พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6131/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ให้เช่าเรือและผู้เช่าช่วงต่อความเสียหายสินค้า: เจ้าของเรือยังคงรับผิดชอบร่วมกับผู้เช่า
ตามแบบสัญญาเช่าเรือมาตรฐานที่บริษัทผู้ขาย (ผู้ส่ง) ลงลายมือชื่อไว้ภายหลังเจรจาตกลงกันถึงเงื่อนไขการขนส่งสินค้าพิพาทกับตัวแทนผู้ขนส่ง และมีการกรอกข้อความต่าง ๆ เกี่ยวกับการขนส่งไว้พร้อมกับมีข้อสัญญามาตรฐานแนบท้ายนั้น ได้มีการระบุไว้ในหัวข้อความรับผิดของเจ้าของเรือข้อ 2 ว่า เจ้าของเรือยังคงต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายของสินค้าที่เรือรับขน และตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 เจ้าของเรือกับจำเลยที่ 4 ผู้เช่าเรือรายแรกก่อนมีการให้จำเลยที่ 2 เช่าช่วงกันต่อไปได้ระบุไว้ว่า ในระหว่างระยะเวลาการเช่า ผู้เช่าเรือสามารถนำเรือออกให้เช่าช่วงต่อไปได้ การส่งมอบเรือที่เช่านั้น จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบเรือที่อยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะรับสินค้า ระวางเรือต้องกวาดสะอาดและไม่มีรูรั่ว แข็งแรงกับเหมาะที่จะให้บริการทุกประการ เจ้าหน้าที่ ลูกเรือ วิศวกรและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงยังต้องเป็นของจำเลยที่ 1 เต็มอัตรา นอกจากนี้ในเงื่อนไขของสัญญาข้อ 1 ระบุไว้ด้วยว่า ระหว่างระยะเวลาการเช่า จำเลยที่ 1 ยังจะต้องจ่ายค่าจ้างและเงินอื่น ๆ ที่ต้องจ่ายแก่ลูกเรือ ต้องชำระค่าประกันภัยเรือ และจะต้องดูแลเรือรวมทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์เรือให้มีประสิทธิภาพสมบูรณ์ และข้อ 8 ระบุไว้ว่า นายเรือซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยเจ้าของเรือจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการบรรทุก การเก็บจัดเรียงสินค้าและลงลายมือชื่อในใบตราส่งสำหรับสินค้าที่ตรงกับบัญชีตรวจนับสินค้าและใบรับขนถ่ายสินค้า และผู้เช่าเรือหรือตัวแทนของผู้เช่าเรือก็มีสิทธิที่จะลงลายมือชื่อในใบตราส่งแทนนายเรือได้ด้วย นอกจากนี้ในข้อ 26 ยังได้ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 1 เจ้าของเรือยังคงต้องรับผิดชอบในการเดินเรือ การประกันภัย ลูกเรือ และเรื่องอื่น ๆ ทั้งหมดเช่นเดียวกับในขณะที่เดินเรือเพื่อประโยชน์ของตนเองอยู่ต่อไป การเช่าเรือดังกล่าวเป็นการเช่าแบบมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ผู้เช่าสามารถนำเรือไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงต่อไปได้อีกเป็นทอด ๆ และรับขนส่งสินค้าได้ โดยเจ้าของเรือเป็นผู้จัดหานายเรือและลูกเรือให้แก่ผู้เช่า หากเกิดความเสียหายกับสินค้าที่บรรทุกอยู่ในเรือ เจ้าของเรือต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของสินค้าหรือผู้รับใบตราส่ง ประกอบกับปรากฏในใบตราส่งว่า ผู้ที่ลงลายมือชื่อในใบตราส่งในช่องที่ผู้ขนส่งต้องลงลายมือชื่อไว้นั้น ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าลงลายมือชื่อไว้ในฐานะตัวแทนของนายเรือ ซึ่งตามปกติแล้วนายเรือย่อมเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของเรือที่แท้จริง จึงต้องมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 ในการทำสัญญารับขนของทางทะเลกับบริษัทผู้ขายซึ่งเป็นผู้ส่ง และแม้มีการให้เช่าช่วงจนถึงทอดสุดท้าย จำเลยที่ 1 ก็ยังเป็นผู้ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในการเดินเรือและในความเรียบร้อยของอุปกรณ์เครื่องจักรและความปลอดภัยในเรือเพื่อการขนส่งสินค้าพิพาท ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทร่วมกับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างหลังสัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิดีกว่าผู้เช่าเดิม เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจฟ้องขับไล่
ในขณะที่มีการจดทะเบียนโอนที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้ขายที่ดิน ที่ดินยังอยู่ระหว่างการเช่า โดยผู้ขายที่ดินได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินให้ ธ. กับพวก มีกำหนดเวลา 20 ปี และมีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ดังนั้น เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าตามที่ได้จดทะเบียนไว้ สิ่งปลูกสร้างในที่ดินจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้รับโอน ธ. กับพวกย่อมหมดสิทธิตามสัญญาเช่าตึกแถวและไม่มีสิทธินำห้องในอาคารตึกแถวให้บุคคลใดเช่าช่วงได้ จำเลยจึงเป็นผู้เช่าช่วงย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้เช่าเดิม ไม่อาจยกการเช่าระหว่างจำเลยกับ ธ. และพวกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องพิพาท การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทต่อมา จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยโดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยและบริวารออกจากห้องพิพาท
การที่โจทก์ไม่แก้อุทธรณ์มีผลเพียงโจทก์ไม่มีประเด็นที่จะฎีกาในชั้นฎีกาเท่านั้น
การที่โจทก์ไม่แก้อุทธรณ์มีผลเพียงโจทก์ไม่มีประเด็นที่จะฎีกาในชั้นฎีกาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีขับไล่, สิทธิเจ้าของร่วม, ความรับผิดของผู้เช่าช่วง
การพิจารณาว่าคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องถือตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสองกล่าวคือ หากมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โดยถือเอาค่าเช่าจริง ๆ ที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ส่วนที่จะฟังว่าอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทนั้น เป็นเรื่องการฟ้องผู้อาศัยหรือบุคคลอื่นซึ่งมิได้กำหนดค่าเช่ากันไว้ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าให้ออกจากตึกแถวพิพาท และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าไว้ในอัตราเดือนละ 100 บาทซึ่งไม่เกินเดือนละสองพันบาท จึงต้องห้ามคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าหากนำตึกแถวและที่ดินไปปรับปรุงแล้วนำออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจะได้ค่าเช่าประมาณอัตราเดือนละ 4,000 บาท นั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายในอนาคตอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทเท่านั้น จะนำมาเป็นเกณฑ์พิจารณาคดีต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ไม่ได้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 เมื่อมีบุคคลภายนอกมายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งอาจฟ้องร้องว่ากล่าวหรือต่อสู้คดีโดยลำพังได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในตึกแถวพิพาทที่ให้จำเลยเช่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป โจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้จำเลยจะไม่ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมคือโจทก์ที่ 1 โดยตรง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 545 ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดและโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยก็มีหน้าที่ต้องส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยยังคงครอบครองตึกแถวพิพาทต่อไปอีกย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทไม่อาจใช้ประโยชน์จากตึกแถวพิพาทได้และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่สามารถส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 เมื่อมีบุคคลภายนอกมายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งอาจฟ้องร้องว่ากล่าวหรือต่อสู้คดีโดยลำพังได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในตึกแถวพิพาทที่ให้จำเลยเช่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป โจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้จำเลยจะไม่ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมคือโจทก์ที่ 1 โดยตรง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 545 ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดและโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยก็มีหน้าที่ต้องส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยยังคงครอบครองตึกแถวพิพาทต่อไปอีกย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทไม่อาจใช้ประโยชน์จากตึกแถวพิพาทได้และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่สามารถส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เช่าช่วงชำระค่าเช่าให้ผู้ให้เช่าเดิมโดยตรง ถือปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้เช่าช่วงไม่ต้องรับผิดต่อผู้เช่าเดิม
โจทก์เป็นผู้เช่าโรงแรม ห้องอาหาร สถานอาบ อบ นวดและสโมสรสนุกเกอร์ จากบริษัท ส. แล้วนำห้องอาหารและตึกแถวให้จำเลยเช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากบริษัท ส. ต่อมาบริษัท ส.ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2532 และให้จำเลยชำระค่าเช่าแก่บริษัท ส. ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ชำระค่าเช่าให้แก่บริษัท ส.ตามที่บริษัท ส.เรียกร้อง ถือได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในการชำระหนี้ค่าเช่าถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 545 ที่กำหนดให้ผู้เช่าช่วงต้องรับผิดชำระค่าเช่าต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรงแล้ว จำเลยไม่ได้ค้างชำระค่าเช่าและมิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าช่วงและบริวารในสัญญาเช่า เมื่อสัญญาเช่าเดิมสิ้นสุดลง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เช่าที่ดินและตึกแถวจากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ยอมออกจากตึกแถวพิพาท จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ให้โจทก์ส่วนจำเลยที่ 3เป็นเพียงคู่สัญญาเช่าช่วงกับจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2ไม่มีสิทธิให้เช่าช่วง จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิใช้ประโยชน์ในตึกแถวพิพาท และจำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาเช่ากับโจทก์แต่เป็นเพียงบริวารของผู้เช่า จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สิทธิผู้เช่าช่วง การบอกเลิกสัญญา และอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดิน
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ นั้น กฎหมายประสงค์ให้ความคุ้มครองถึงผู้เช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าด้วย นาย ท.บิดานาย ป.เช่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ถึง 298 ไร่ จากนาง จ.มารดาโจทก์มาตั้งแต่ปี 2500 ทั้งผู้เช่าช่วงจากนาย ป.ก็เป็นผู้เช่าช่วงชุดเดิมจากนาย ท. ยิ่งกว่านี้ในสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับนาย ป.ยังขีดข้อความว่า"จะไม่เอาที่ดินที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไป" ออก และมีลายเซ็นชื่อของโจทก์กำกับไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้นาย ป.นำที่ดินพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงนาย ป.จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สัญญาเช่ากำหนด 1 ปีก็ต้องถือว่ามีกำหนด 6 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่า
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านาย ป.เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเกษตรกรรมแล้วจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัด จำเลยที่ 4ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของนาย ป. การที่จำเลยที่ 4 ได้รับคำร้องของ นาย ป.โดยมีภาพถ่ายสัญญาเช่าและหนังสือบอกเลิกการเช่าแนบมาด้วยแล้วมีความเห็นว่า การบอกเลิกการเช่าเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 31, 34,36 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากการบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ได้แจ้งเหตุผลตามมาตรา 36 และโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่าต่อจำเลยที่ 4 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์มาชี้แจง เพราะตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติให้อำนาจซึ่งอยู่ในดุลพินิจว่าจะใช้อำนาจหรือไม่ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลหรือจังหวัดต้องเรียกผู้ให้เช่ามาชี้แจง ยิ่งกว่านี้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลได้วินิจฉัยลงมติเป็นเอกฉันท์โดยให้เหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าการบอกเลิกการเช่าของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การพิจารณาของจำเลยที่ 4 จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้จะเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของนายเทียนชัยกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลที่ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์แล้วปล่อยเรื่องทิ้งไว้เป็นปีจนกระทั่งย้ายไปรับราชการที่อื่น ไม่ดำเนินการส่งคำอุทธรณ์ไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับคำอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตามมาตรา 56 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลตกไปหรือไม่มีผลบังคับหรือขาดอายุความ กำหนด15 วันดังกล่าวจึงเป็นแต่เพียงมุ่งหมายที่จะให้ดำเนินการไปโดยรวดเร็วไม่ชักช้าเท่านั้น หาได้มีผลทำให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านาย ป.เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเกษตรกรรมแล้วจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัด จำเลยที่ 4ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของนาย ป. การที่จำเลยที่ 4 ได้รับคำร้องของ นาย ป.โดยมีภาพถ่ายสัญญาเช่าและหนังสือบอกเลิกการเช่าแนบมาด้วยแล้วมีความเห็นว่า การบอกเลิกการเช่าเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 31, 34,36 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากการบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ได้แจ้งเหตุผลตามมาตรา 36 และโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่าต่อจำเลยที่ 4 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์มาชี้แจง เพราะตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติให้อำนาจซึ่งอยู่ในดุลพินิจว่าจะใช้อำนาจหรือไม่ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลหรือจังหวัดต้องเรียกผู้ให้เช่ามาชี้แจง ยิ่งกว่านี้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลได้วินิจฉัยลงมติเป็นเอกฉันท์โดยให้เหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าการบอกเลิกการเช่าของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การพิจารณาของจำเลยที่ 4 จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้จะเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของนายเทียนชัยกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลที่ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์แล้วปล่อยเรื่องทิ้งไว้เป็นปีจนกระทั่งย้ายไปรับราชการที่อื่น ไม่ดำเนินการส่งคำอุทธรณ์ไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับคำอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตามมาตรา 56 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลตกไปหรือไม่มีผลบังคับหรือขาดอายุความ กำหนด15 วันดังกล่าวจึงเป็นแต่เพียงมุ่งหมายที่จะให้ดำเนินการไปโดยรวดเร็วไม่ชักช้าเท่านั้น หาได้มีผลทำให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่านาเพื่อเกษตรกรรม สิทธิผู้เช่าช่วง และอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดิน
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ นั้น กฎหมายประสงค์ให้ความคุ้มครองถึงผู้เช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าด้วย นายท.บิดานาย ป.เช่าที่ดินพิพาทเนื้อที่ถึง298 ไร่ จากนาง จ. มารดาโจทก์มาตั้งแต่ปี 2500 ทั้งผู้เช่าช่วงจากนายป.ก็เป็นผู้เช่าช่วงชุดเดิมจากนาย ท. ยิ่งกว่านี้ในสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับนายป.ยังขีดข้อความว่า "จะไม่เอาที่ดินที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไป" ออก และมีลายเซ็นชื่อของโจทก์กำกับไว้ด้วย แสดงให้เห็นว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมให้นายป.นำที่ดินพิพาทไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงนายป.จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว สัญญาเช่ากำหนด 1 ปีก็ต้องถือว่ามีกำหนด 6 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านาย ป.เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเกษตรกรรมแล้วจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัด จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของนาย ป. การที่จำเลยที่ 4 ได้รับคำร้องของนายป.โดยมีภาพถ่ายสัญญาเช่าและหนังสือบอกเลิกการเช่าแนบมาด้วยแล้วมีความเห็นว่าการบอกเลิกการเช่าเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 31,34,36 แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว เนื่องจากการบอกเลิกการเช่าของโจทก์ไม่ได้แจ้งเหตุผลตามมาตรา 36 และโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่าต่อจำเลยที่ 4 แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์มาชี้แจง เพราะตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติให้อำนาจซึ่งอยู่ในดุลพินิจว่าจะใช้อำนาจหรือไม่ หาใช่เป็นบทบัญญัติบังคับคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลหรือจังหวัดต้องเรียกผู้ให้เช่ามาชี้แจง ยิ่งกว่านี้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลได้วินิจฉัยลงมติเป็นเอกฉันท์โดยให้เหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าการบอกเลิกการเช่าของโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การพิจารณาของจำเลยที่ 4จึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของนายเทียนชัยกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลที่ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์แล้วปล่อยเรื่องทิ้งไว้เป็นปีจนกระทั่งย้ายไปรับราชการที่อื่น ไม่ดำเนินการส่งคำอุทธรณ์ไปภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันรับคำอุทธรณ์ก็ตาม แต่ตามมาตรา 56วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตำบลตกไปหรือไม่มีผลบังคับหรือขาดอายุความ กำหนด 15 วันดังกล่าวจึงเป็นแต่เพียงมุ่งหมายที่จะให้ดำเนินการไปโดยรวดเร็วไม่ชักช้าเท่านั้น หาได้มีผลทำให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการคุ้มครองสิทธิผู้เช่าช่วง สิทธิการเช่ายึดได้เฉพาะลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 จะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 55 ด้วย ในชั้นนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้นำยึดสิทธิการเช่าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิการเช่าของผู้ร้องตามสัญญาเช่าที่ทำกับจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าช่วง ดังนี้ยังไม่มีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดสิทธิการเช่าช่วง: สิทธิของผู้เช่าช่วงเมื่อเจ้าหนี้ยึดสิทธิการเช่าของผู้ให้เช่าช่วง
แม้ผู้ร้องจะมีสิทธิการเช่าอาคารตามสัญญาเช่าที่ทำกับจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าช่วงก็ตาม ในการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึด สิทธิ การเช่าอาคารดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม คำพิพากษา นั้นหาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิการเช่าของผู้ร้องแต่ ประการ ใด ไม่จึงยังไม่ได้มีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าและสิทธิการค้าในที่เช่า: การกระทำของผู้เช่าช่วงไม่เป็นละเมิดต่อผู้รับโอน
การที่ผู้เช่าอนุญาตให้จำเลยเข้าไปทำการค้าในตึกแถวพิพาทเป็นการอาศัยสิทธิของผู้เช่าซึ่งไม่ปรากฏว่าไม่สุจริตอย่างไร ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์ผู้รับโอนตึกแถวพิพาท จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)