คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้เสนอราคา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประกาศประกวดราคาและข้อจำกัดสิทธิในการเลือกซื้อสินค้าของผู้เสนอราคา
ข้อความในหนังสือประกาศประกวดราคาระบุว่า ผู้ซื้อไม่ผูกพันที่จะตัดสินเข้าทำสัญญาซื้อขายกับผู้เสนอราคาต่ำสุด การเสนอราคาเพียงบางส่วนของหนึ่งรายการจะไม่ได้รับการพิจารณา การเสนอราคาจะพิจารณาตัดสินจากหลักว่าเป็นไปตามสเปค ราคา กำหนดการส่งของและความต้องการอื่น ๆ ไม่มีข้อความตอนใดระบุว่า โจทก์มีสิทธิเลือกซื้อสินค้าเพียงบางรายการ ข้อความในประกาศดังกล่าวเขียนไว้ชัดเจน จึงไม่มีกรณีที่จะต้องตีความ และหากเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยก็จะต้องตีความข้อความในประกาศประกวดราคาไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11
คำฟ้องของโจทก์ โจทก์ยกข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงข้อเดียวว่า จำเลยผิดสัญญาตามประกาศประกวดราคา มิได้ยกข้ออ้างตามที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์และจำเลยเคยตกลงทำสัญญาซื้อขายกันตามประกาศประกวดราคาดังกล่าวมาแล้วโดยจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิเลือกซื้อสินค้าจากจำเลยเพียงบางรายการได้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้เสนอราคาสูงกว่าย่อมมีสิทธิคัดค้านได้หากการขายไม่ชอบ
ปัญหาว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีนี้หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีไม่มีประเด็นพิพาทในปัญหาดังกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกปัญหาขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวแทน ถือว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 146 หากเป็นความจริงดังที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคาะไม้ขายทอดตลาดให้แก่ผู้เข้าสู้ราคาในราคา 25,300,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ผู้ร้องเสนอราคาเป็น25,400,000 บาท และได้เคาะไม้โดยไม่นับ 1 ถึง 3 ก่อน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์นั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเอกสารประกวดราคา: เจตนาของผู้เสนอราคาและผู้รับซองสำคัญกว่าถ้อยคำ
เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้เป็น 2 นัยนัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล และในการตีความแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร เมื่อตามประกาศของจำเลยที่ 1 เรื่องการประกวดราคาเช่าสะพานท่าเทียบเรือวางเงื่อนไขไว้ว่า ผู้ยื่นซองจะต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้น และโจทก์จำเลยทั้งสามต่างก็ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้เสนอราคามาโดยตลอดดังนั้น ข้อความในใบเสนอการประกวดราคาที่ระบุว่า "ข้าพเจ้าบ. ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงน้ำแข็งเฉลิมพล... ขอเสนอการประกวดราคาการเช่าสะพานท่าเทียบเรือ..." จึงต้องถือว่าบ. เสนอราคาในนามของโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคล มิใช่เสนอราคาในฐานะส่วนตัว เพราะหากถือว่า บ. เสนอราคาในฐานะส่วนตัว ย่อมทำให้การเสนอราคาไร้ผลและขัดเจตนาของคู่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาด: ศาลยืนตามราคาประมูลเดิม แม้มีผู้เสนอราคาสูงกว่า แต่ไม่ทันการประมูล และไม่มีพฤติการณ์ไม่สุจริต
ในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี มีผู้เข้าสู้ราคาโดยชอบและไม่ปรากฏพฤติการณ์ ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตหรือฝ่าฝืนกฎหมาย จึงมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแก่ผู้สู้ราคาสูงสุด ดังนี้ ถือว่าการขายทอดตลาดสมบูรณ์แล้วโจทก์จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดใหม่โดยอ้างว่าราคาที่ขายได้ต่ำกว่าราคาเป็นจริง และราคาประเมินของกรมที่ดินหรือราคาที่โจทก์รับจำนองไว้จากจำเลย และมีผู้จะซื้อในราคาสูงกว่าหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้ซื้อรายใหม่ในคดีบังคับคดี: ผู้เสนอราคาใหม่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ยอมรับข้อเสนอ
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้มีการขายทอดตลาดใหม่ อ้างว่าคำสั่งให้ขายทรัพย์สินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างพิจารณาของศาลจำเลยนำ ป. ผู้ซื้อรายใหม่มาแถลงว่าจะขอสู้ราคาสูงกว่าที่ขายทอดตลาดได้ เพื่อเป็นประกันว่าจะเข้าสู้ราคา ป. จะจัดหาธนาคารมาค้ำประกัน ต่อมา ป.ไม่สามารถจัดหาธนาคารมาค้ำประกันได้ ศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จึงไม่มีการขายทอดตลาดใหม่ ป. ไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีและไม่ใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ขายทอดตลาดใหม่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ป.จึงไม่ถูกต้อง ไม่ก่อให้ ป. มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของ ป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลภาครัฐ: สิทธิของผู้เสนอราคาเมื่อหน่วยงานรัฐไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการทำสัญญา และพิสูจน์ได้ว่าผู้เสนอราคารับทราบข้อตกลงล่าช้า
การประกวดราคาก่อสร้างอาคารเรียนของจำเลย ปรากฏว่าเมื่อเปิดซองประมูลโจทก์เป็นผู้ประมูลในราคาต่ำสุด แต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาก่อสร้างดังกล่าว จำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจำเลยมีสิทธิจะตกลงจ้างผู้ยื่นซองประกวดราคารายใดก็ได้ไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างผู้เสนอราคาต่ำเสมอไป จะจ้างผู้รับเหมารายเดียวกันหรือแยกจ้างหลายรายหรือจะไม่ตกลงจ้างทุกรายก็ได้ในเมื่อมีเหตุอันสมควร จึงยังถือไม่ได้ว่า โจทก์ผู้เสนอราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ประมูลได้
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ้างโจทก์เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2525 และโดยที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาข้อ 6 มีว่า 'ฯลฯ ผลการประกวดราคาไม่ผูกพันว่าจังหวัดจะต้องแจ้งให้ผู้ยื่นซองประกวดราคาทราบ เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ยื่นซองประกวดราคาจะต้องติดต่อสอบถาม หรือดูประกาศผลการประกวดราคาเอง' ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องแจ้งผลการประกวดราคาให้โจทก์ทราบ จึงถือได้ว่าโจทก์ทราบว่าตนชนะการประกวดราคาเป็นผู้ประมูลได้ในวันที่ 6กรกฎาคม 2525
เมื่อโจทก์ทราบว่าตนประมูลได้แล้ว การมาทำสัญญาต้องบังคับตามประกาศประกวดราคาข้อ 10 ซึ่งระบุว่า 'ผู้ยื่นซองประกวดราคาได้ต้องมาทำสัญญาจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทางราชการแจ้งให้ทราบ ฯลฯ' โจทก์ได้รับจดหมายของจำเลยให้ไปทำสัญญาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525 ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือขอทำสัญญากับจำเลยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2525 ก่อนได้รับจดหมายของจำเลย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประกวดราคาและทิ้งงาน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ข้อนี้เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกวดราคา: ผู้เสนอราคาที่ประมูลได้มีหน้าที่ผูกพันตามสัญญา และต้องรับผิดชอบค่าเสียหายหากไม่ทำสัญญา
จำเลยทราบข้อสัญญาการประกวดราคาตามประกาศเรียกประกวดราคาของโจทก์แล้ว จึงยื่นซองประกวดราคา เมื่อจำเลยประมูลได้ ก็ต้องผูกพันตามสัญญานั้น โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยประมูลได้แล้วไม่มาทำสัญญาก่อสร้าง จำเลยรับว่าได้ยื่นซองเสนอราคาจริง แต่อ้างว่าจำเลยไม่ผูกพันตามสัญญาดังนี้ ประเด็นที่ว่าคำเสนอของจำเลยยังคงผูกพันจำเลยหรือไม่ จำเลยต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
จำเลยประมูลทำการก่อสร้างได้แล้วไม่ยอมทำสัญญาก่อสร้างเมื่อกรณีนี้ตามสัญญาประกวดราคาระบุให้จำเลยผู้ประกวดราคาต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำงานนี้ในราคาสูงกว่าที่จำเลยเสนอราคา จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญา