พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ให้กู้ อำนาจฟ้องเกิดจากหลักฐานหนังสือ
สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่งอยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ด้วย
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
เอกสารฉบับพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ลงไว้ แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อกฎหมายว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงมีอำนาจฟ้อง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,812 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2106/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงิน: หลักฐานการกู้ยืมต้องมีลายมือชื่อผู้กู้ ผู้ให้กู้ลงชื่อได้ และการกรอกรายละเอียดเพิ่มเติมในสัญญาไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ โดยมิได้บังคับว่าต้องระบุชื่อผู้ให้กู้และผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย จำเลยเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญากู้เงินและลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้กับได้รับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้ว แต่สัญญากู้เงินได้เว้นช่องผู้ให้กู้และกำหนดเวลาชำระเงินคืนไว้ เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้กู้ก็ย่อมมีสิทธิที่จะลงชื่อเพื่อเป็นหลักฐานในการนำคดีมาฟ้องร้องได้ ส่วนการที่โจทก์กรอกข้อความกำหนดชำระเงินคืนนั้น ข้อความดังกล่าวจะระบุไว้หรือไม่ก็ตาม ก็หามีผลให้หลักฐานการฟ้องร้องที่สมบูรณ์อยู่แล้วและบังคับแก่จำเลยได้เสียไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ให้กู้ควบคุมวงเงินและเรียกคืนหนี้เมื่อผู้กู้ผิดสัญญา การกระทำไม่เป็นละเมิด
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลง ถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า"รอจำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15สิงหาคม 2534 ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2362/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมสมบูรณ์ แม้ผู้กู้ใช้เงินผิดก.ม.เลือกตั้ง หากผู้ให้กู้ไม่มีส่วนรู้เห็น
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำเลยที่ 1ออกเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ในการหาเสียงเลือกตั้งจำเลยที่ 1 จะใช้จ่ายเงินอย่างไรเป็นเรื่องของจำเลยที่ 1โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินไปแจกจ่ายแก่ราษฎรอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 แต่เมื่อโจทก์ไม่รู้ว่าจำเลยที่ 1กู้เงินไปเพื่อกระทำผิดกฎหมายดังกล่าว สัญญากู้ย่อมสมบูรณ์เช็คพิพาทจึงมีมูลหนี้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน, การนำสืบผู้ให้กู้, และการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
หลักฐานแห่งการกู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 ต้องมีสาระสำคัญให้เห็นว่า มีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอ ไม่ได้บังคับว่าต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ด้วยหรือหากไม่ระบุลงไว้จะต้องถือว่าไม่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เมื่อเอกสารพิพาทระบุว่าจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ยืมเงินจำนวนเงินและวันเดือนปี แม้มิได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ก็ตาม ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินแล้ว และโจทก์มีสิทธินำสืบได้ว่าผู้ให้กู้คือโจทก์ได้ไม่เป็นการสืบเพิ่มเติมเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข) หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์มีสิทธิทวงถามได้โดยพลันตามป.พ.พ. มาตรา 203 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใดจึงถือว่าจำเลยผิดนัดในวันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีกู้ยืมเงิน แม้เงินกู้มาจากบุคคลอื่น หากมีเจตนาช่วยเหลือผู้ให้กู้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ไว้ แม้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1รับไป จะเป็นเงินของมารดาโจทก์และมารดาโจทก์เป็นผู้มอบเงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องที่ มารดา โจทก์มีเจตนาช่วย ออกเงินกู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นบุตร โจทก์ในฐานะเป็นผู้ให้กู้ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ และฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้ให้กู้ แม้เงินกู้มาจากผู้อื่น: กรณีมารดาออกเงินกู้แทนบุตร
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์โดยมารดาโจทก์เป็นผู้ออกเงินกู้และมอบให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่มารดาโจทก์มีเจตนาช่วยออกเงินกู้แทนโจทก์ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน: ลายมือชื่อผู้กู้สำคัญกว่าผู้ให้กู้
เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 653 บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วย ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินจะเป็นนิติกรรมสองฝ่าย แต่ก็เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเมื่อจำเลยลงลายมือชื่อผู้กู้แล้ว โจทก์หรือผู้แทนโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้กู้ สัญญากู้ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ไม่เป็นโมฆะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาเงินกู้ แม้ไม่ได้ระบุผู้ให้กู้ ก็ใช้เป็นหลักฐานได้ หากมีเจตนาทำสัญญา
จำเลยเขียนกรอกข้อความลงในแบบพิมพ์สัญญากู้ยืมเงินว่าวันที่ 1 กันยายน 2524 จำเลยได้กู้ยืมเงินไปเป็นจำนวน 60,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน 3 เดือน คือวันที่1 ธันวาคม 2524 แล้วลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ แต่มิได้กรอกข้อความในช่องว่างที่ว่าได้ทำหนังสือให้ไว้แก่ผู้ใด ไม่มีลายมือชื่อในช่องผู้ให้กู้ พยานและผู้เขียนสัญญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องมีข้อความว่ากู้ยืมเงินจากผู้ใด ถ้าได้ความว่าจำเลยทำมอบให้แก่โจทก์ ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไปและทำหลักฐานการกู้ยืมไว้ให้ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือต้องมีข้อความว่ากู้ยืมเงินจากผู้ใด ถ้าได้ความว่าจำเลยทำมอบให้แก่โจทก์ ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไปและทำหลักฐานการกู้ยืมไว้ให้ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของสัญญากู้และการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ให้กู้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้กู้และผู้เขียนสัญญากู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยผู้กู้ได้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ผู้ให้กู้ลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้