พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของบิดาที่ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมาย
ผู้เสียหายอายุ 17 ปีเศษ เป็นบุตรของโจทก์ร่วมกับ ส. แต่โจทก์ร่วมกับ ส. มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เสียหายจึงมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ร่วมเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้จดทะเบียนว่าผู้เสียหายเป็นบุตร โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง และมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายที่จะมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและไม่มีฐานะเป็นโจทก์ที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8161/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเปลี่ยนผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กเมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง คำร้องขอพิจารณาได้แม้ไม่ใช่คดีมีข้อพิพาท
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521ประกอบมาตรา 1566(5) ที่ให้อำนาจศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้เยาว์ในการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจปกครองมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้ทั้งการเสนอคดีโดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขอแบบคดีไม่มีข้อพิพาท ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของเด็กหญิง ป. อ้างในคำร้องขอว่า ร. มารดาเด็กหญิง ป. ไม่สามารถเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กหญิงป. เนื่องจากมิได้ประกอบอาชีพ ประสงค์จะให้เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้ร้องทั้งผู้ร้องรับราชการเป็นทหาร สามารถอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาและความอบอุ่นแก่เด็กหญิง ป. ได้ หากเป็นจริงย่อมถือได้ว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในภายหลังแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้โดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของเด็กหญิง ป. เป็นสำคัญหาใช่เป็นเรื่องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลไม่แม้ผู้ร้องสอดเสนอคดีโดยทำเป็นคำร้องขอศาลก็รับคำร้องขอของผู้ร้องไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการกำหนดผู้ใช้อำนาจปกครองเด็ก แม้จำเลยมิได้ฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องขอหย่าจากจำเลยและขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ฝ่ายเดียว เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยเป็นผู้เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์ยิ่งกว่าโจทก์ แม้จำเลยจะไม่ได้ฟ้องแย้งศาลก็มีอำนาจที่จะชี้ขาดว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ฝ่ายเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต้องได้รับความยินยอมจากเด็กโดยตรง ผู้ใช้อำนาจปกครองไม่สามารถให้ความยินยอมแทนได้
บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 ได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเด็ก การให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัว ผู้ใช้อำนาจปกครองให้ความยินยอมแทนเด็กไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบุตรชอบด้วยกฎหมายต้องได้รับความยินยอมจากเด็กด้วยตนเอง ผู้ใช้อำนาจปกครองให้ความยินยอมแทนไม่ได้
บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548ได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเด็กการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวผู้ใช้อำนาจปกครองให้ความยินยอมแทนเด็กไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำโดยผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ
สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์เข้าทำสัญญาดังกล่าวเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนในอันที่จะคุ้มครองผู้เยาว์ แม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วย การแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 5 ส่วน
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายด้วย การแบ่งทรัพย์มรดกต้องแบ่งกันตามส่วนที่แต่ละคน มีสิทธิได้รับ เมื่อปรากฏว่าทายาทผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาทตามพินัยกรรม มี 5 คนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 5 ส่วน
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1602/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาแทนผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ
การที่บุตรผู้เยาว์เข้าทำสัญญาเป็นลูกหนี้แทนบิดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์อย่างชัดแจ้ง สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ จะบังคับเอาแก่ผู้เยาว์นั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1660/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้ใช้อำนาจปกครองเด็ก ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงมีผลผูกพัน
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทคนละครึ่ง หากแบ่งไม่ตกลงให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน นั้นย่อมหมายความว่า มรดกทุกชิ้นนั้น ถ้าเป็นทรัพย์แบ่งได้ก็ให้เอามากแบ่งกันคนละครึ่งเป็นชิ้น ๆ ไป ถ้าตกลงในการแบ่งเช่นนี้ไม่ได้ ก็ให้ประมูลระหว่างกันหรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันหากทายาททั้งสองตกลงแบ่งทรัพย์มรดกกันนอกศาลเป็นอย่างอื่น ก็ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะเป็นการยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อระงับข้อพิพาท
ผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล โดยมิได้ขออนุญาตศาลก่อนหาได้ไม่
ผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล โดยมิได้ขออนุญาตศาลก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1660/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยผู้ใช้อำนาจปกครองเด็ก ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน จึงมีผลผูกพัน
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทคนละครึ่งหากแบ่งไม่ตกลงให้ประมูลหรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกันตามส่วน นั้น ย่อมหมายความว่า มรดกทุกชิ้นนั้นถ้าเป็นทรัพย์แบ่งได้ ก็ให้เอามาแบ่งกันคนละครึ่งเป็นชิ้นๆไป ถ้าตกลงในการแบ่งเช่นนี้ไม่ได้ ก็ให้ประมูลระหว่างกัน หรือขายทอดตลาดเอาเงินแบ่งกัน หากทายาททั้งสองตกลงแบ่งทรัพย์มรดกกันนอกศาลเป็นอย่างอื่น ก็ถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะเป็นการยอมผ่อนผันให้แก่กันเพื่อระงับข้อพิพาท
ผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลโดยมิได้ ขออนุญาตศาลก่อน หาได้ไม่
ผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลโดยมิได้ ขออนุญาตศาลก่อน หาได้ไม่