พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810-2811/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถไฟ: จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อไม่ได้นำแผงกั้นลง ผู้ตายไม่ได้ประมาท
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่นำแผงเครื่องกั้นรถไฟลงเมื่อรถไฟแล่นผ่าน แต่ในขณะเกิดเหตุเมื่อรถไฟแล่นมาถึงจำเลยที่ 1 มิได้นำแผงเครื่องกั้นรถไฟลงแต่อย่างใด เมื่อรถยนต์ที่ผู้ตายขับแล่นผ่านไปจึงเป็นเหตุให้ถูกรถไฟชน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ และโดยปกติแล้วผู้ขับรถยนต์ทั่วไปเมื่อผ่านบริเวณรางรถไฟ หากไม่มีแผงเครื่องกั้นรถไฟปิดกั้นและปรากฏสัญญาณไฟและเสียงสัญญาณเตือนแล้วก็จะขับรถผ่านไปตามปกติ หากมีการนำแผงเครื่องกั้นรถไฟลง รถยนต์ที่ผ่านมาก็จะหยุดให้รถไฟผ่านไปก่อน แต่จากสภาพที่เกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน มีป้อมสำหรับพนักงานรถไฟและต้นไม้บังอยู่ ประกอบกับมีแสงไฟสว่างบดบังบริเวณนั้น จึงน่าจะทำให้ผู้ตายไม่อาจทราบได้ว่ารถไฟกำลังแล่นมาจึงขับรถยนต์ผ่านไปตามปกติ การกระทำของผู้ตายจึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อคงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยหลังผู้เอาประกันเสียชีวิต และอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อผู้รับประกันภัย
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้โดยในกรมธรรม์ระบุวันทำสัญญาประกันภัยเป็นวันหลังจากที่ พ.ถึงแก่ความตายแต่ระบุชื่อผู้เอาประกันคือพ. หลังจากพ.ถึงแก่กรรมจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกของพ.ได้ดำเนินกิจการแทน พ.และได้จ้างอ.เป็นลูกจ้าง และในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย อ. ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแม้ พ. ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนวันที่ทำสัญญาประกันภัยก็ตาม แต่เมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้วจำเลยที่ 2 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการที่รถยนต์บรรทุกสินค้าที่รับประกันภัยไว้เสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้แก่จำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. เป็นผู้ทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนกับจำเลยที่ 2 โดยตรงเหตุที่กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า พ.เป็นผู้เอาประกันภัยเป็นเรื่องผิดพลาดไป หรือเป็นการเข้าใจผิดของคู่กรณีเท่านั้น หาได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำสัญญาประกันภัยต่อกันไม่ ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องให้จำเลยที่ 2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถที่รับประกันภัยไว้ได้ก่อให้เกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้ ปัญหาว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้หรือไม่ และจำเลยที่ 2ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 30,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน50,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 1และที่ 2 แต่ละคนจึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งแม้ศาลฎีกาจะเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2ก็วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อัตราค่าทนายความตามตาราง 6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ว่าทุนทรัพย์เกิน 25,000 บาท อัตราค่าทนายความในศาลชั้นต้นขั้นสูงร้อยละ 5 นั้น การกำหนดค่าทนายความดังกล่าวคิดจากทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้อง หาใช่คิดจากจำนวนที่ศาลพิพากษาให้ไม่ เพราะมิฉะนั้นแล้งหากศาลพิพากษายกฟ้องจะกำหนดค่าทนายความให้ไม่ได้เลย เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 จำนวน 40,000 บาทและโจทก์ที่ 2 จำนวน 521,700 บาท การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจำนวน 25,000 บาทจึงไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด แต่ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งสองรวมกันมาโดยไม่ได้แยกว่าให้ใช้แทนโจทก์คนไหนเท่าใดและให้จำเลยที่ 2ร่วมใช้แทนด้วยทั้งหมดเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาจะซื้อขายหลังผู้จะซื้อเสียชีวิต: สิทธิเรียกร้องของกองมรดกต่อคู่สัญญา
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้ทนายความทำหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาท และตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่าง พ.กับจำเลยระบุว่า คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 เมื่อถึงกำหนดนัด พ.ไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดนัด คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ จึงเป็นการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ผิดจากข้อเท็จจริงในสำนวน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การ แม้จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็น ตามป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสี่ ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่าง พ.กับจำเลย กำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 พ.ถึงแก่ความตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น สิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวย่อมเป็นกองมรดกของ พ.ผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600 การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดก การที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้ พ.ไปดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหลังจาก พ.ถึงแก่ความตายแล้ว จึงย่อมไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
แม้โจทก์จะไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย แต่โจทก์ก็ดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยในฐานะคู่สัญญากับ พ.ปฏิบัติตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การ แม้จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็น ตามป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสี่ ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่าง พ.กับจำเลย กำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 พ.ถึงแก่ความตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น สิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวย่อมเป็นกองมรดกของ พ.ผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600 การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดก การที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้ พ.ไปดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหลังจาก พ.ถึงแก่ความตายแล้ว จึงย่อมไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
แม้โจทก์จะไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย แต่โจทก์ก็ดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยในฐานะคู่สัญญากับ พ.ปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายสำหรับผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และค่ารักษาพยาบาล
กรณีเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะทำให้เขาถึงตายตาม ป.พ.พ.มาตรา 443 ซึ่งได้แก่ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ และค่าใช้จ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 ในกรณีทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้น แม้จะได้ความว่าหน่วยราชการต้นสังกัดที่ผู้ตายทำงานอยู่ได้ทดรองจ่ายค่าปลงศพและค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้มีสิทธิรับไปแล้ว ก็หาทำให้ผู้กระทำละเมิดต่อผู้ตายพ้นความรับผิดไปไม่ โจทก์ได้รับบาดแผลฉีกขาดที่แก้มขวา เมื่อรักษาแผลหายแล้วจะมีรอยแผลเป็นที่แก้มขวาทำให้เสียโฉม จะทำให้หายได้ก็โดยทำศัลยกรรมตกแต่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้จะยังไม่ได้ให้แพทย์ทำศัลยกรรมตกแต่งก็ตาม เด็กชาย ฤ. เป็นบุตรผู้ตายอันเกิดจากโจทก์ในขณะที่ผู้ตายและโจทก์ยังไม่ได้สมรสกัน เมื่อต่อมาผู้ตายและโจทก์ได้สมรสกันแล้วจึงต้องถือว่าเด็กชาย ฤ. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีหลังผู้เสียภาษีเสียชีวิต: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีทายาท/ผู้จัดการมรดกได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกไปยัง อ. ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการเสียภาษีเพื่อจะทำการตรวจสอบไต่สวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แต่ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะทำการตรวจสอบไต่สวนเสร็จและแจ้งการประเมินไปให้ อ. ทราบ อ. ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการตรวจสอบไต่สวนโจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของ อ. ในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ อ. แล้วแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ
ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ของ อ. แต่เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดยไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้วิธีคำนวณตามที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตามนั้น ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ต่อศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้
ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์ยอมรับว่าโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ของ อ. แต่เพื่อความเป็นธรรมให้ปรับปรุงวิธีคำนวณภาษีใหม่ได้ผลประการใดโจทก์ยินยอมชำระภาษีโดยไม่โต้แย้ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อนุโลมใช้วิธีคำนวณตามที่โจทก์ขอแล้วมีคำวินิจฉัยไปตามนั้น ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ต่อศาลว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถบรรทุก, ความเร็วเกินกำหนด, หน้าที่ระมัดระวัง, การชนผู้เสียชีวิต
จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อบรรทุกหินและทรายหนัก 13 ตัน ผ่านทางแยกทางร่วม สองข้างทางเป็นร้านค้า และบ้านคนอยู่อาศัย ทั้งมีเด็ก ๆ กำลังวิงเล่นอยู่ ด้วยความเร็วประมาณ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มิได้ลดความเร็วลงเลย เป็นการขับรถโดยประมาท แม้เด็กชาย ส. ผู้ตายวิ่งตัดหน้ารถจำเลยในระยะ 40 เมตร แต่ถ้าจำเลยไม่ขับรถเร็ว เมื่อจำเลยเห็นผู้ตายวิ่งข้ามถนนในระยะ40 เมตร จำเลยย่อมหยุดรถได้ทัน การที่จำเลยขับรถชนผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืนของผู้ตายในคดีอาญา: สิทธิในการริบระงับเมื่อผู้กระทำความผิดเสียชีวิต
ผู้กระทำความผิดใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานตำรวจแต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องผู้กระทำความผิดย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 และโทษก็เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 38 ดังนั้น อาวุธปืนซึ่งเป็นปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นที่ผู้ตายใช้ยิงเจ้าพนักงานตำรวจจึงไม่อาจริบได้ตามบทกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2456/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืนของผู้ตายในคดีอาญา: สิทธิในการริบระงับเมื่อผู้กระทำความผิดเสียชีวิต
ผู้กระทำความผิดใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานตำรวจแต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องผู้กระทำความผิดย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 และโทษก็เป็นอันระงับไปด้วยความตายของผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 ดังนั้น อาวุธปืนซึ่งเป็นปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นที่ผู้ตายใช้ยิงเจ้าพนักงานตำรวจจึงไม่อาจริบได้ตามบทกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยที่ร่วมชุลมุนต่อสู้จนมีผู้เสียชีวิต ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว
จำเลยสี่คนกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง มีอาวุธเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กัน จนเป็นเหตุให้มีบุคคลถึงแก่ความตายสองคนและได้รับอันตรายสาหัสอีกคนหนึ่ง ผู้ตายคนหนึ่งถึงแก่ความตายเพราะถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยิงในการชุลมุนต่อสู้กันนั้นเช่นนี้ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทคือ จำเลยทุกคนผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294, 299, 83 เฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 288 อีกบทหนึ่งซึ่งจะต้องลงโทษจำเลยสองคนนี้ตามมาตรา 288 ซึ่งเป็นบทที่ มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้ (แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา)
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้ (แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับเรือทำให้เกิดการชนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ผู้ขับเรือทั้งสองมีความผิด
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับเรือแล่นมาด้วยความเร็วสูงและต่างแล่นมาตรงกลางลำน้ำ เมื่อใกล้จะสวนกันเรือทั้งสองแล่นเกือบเป็นเส้นตรงเข้าหากันในลักษณะน่ากลัวจะเกิดโดนกัน แม้จำเลยที่ 2 จะเบนหลีกไปทางขวามือ อันเป็นการปฏิบัติตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2498) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2497 ข้อ 19 (ก) ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ลดความเร็ว กลับขับเรือเบนเข้าเส้นทางเรือของตนทางด้านขวาในระยะกระชั้นชิด ส่วนจำเลยที่ 1 ก็มิได้ลดความเร็วทั้งมิได้เบนเข้าเส้นทางเรือของตนทางด้านขวา เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนกันแต่กลับคงแล่นตรงไป เรือจำเลยที่ 2 จึงชนตรงกราบเรือด้านขวาของเรือจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้โดยสารในเรือ จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายและบาดเจ็บเช่นนี้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองกระทำด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยทั้งสองซึ่งขับขี่เรือยนต์สวนทางกันจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บ