คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ส่งออก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้เสียสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า แม้ผู้นำเข้าจะอ้างว่าไม่ทราบการกระทำของผู้ส่งออก
แม้มาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ประกอบมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และ ข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 จะเพียงแต่ บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้า ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออก ดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติศุลกากรและกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วยการที่บริษัทว.ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุใน ใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ซึ่งการกระทำดังกล่าวผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าตนไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตาม พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 19 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก และผลกระทบต่อหน้าที่เสียภาษีของโจทก์
โจทก์ผลิตน้ำตาลทรายดิบขายให้แก่องค์การคลังสินค้าขายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากรมาตรา 78 และตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 บัญชีท้าย พ.ร.ฎ. บัญชีที่ 1หมวด 1 (7) แต่โดยที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 18) เรื่อง กำหนดหน้าที่ผู้เสียภาษีการค้า ตามมาตรา 78 วรรคสองแห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517 ข้อ 3 ให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าแต่เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรได้มีประกาศดังกล่าวผลักภาระการเสียภาษีการค้าให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1ยอมให้เปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตไปเป็นผู้ส่งออก โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าจากการขายน้ำตาลทรายดิบให้แก่องค์การคลังสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีการค้ากรณีอธิบดีกรมสรรพากรมีประกาศเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก
โจทก์ผลิตน้ำตาลทรายดิบขายให้แก่องค์การคลังสินค้าขายในประเทศโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา78และตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาบัญชีที่1หมวด1(7)แต่โดยที่ได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่18)เรื่องกำหนดหน้าที่ผู้เสียภาษีการค้าตามมาตรา78วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่5กุมภาพันธ์2517ข้อ3ให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ7ของรายรับดังนั้นแม้ว่าโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าแต่เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรได้มีประกาศดังกล่าวผลักภาระการเสียภาษีการค้าให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราร้อยละ7ของรายรับเสียแล้วเท่ากับจำเลยที่1ยอมให้เปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตไปเป็นผู้ส่งออกโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าจากการขายน้ำตาลทรายดิบให้แก่องค์การคลังสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ส่งออกที่แท้จริง: การพิจารณาจากใบแจ้งหนี้และผู้รับชำระเงิน แม้ใบขนสินค้ามิได้ออกในนาม
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (5), (13) และ (14)ผู้ประกอบการซึ่งถือว่าเป็นผู้ส่งออกและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 นั้นหมายความถึงบุคคลที่ขายสินค้าซึ่งส่งออกนอกราชอาณาจักร เพื่อส่งไปต่างประเทศเมื่อปรากฏว่า ก่อนที่จะส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร ผู้ซื้อในต่างประเทศเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในนามของโจทก์ โจทก์เป็นผู้ออกใบแจ้งหนี้ให้แก่ผู้ซื้อในต่าง-ประเทศ ผู้ซื้อในต่างประเทศชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์โดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่เปิดไว้กับธนาคาร ใบกำกับสินค้าและใบตราส่งก็ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ส่งออกโดยโรงงานที่ขายสินค้าให้แก่โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับผู้ซื้อในต่างประเทศ กรณีเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นบุคคลที่ขายสินค้าซึ่งส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ส่งออกซึ่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 การที่ใบขนสินค้าขาออกมิได้จัดทำในนามของโจทก์ แต่จัดทำในนามของโรงงานที่ขายสินค้าให้แก่โจทก์ หรือแม้โจทก์จะมิได้มีหนังสือแต่งตั้งให้โรงงานดังกล่าวจัดทำใบขนสินค้าขาออกแทนโจทก์ ก็ไม่ทำให้โจทก์ไม่ใช่ผู้ส่งออก เพราะการจะเป็นผู้ส่งออกหรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาแล้ว เมื่อโจทก์เป็นผู้ส่งออกตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังวินิจฉัยมา โรงงานดังกล่าวก็หาใช่ผู้ส่งออกไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับการขายสินค้าคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้ากรณีผลักภาระภาษีจากผู้ผลิตไปผู้ส่งออก และดอกเบี้ยที่ต้องชำระ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18)ซึ่งกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรในข้อ 3 ว่า ในกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบ ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับนั้น แม้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับแต่เมื่อกรมสรรพากรจำเลยที่ 1 ได้ประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีเต็มในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้วเท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออก จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ท้องถิ่นที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาคเท่านั้น ส่วนการจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยตรง จำเลยที่ 2 จึงหาต้องรับผิดคืนเงินภาษีแก่โจทก์ไม่ ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องคืนเงินค่าภาษีอากรแก่โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ผู้ต้องเสียภาษีมีสิทธิที่จะเรียกร้องดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ขอคืนได้ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ได้รับคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีการค้าจากประกาศผลักภาระให้ผู้ส่งออก และดอกเบี้ยตามประมวลรัษฎากร
โจทก์เป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวออกจำหน่ายจึงเป็นผู้ประกอบการค้า และน้ำตาลทรายดิบเป็นสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้า แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแต่เมื่อมีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออก เท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออกจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ส่วนท้องถิ่นให้แก่โจทก์ จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาค การจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินโจทก์ ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้รับเงินภาษีอากรคืนได้ดอกเบี้ยด้วยโดยไม่คิดทบต้น แต่มิให้เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงิน เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 ต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 27สิงหาคม 2524 เป็นต้นไป ให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีการค้ากรณีจำเลยเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก และการคิดดอกเบี้ยเงินภาษีที่ได้รับคืน
โจทก์เป็นผู้ผลิตขายน้ำตาลทรายดิบให้องค์การคลังสินค้าภายในประเทศ โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์เสียภาษีการค้า และตาม พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 บัญชีท้าย พระราชกฤษฎีกาบัญชีที่ 1 หมวด 1(7) แต่เนื่องจากได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 18) เรื่องกำหนดหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง กำหนดให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้าในอัตราร้อนละ 7 ของรายรับ ดังนั้น แม้โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแก่จำเลยในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ เมื่อจำเลยได้ประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออกต้องชำระภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละ 7 ของรายรับเสียแล้ว เท่ากับจำเลยยอมเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออก จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้าให้โจทก์ ตามมาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับขณะโจทก์ต้องเสียภาษีอากรกำหนดให้ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่มิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133(พ.ศ. 2516)ข้อ 1(2) กรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไป และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยรับผิดใช้ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งไม่มากกว่าอัตราที่มาตรา 4 ทศ วรรคแรกกำหนดไว้จึงให้จำเลยชดใช้ให้โจทก์ใน อัตราตามที่โจทก์ขอ แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก: จดทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องส่งออกจริง และการประเมินภาษีซ้ำซ้อน
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.728/2522 ข้อ 1(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งที่ ท.872/2523 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 0.75 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จายในแต่ละครั้ง เฉพาะผู้จ่ายเงินและสำหรับการซื้อยางแผ่นหรือยางชนิดอื่น เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก ฯลฯ คำว่า "ผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก" มีความหมายเพียงว่าเป็นผู้ซื้อที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ เท่านั้น หาจำต้องเป็นผู้ส่งออกตามความเป็นจริงไม่ และการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ต้องกระทำขณะจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้า หาใช่กระทำขณะส่งออกไม่เพราะไม่ว่าผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกจะได้ส่งออกสินค้าที่ซื้อมาหรือไม่ ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งอยู่แล้ว
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าการประเมินภาษีนั้นอ้างกฎหมายไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินย่อมสั่ง ยกเลิกการประเมินและทำการประเมินใหม่ได้ ไม่มีกฎหมายห้าม การประเมินครั้งหลังโดยยกเลิกการประเมินครั้งแรกมีผลให้โจทก์เสียภาษีเพียงครั้งเดียว หาใช่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก และการประเมินภาษีซ้ำซ้อน
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.728/2522 ข้อ 1(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งที่ ท.872/2523 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับ หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 0.75 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในแต่ละครั้งเฉพาะผู้จ่ายเงิน และสำหรับการซื้อยางแผ่นหรือยางชนิดอื่น เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก ฯลฯ คำว่า"ผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก" มีความหมายเพียงว่าเป็นผู้ซื้อที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น หาจำต้องเป็นผู้ส่งออกตามความเป็นจริงไม่ และการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้นต้องกระทำขณะจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้า หาใช่กระทำขณะส่งออกไม่เพราะไม่ว่าผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกจะได้ส่งออกสินค้าที่ซื้อมาหรือไม่ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งอยู่แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์แล้วต่อมาเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบว่าการประเมินภาษีนั้นอ้างกฎหมายไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมสั่งยกเลิกการประเมินและทำการประเมินใหม่ได้ ไม่มีกฎหมายห้าม การประเมินครั้งหลังโดยยกเลิกการประเมินครั้งแรกมีผลให้โจทก์เสียภาษีเพียงครั้งเดียวหาใช่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก แม้ยังมิได้ส่งออกสินค้าจริง
คำว่า "เฉพาะกรณีผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออก" ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ท. 728/2522 ข้อ 1(2) และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท. 4/2528 ข้อ 3(2) มีความหมายว่าในกรณีผู้ซื้อซึ่งจดทะเบียนประกอบการค้าเป็นผู้ส่งออกมันสำปะหลังไม่ว่าเป็นหัวหรือจัดทำเป็นผง แป้ง เส้น ก้อน แท่ง ฝอย ชิ้น เม็ด หรือจัดทำในลักษณะอื่น จะต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 0.75 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในแต่ละครั้ง ไม่ว่าผู้ซื้อเป็นผู้ส่งออกนั้นจะได้ส่งออกสินค้าที่ซื้อไว้จริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อและได้จ่ายเงินซื้อแป้งมันสำปะหลังและมันเส้นให้แก่ผู้รับ จึงต้องมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าว แม้โจทก์จะได้จำหน่ายแป้งมันและมันเส้นในประเทศโดยไม่ได้ส่งออกก็ตาม
of 2