คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้แทนโจทก์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-912/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน ผลผูกพันคำเบิกความต่อโจทก์อื่น การไม่รับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 แต่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีอันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 35 วรรคสาม และวรรคสี่ ประกอบข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีข้อ 5 ซึ่งกำหนดว่า "ผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีมีอำนาจดำเนินการแทนโจทก์ทุกคนตั้งแต่เริ่มคดีหรือตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งแล้วแต่กรณี และให้ถือว่าการกระทำของผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีดังกล่าวผูกพันโจทก์ทุกคน" ฉะนั้นภายหลังจากที่ได้รับแต่งตั้งแล้ว การที่โจทก์ที่ 2 เบิกความเป็นพยานในคดีจึงต้องถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 มีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย คำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ตามเอกสารหมาย จ.20 และรายละเอียดแนบท้ายหนังสือดังกล่าวซึ่งระบุถึงจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง ถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 มีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังพยานหลักฐานอันเป็นสาระแก่คดีซึ่งอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-912/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำเบิกความผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน การไม่รับฟังพยานหลักฐานอาจเปลี่ยนแปลงผลคดีได้
โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 แต่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 35 วรรคสามและวรรคสี่ การที่โจทก์ที่ 2 เบิกความเป็นพยานจึงมีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า ทางพิจารณาโจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ได้สาบานตนและให้การต่อพนักงานตรวจแรงงงาน หรือเบิกความต่อศาลว่าจำเลยค้างจ่ายค่าจ้าง ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 โดยมิได้พิจารณาคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังพยานหลักฐานอันเป็นสาระแก่คดีซึ่งอาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้ คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางที่ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-912/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำเบิกความของผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน การพิจารณาพยานหลักฐานที่ศาลต้องรับฟัง
การที่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 แต่งตั้งโจทก์ที่ 2เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีนั้น เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาฯ มาตรา 35วรรคสามและวรรคสี่ ภายหลังได้รับแต่งตั้งแล้วโจทก์ที่ 2 เบิกความเป็นพยานอย่างไรก็ต้องถือว่าคำเบิกความดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีข้อ 5 ดังนั้นแม้โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 จะมิได้เบิกความด้วยตนเองถึงเรื่องคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานที่ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ตามหนังสือที่ระบุจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายแก่โจทก์แต่ละคนอย่างชัดแจ้งก็ตาม ก็ต้องถือว่าคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ในเรื่องดังกล่าวมีผลผูกพันถึงโจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 13 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366-8678/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงานและการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรคสามและวรรคสี่ และ ข้อกำหนดว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดี มิได้กำหนดว่าการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์จะต้องแนบ บัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ผู้แต่งตั้งผู้แทนโจทก์มาด้วย การที่โจทก์ได้ใช้แบบพิมพ์ รง. 7 มีรายชื่อและลายมือชื่อโจทก์ทั้งหมดแนบเสนอต่อศาลแรงงานเป็นการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ที่ชอบแล้ว
บันทึกการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ตามแบบพิมพ์ รง. 7 เป็นแบบพิมพ์ของราชการที่โจทก์แต่งตั้งให้โจทก์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแรงงานที่ศาลแรงงานแทนโจทก์ที่แต่งตั้ง มิใช่เป็นใบมอบอำนาจตามข้อ 7 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ แบบพิมพ์ รง. 7 จึงมิใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366-8378/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในคดีแรงงาน ไม่ต้องแนบบัตรประชาชนหรือปิดอากรแสตมป์ หากเป็นไปตามข้อกำหนดศาล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 35 วรรคสามและวรรคสี่ และข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ในการดำเนินคดีข้อ 2 และข้อ 3 มิได้กำหนดว่าการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์จะต้องแนบบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ผู้แต่งตั้งผู้แทนโจทก์มาด้วย ที่โจทก์ใช้แบบพิมพ์ รง.7 มีรายชื่อและลายมือชื่อโจทก์ทั้งหมดแนบเสนอต่อศาลแรงงานกลาง แม้ไม่มีบัตรประชาชนแนบมาด้วยก็เป็นการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ที่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว
บันทึกการแต่งตั้งผู้แทนโจทก์ตามแบบพิมพ์ ร.ง.7 นี้ เป็นแบบพิมพ์ของทางราชการที่เป็นไปตามข้อกำหนดของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานซึ่งโจทก์แต่งตั้งให้โจทก์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแรงงานที่ศาลแรงงานแทนโจทก์ที่แต่งตั้ง มิใช่เป็นใบมอบอำนาจตามข้อ 7 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ จึงไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 104

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5493/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์โดยผู้แทนโจทก์: การยึดยังชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์ไม่ได้ดำเนินการเอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บทใด บังคับว่าหากโจทก์ไม่นำยึดหรือผู้ที่นำยึดมิใช่ผู้แทนโจทก์แล้ว จะทำให้การยึดนั้นเป็นอันเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: จุดเริ่มต้นนับจากวันที่ประธานกรรมการ (ผู้แทนโจทก์) รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิดชอบ
สุขาภิบาลโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีนายอำเภอท้องที่เป็นประธานกรรมการมีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของโจทก์ตาม พ.ร.บ. สุขาภิบาลประธานกรรมการโจทก์จึงเป็นผู้แทนของโจทก์ตามกฎหมาย ดังนี้ อายุความละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรกเริ่มนับตั้งแต่วันที่ประธานกรรมการโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึง ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย.