พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าโดยผู้แทนจำหน่ายต่างประเทศ: หน้าที่ในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทในต่างประเทศทำสัญญาตั้งโจทก์ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทต่างประเทศดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเองมิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้บริษัทผู้ขายในต่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าทีและความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาตั้งผู้แทนจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ทำการแทนหรือทำการติดต่อให้บริษัทดังกล่าว โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีแพ่งของผู้แทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า การพิสูจน์ผู้เสียหายที่แท้จริง และอายุความ
โจทก์เป็นเพียงผู้แทนให้จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า บี.เอ็ม.ดับบลิว ของบริษัท ม. โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากความผิดทางอาญา ดังนั้นโจทก์จะอาศัยสิทธิตามกำหนดอายุความตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (คืออายุความ 10 ปี) มาเป็นกำหนดาอายุความไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งจากความผิดอาญา: ผู้แทนจำหน่ายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์เป็นเพียงผู้แทนให้จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า บี.เอ็ม.ดับบลิว ของบริษัท ม. โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากความผิดทางอาญาดังนั้นโจทก์จะอาศัยสิทธิตามกำหนดอายุความตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (คืออายุความ 10 ปี) มาเป็นกำหนดอายุความไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งภายในครอบครัว การยินยอมและขอบเขตอำนาจการค้า
สามีซึ่งเป็นจำเลยร่วมโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งในนามส่วนราชการให้ภริยาซึ่งเป็นจำเลยทำการค้าขายมาประมาณ 20 ปีโดยในการค้าสลากกินแบ่งนั้น ภริยามีสิทธิที่จะพิจารณาได้เองตลอดจนการหาเงินจ่ายค่าสลากกินแบ่งย่อมเป็นเรื่องภริยาทำกิจการค้าขายแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก(โดยได้รับอนุญาตจากสามี) การที่ภริยาจะเสาะแสวงหาจำนวนสลากกินแบ่งมาค้าขายหรือจำหน่ายจำนวนสลากกินแบ่งนั้นไปอยู่ในวิสัยที่ภริยาจะทำได้ดังนั้น การที่ภริยาตกลงโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งให้บุคคลภายนอกไปบางส่วนโดยได้รับค่าตอบแทนจึงอยู่ภายในขอบเขตแห่งกิจการค้าขายของภริยาแม้จะมิได้รับอนุญาตจากสามีอีกชั้นหนึ่งสามีก็หามีสิทธิบอกล้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งภายในครอบครัว ถือเป็นอำนาจจัดการในกิจการค้าขายของภริยา สามีมีสิทธิจำกัด
สามีซึ่งเป็นจำเลยร่วมโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งในนามส่วนราชการให้ภริยาซึ่งเป็นจำเลยทำการค้าขายมาประมาณ 20 ปี. โดยในการค้าสลากกินแบ่งนั้น ภริยามีสิทธิที่จะพิจารณาได้เองตลอดจนการหาเงินจ่ายค่าสลากกินแบ่ง. ย่อมเป็นเรื่องภริยาทำกิจการค้าขายแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก(โดยได้รับอนุญาตจากสามี). การที่ภริยาจะเสาะแสวงหาจำนวนสลากกินแบ่งมาค้าขายหรือจำหน่ายจำนวนสลากกินแบ่งนั้นไปอยู่ในวิสัยที่ภริยาจะทำได้. ดังนั้น การที่ภริยาตกลงโอนสิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่ายสลากกินแบ่งให้บุคคลภายนอกไปบางส่วนโดยได้รับค่าตอบแทน.จึงอยู่ภายในขอบเขตแห่งกิจการค้าขายของภริยา. แม้จะมิได้รับอนุญาตจากสามีอีกชั้นหนึ่ง.สามีก็หามีสิทธิบอกล้างไม่.