พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อบริษัทคล้ายกันจนน่าจะลวงประชาชน ละเมิดสิทธิในนาม, ผู้เริ่มก่อการรับผิดค่าเสียหายเฉพาะช่วงก่อนจดทะเบียนนิติบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้วแม้โจทก์ที่2จะมิได้ฟ้องจำเลยที่1และที่2ทันทีหลังจากที่จำเลยที่1จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตามก็หาทำให้โจทก์ที่2เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่1และที่2ไปไม่การที่โจทก์ที่2ฟ้องจำเลยที่1และที่2จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ที่2จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียลเต็ลแล็ปปิดารี่จำกัดและมีชื่อภาษาอังกฤษว่าORIENTALCAPIDARYCOMPANYLIMITEDส่วนจำเลยที่1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2530โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่จำกัดมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าORIENTALGEMESLAPIDARYCOMPANYLIMITEDแม้ชื่อของโจทก์ที่2มีสองคำส่วนชื่อของจำเลยที่1มีสามคำก็ตามแต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เป็นคำเดียวกันคือคำว่า"โอเรียนเต็ล"และ"ORIENTAL"ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่2กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่1นั้นแม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่2สะกดว่า"แล็ปปิดารี่"ส่วนของจำเลยที่1สะกดคำว่า"แล็ปปิดารี่"ก็ตามแต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ"LAPIDARY"ชื่อของโจทก์ที่2และจำเลยที่1คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่1มีคำว่า"เจมส์"อยู่ตรงกลางโดยชื่อของโจทก์ที่2ไม่มีคำกล่าวเท่านั้นบุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่2และชื่อของจำเลยที่1ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกันโจทก์ที่2และจำเลยที่1ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกันทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกันโดยจำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่2เป็นเวลาถึง10ปีการกระทำของจำเลยที่1โดยจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่2ซึ่งจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420และจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ที่2นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่2จากการที่จำเลยที่1ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่2เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่2ได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มก่อกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้วอันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้นเมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้วบริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการเลิกสัญญาและการคืนสู่สภาพเดิม ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัท และดอกเบี้ยจากการใช้สิทธิเลิกสัญญา
โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยระบุเหตุชัดแจ้งทั้งในเรื่องจำเลยมิได้จัดให้มีไฟฟ้าและประปาตามแบบแปลนท้ายสัญญาและยังอ้าง งื่อนไขตามสัญญาข้อ6เรื่องการสร้างโรงภาพยนต์ชัดแจ้งทั้งเหตุที่โจทก์อ้างดังกล่าวชี้ระบุไว้ชัดแจ้งในสัญญาซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนแล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญา ชอบที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จำต้องชำระเงินค่างวดแก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกร้องและมิพักต้องคำนึงว่าข้อกำหนดแห่งการชำระเงินค่างวดตามสัญญา เป็นข้อสำคัญหรือไม่ ขณะที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาฉบับพิพาทกับโจทก์นั้นยังอยู่ในระยะเวลาดำเนินการก่อตั้งและขอจดทะเบียนจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนได้ทำขึ้นจนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1113 แต่เมื่อยังไม่มีการอนุมัติสัญญาฉบับพิพาทในการประชุมตั้งบริษัท แม้จะมีการจดทะเบียนบริษัทจำเลยที่ 1และภายหลังจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาฉบับพิพาทแล้วก็ตาม ก็ยังไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดดังกล่าวได้ และความรับผิดของจำเลยที่ 2ดังกล่าวนี้ เป็นผลเกิดจากเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 391 กล่าวคือเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาฉบับพิพาทต่อจำเลยที่ 1 ในฐานะคู่สัญญาแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ความรับผิดดังกล่าวเกิดขึ้นทันทีโดยมิพักต้องอาศัยการบอกกล่าวอีก ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งจำเลยที่ 2 จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วยการใช้เงินคืนแก่โจทก์โดยให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391ซึ่งเป็นการทดแทนความเสียหายอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมหาใช่หนี้ดอกเบี้ยค้างส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166(เดิม) ไม่ โจทก์มีพยานเอกสารคือบันทึกการรับเช็คท้ายสัญญาฉบับพิพาทซึ่งปรากฏเหตุการณ์รับเช็คเป็นลำดับต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับเช็คและการเปลี่ยนเช็คสำหรับค่างวดแรกต่อท้ายด้วยบันทึกการรับเช็คสำหรับเงินค่างวดที่สอง โดยมีลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปรากฏเป็นผู้รับทุกลำดับต่อเนื่องกันมา การบันทึกยอมรับเช็คสำหรับเงินค่างวดโดยไม่ปรากฏมีข้อทักท้วง สงวนหรืออิดเอื้อนเกี่ยวกับเงินงวดแรกดังที่ปรากฏ ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้รับเงินงวดแรกไปเรียบร้อยแล้ว หนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ค้างมีข้อความชัดแจ้งว่าเป็นการทวงถามเงินค่างวดที่สองและต่อจากนั้นโดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในเอกสารดังกล่าว แสดงว่าโจทก์มิได้ค้างชำระเงินงวดแรก คำให้การจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงยืนยันปฏิเสธแต่เพียงว่าไม่ได้รับชำระเงินงวดที่สอง เป็นการยอมรับว่าได้รับเงินงวดแรกแล้วจริงตามฟ้องโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ให้การต่อสู้ในเรื่องรับเงินนี้แต่เพียงว่าไม่รับรองความถูกต้องเท่านั้น หาได้ปฏิเสธว่าไม่ได้รับเงินตามฟ้องโดยชัดแจ้งไม่และในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่าเช็ค จ.10 และ จ.11 ตลอดจนเช็คชำระเงินงวดที่สองมีการเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2 ได้แล้วจริงดังนี้แม้เช็คเอกสาร จ.10 และ จ.11 จะมีจำนวนเงินและวันเวลาไม่สอดคล้องกับที่ปรากฏในบันทึกการรับเช็คก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ให้การและนำสืบรับดังกล่าวข้างต้น ข้อดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้อปลีกย่อยในพลความที่มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นพิพาทในคดีมาตั้งแต่ต้น ไม่อาจมีผลเปลี่ยนคำรับของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อนจดทะเบียนบริษัท การผูกพันนิติบุคคล และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ก่อนบริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อ.ได้ตกลงให้โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในให้บริษัทจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 นั่งร่วมปรึกษาหารือ ทั้งเมื่อโจทก์ได้ออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นงานของจำเลยที่ 1 ตามความต้องการของ อ.และจำเลยที่ 2 อ.ก็ได้อนุมัติแบบตกแต่ง ถือว่า อ.และจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานสาขาของบริษัทจำเลยที่ 1และถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1ทั้งก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารเพื่อทำเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล และต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ได้ใช้สถานที่ซึ่งโจทก์ออกแบบตกแต่งภายในและควบคุมการก่อสร้างเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 แสดงว่าที่ประชุมตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1113
โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 19สิงหาคม 2530 ตามหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 29 สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 30สิงหาคม 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น
โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 19สิงหาคม 2530 ตามหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 29 สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 30สิงหาคม 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเงินให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อนจดทะเบียนบริษัท: ผลผูกพันต่อบริษัทที่จัดตั้งภายหลัง และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ก่อนบริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อ. ได้ ตกลงให้โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในให้บริษัทจำเลยที่ 1โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นกรรมการของ จำเลยที่ 1 นั่งร่วมปรึกษาหารือ ทั้งเมื่อโจทก์ได้ออกแบบ ตกแต่งภายใน ซึ่งเป็นงานของจำเลยที่ 1 ตามความต้องการของ อ.และจำเลยที่2อ.ก็ได้อนุมัติแบบตกแต่ง ถือว่า อ. และจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่ง ภายในสำนักงานสาขาของบริษัทจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1 ทั้งก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำ สัญญาเช่าอาคารเพื่อทำเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล และต่อมาเมื่อ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็ได้ใช้สถานที่ซึ่ง โจทก์ออกแบบตกแต่งภายในและควบคุมการก่อสร้างเป็น สำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 แสดงว่าที่ประชุมตั้ง บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพัน จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็น กรรมการของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1113 โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยได้รับเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2530 ตามหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 29สิงหาคม 2530 เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยชำระเงิน ให้โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันของนิติบุคคลใหม่ต่อสัญญาที่ผู้เริ่มก่อการทำไว้ก่อนจดทะเบียน และความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ
ในขณะอ.และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันว่าจ้างโจทก์ออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานสาขาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยังไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วได้ใช้สถานที่ซึ่งโจทก์ออกแบบตกแต่งภายในนั้นเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าที่ประชุมตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันสัญญาว่าจ้างที่จำเลยที่ 2 ได้ทำไว้กับโจทก์ สัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว จึงพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1113 จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินค่าว่าจ้างให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัทจำกัดต่อหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทอื่น
จำเลยที่2ถึงที่8ได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิเพื่อก่อตั้งบริษัทเบต้าทัวร์จำกัดต่อมาไม่ปรากฏว่าบริษัทหรือผู้เริ่มก่อการดังกล่าวได้ประกอบกิจการค้าแต่อย่างใดหลังจากนั้น6เดือนเศษจำเลยที่6กับพวกได้จดทะเบียนบริษัทเบต้าเทรเวลเซอร์วิสจำกัดจำเลยที่1ถูกต้องตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่6เป็นกรรมการผู้จัดการในการดำเนินกิจการของจำเลยที่1นั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2,3,4และ8ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยจำเลยที่6สั่งซื้อตั๋วเครื่องบินจากโจทก์ภายหลังที่จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่1แล้วเช็คที่สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่โจทก์ก็เป็นเช็คที่จำเลยที่6กับพวกลงชื่อสั่งจ่ายในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่1ทั้งสิ้นเมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2,3,4และ8ร่วมรับผิดมิใช่หนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานจัดตั้งบริษัทเบต้าทัวร์จำกัดและมิใช่หนี้ที่จำเลยที่6ก่อขึ้นโดยจำเลยที่2,3,4และ8มอบหมายหรือรู้เห็นยินยอมให้กระทำกรณีจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะให้จำเลยที่2,3,4และ8ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เริ่มก่อการบริษัทต้องรับผิดร่วมกับหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการก่อนจดทะเบียน
การที่จำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่1 และที่ 2 ใช้ชื่อบริษัทนครหลวงรถเมล์เล็ก จำกัด ตลอดจนเครื่องหมายของบริษัทและหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทดังกล่าวติดที่ข้างรถจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นการยอมให้รถจำเลยที่ 2 เดินรับส่งคนโดยสารในนามของบริษัทฯ และถือได้ว่า เป็นการยอมรับต่อบุคคลภายนอกว่า รถของจำเลยที่ 2 เป็นรถของบริษัทนั้นเอง เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ แม้บริษัทนครหลวงรถเมล์เล็ก จำกัด ดังกล่าวยังมิได้จดทะเบียน ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลก็ตาม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการบริษัทก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 1113 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะ
บรรยายฟ้องว่า บริษัทจำกัดทำละเมิด ต่อมาภายหลังปรากฏว่าบริษัทนั้นยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ก็ขอให้ศาลเรียกผู้เริ่มก่อการและเป็นหุ้นส่วนในบริษัทนั้นเข้ามาเป็นจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว ในฐานะผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้นได้ ไม่ทำให้คำฟ้องเคลือบคลุมประการใด เพราะคำฟ้องยังใช้ได้อยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172
บริษัทที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้น หากทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นในนามบริษัทขึ้น ผู้เริ่มก่อการก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอยู่จนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทจะได้มีอนุม้ติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว
จดทะเบียนเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นผู้ถือหุ้นในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องจดทะเบียน ณ หอทะเบียนแห่งเดียวกันนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1016 วรรค 2
บริษัทที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้น หากทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นในนามบริษัทขึ้น ผู้เริ่มก่อการก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอยู่จนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทจะได้มีอนุม้ติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว
จดทะเบียนเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นผู้ถือหุ้นในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องจดทะเบียน ณ หอทะเบียนแห่งเดียวกันนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1016 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัทจำกัดที่ยังมิได้จดทะเบียน
ฟ้องว่า บริษัทจำกัดทำละเมิด ภายหลังปรากฏว่าบริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ก็ขอให้ศาลเรียกผู้เริ่มก่อการเข้ามาเป็นจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวตาม มาตรา 1113 ได้
จดทะเบียนเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นผู้ถือหุ้นตามหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องจดทะเบียน ณ หอทะเบียนแห่งเดียวกันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1016 วรรคสอง
จดทะเบียนเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นผู้ถือหุ้นตามหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องจดทะเบียน ณ หอทะเบียนแห่งเดียวกันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1016 วรรคสอง