู้ว่าเป็นของอันตราย ทั้งมิได้แจ้งถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้โกงกางให้โจทก์ทราบด้วย คงแจ้งให้โจทก์ทราบแต่เพียงว่าเป็นถ่านไม้โกงกางเช่นนี้ เมื่อถ่านไม้โกงกางเกิดติดไฟขึ้นเองในตู้สินค้าที่บรรจุหีบห่อถ่านไม้โกงกางสินค้าจำเลยที่ 1 จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าในตู้สินค้าอื่นที่โจทก์รับขนไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์