พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7561/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในการตรวจสอบเอกสารผู้ใช้บริการ ทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้เป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการขยายเครือข่ายการให้บริการและดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าเป็นการให้สัมปทานไปตามข้อสัญญาซึ่งกำหนดว่าผู้ขอเช่าใช้บริการจะต้องมาทำสัญญาเช่าใช้บริการกับจำเลย จำเลยจะให้ผู้เช่าใช้บริการทำสัญญาตามแบบพิมพ์ที่โจทก์กำหนดและจะต้องส่งสัญญาพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นบัญชีรายชื่อของผู้ขอใช้บริการทั้งหลายเสนอต่อโจทก์ จำเลยมีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าเช่าใช้บริการจากผู้ขอเอง ส่วนกรณีการให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศเป็นบริการสาธารณะของโจทก์เองตามนโยบายของรัฐบาล โจทก์เป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าเช่าใช้บริการเอง แต่ผู้ขอเช่าใช้บริการระหว่างประเทศจะต้องมาทำสัญญากับจำเลยผ่านเครือข่ายวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าของจำเลย ซึ่งจำเลยจะจัดส่งสัญญาพร้อมหลักฐานของผู้ขอใช้บริการในลักษณะเช่นเดียวกันกับผู้ขอใช้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศ ในการที่โจทก์จะเป็นผู้เรียกเก็บค่าเช่าใช้บริการเอง เพื่อความรอบคอบจำเลยควรที่จะตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จำเลยจะขอให้โจทก์เปิดใช้บริการทางไกลระหว่างประเทศ ทั้งนี้จะต้องตรวจสอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอที่นำมาประกอบสัญญาเป็นสำคัญ จำเลยจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบตรวจสอบหลักฐานได้โดยไม่ยากนัก จะอ้างแต่เพียงว่าได้กรอกข้อความตามที่ผู้ขอเช่าใช้บริการแจ้งมาและมีเอกสารต่าง ๆ ครบถ้วน โดยไม่จำต้องตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารหาได้ไม่ เพราะจำเลยจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบคนสุดท้ายก่อนที่จะเสนอโจทก์พิจารณาอนุมัติ ในเมื่อจำเลยเห็นโดยชัดแจ้งอยู่แล้วว่าภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอรายนี้เลอะเลือนไม่ชัดเจนและไม่มีลายมือชื่อผู้ถือบัตร จำเลยย่อมสามารถระงับหรือขอให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่กลับไม่กระทำ จึงเป็นเหตุให้โจทก์พิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอใช้บริการทางไกลระหว่างประเทศ และในที่สุดไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้บริการรายนี้ได้ ถือว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8258/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้ไฟฟ้าและหน้าที่ชำระค่าบริการ แม้เกิดความผิดพลาดจากผู้ให้บริการ
จำเลยเป็นผู้ขอใช้กระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงโจทก์และสัญญาว่าจะชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไปตามข้อบังคับจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าตามจำนวนที่ใช้จริงเต็มจำนวนแม้การต่อสายไฟฟ้าสลับขั้วผิดพลาดจะเกิดจากการกระทำของพนักงานของโจทก์เองโดยจำเลยมิได้มีส่วนผิดพลาดด้วยก็ตามโจทก์ก็สามารถเรียกค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยใช้ไปตามความเป็นจริงได้ตามข้อบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใช้โทรศัพท์โดยไม่ทำสัญญาเช่า ไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ให้บริการ จึงไม่สามารถฟ้องละเมิดได้
การฟ้องคดีฐานละเมิดอาจเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่มีสัญญาและไม่มีสัญญาต่อกันแล้วแต่ว่าการกระทำละเมิดเกิดจากเหตุและกรณีใดเป็นรายกรณีไป โดยอาศัยพฤติการณ์แห่งคดีเป็นหลัก และผู้ที่มีสิทธิฟ้อง นั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หาใช่เพียงแต่เป็นผู้เสียหาย โดยพฤตินัยเท่านั้นไม่ และบางกรณีต้องเป็นผู้เสียหายตามสัญญาที่ ได้ทำไว้ต่อ กันเท่านั้น โจทก์มิได้ทำสัญญาเป็นผู้เช่าโทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 เป็นแต่เพียงผู้ครอบครองและใช้โทรศัพท์โดยได้รับมอบหมายมาจากบริษัท ค. เจ้าของอาคารที่โจทก์เช่าตั้งสำนักงานประกอบกิจการอยู่เท่านั้น แม้โจทก์ได้ชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ให้จำเลยที่ 1 ตลอดมา ก็ถือว่าโจทก์เป็นแต่เพียง มีสิทธิใช้โดยพฤตินัยเท่านั้น หาได้มีสิทธิผูกพันกับจำเลยที่ 1 ไม่ โจทก์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้เช่าโทรศัพท์ แทนผู้เช่าเดิม การชำระค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ของโจทก์จึง เป็นการชำระแทนผู้เช่าเดิม โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย ที่ 1จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าบริการโทรศัพท์: ผู้ให้บริการสาธารณะเป็นผู้ค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7)
โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 เพื่อให้บริการพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่ประชาชน เมื่อผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดโทรศัพท์จากประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์ ผู้ใช้บริการพูดโทรศัพท์จะต้องเสียค่าใช้บริการพูดโทรศัพท์ตาม อัตราที่โจทก์กำหนดไว้ ค่าใช้บริการพูดโทรศัพท์จึงเป็นสินจ้างถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าโดยรับทำการงาน เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)ซึ่งมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5646/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเรียกร้องของผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7)
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ตามฟ้องเริ่มวันที่ 1 เมษายน2526 โจทก์ฟ้องเกินกำหนดไม่อาจบังคับจำเลยได้ คำให้การดังกล่าวได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว ผู้ใช้บริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศของโจทก์ โดยเครื่องโทรศัพท์ที่เช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์ จะต้องเสียค่าบริการตามอัตราที่โจทก์กำหนดไว้ ค่าบริการดังกล่าวก็คือสินจ้างนั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เมื่อโจทก์เรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นจากจำเลย สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าบริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศ อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) เนื่องจากโจทก์เป็นผู้ให้บริการและเรียกเก็บค่าบริการ
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศแก่ประชาชนประจำเป็นปกติธุระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการต่างๆจึงเป็นสินจ้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการเมื่อโจทก์ในฐานะผู้ค้าในการรับทำการงานต่างๆฟ้องเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นจึงต้องอยู่ในอายุความ2ปีตามป.พ.พ.มาตรา165(7).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9035/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรในเขตประกอบการเสรี: ผู้ให้บริการรับฝากสินค้าไม่เข้าข่ายผู้ได้รับสิทธิ
พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 48 (2) ประสงค์ยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตให้แก่ผู้ประกอบการในขณะนำของเข้ามาในราชอาณาจักรและนำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อพาณิชยกรรม ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้ประกอบการที่ให้บริการรับฝากสินค้าแก่ผู้ประกอบการที่นำของเข้ามาในราชอาณาจักรและนำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีอีกทอดหนึ่ง ซึ่งเป็นการรับฝากสินค้าภายหลังจากที่ได้มีการนำของเข้ามาในราชอาณาจักรและนำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีแล้ว กิจการของโจทก์รับฝากสินค้าในสภาพใดก็จะคืนไปในสภาพนั้น ไม่ได้ทำให้สินค้ามีประสิทธิภาพหรือมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อลูกค้าต้องการฝากสินค้าโจทก์จะทำสัญญารับฝากสินค้า กำหนดค่ารับฝาก โจทก์จะจัดเตรียมพื้นที่ให้เมื่อลูกค้าต้องการรับคืนสินค้า และจะจัดทำใบเบิกสินค้าพร้อมแจ้งจำนวนสินค้าคงเหลือที่รับฝากไว้เท่านั้น แม้โจทก์จะให้บริการทางพาณิชยกรรม แต่ก็มิใช่ผู้ประกอบการที่นำเข้าของจึงไม่ได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5800/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ให้บริการที่จอดรถในห้างสรรพสินค้าต่อความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ของผู้ใช้บริการ
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า เทสโก้ โลตัส สาขามีนบุรี จะไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับฝากรถของลูกค้าที่มาจอดเพื่อใช้บริการของห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีการเก็บค่าจอดรถก็ตาม แต่การก่อสร้างห้างจำเลยที่ 1 อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซึ่งกำหนดให้ต้องมีที่จอดรถ 1 คัน ต่อพื้นที่ทุกๆ 20 ตารางเมตร และจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยของห้าง โดยต้องตรวจบัตรเมื่อจะนำรถออกให้ตรงกับทะเบียนรถ จึงเป็นการจัดที่จอดรถให้แก่ลูกค้า ตามพฤติการณ์เป็นการให้บริการอย่างหนึ่งที่มีผลต่อยอดจำหน่ายสินค้า ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่น จึงเป็นผู้ให้บริการ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 3 และนอกจากผู้บริโภคในคดีนี้แล้วยังมีผู้บริโภคอื่นอีกหลายรายที่นำรถไปจอดในที่จอดรถของห้างจำเลยที่ 1 แล้วสูญหายไป การดำเนินคดีย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 39 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง เมื่อปรากฏว่ารถที่สูญหายไปบัตรจอดรถยังอยู่ที่ผู้บริโภค การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 พนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ระมัดระวังในการออกบัตรจอดรถและตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดเป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้บริโภคถูกลักไป จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้บริโภค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 425 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 และลูกจ้าง ตลอดทั้งทรัพย์สินอื่นซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 1 ในบริเวณห้างจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับมอบหมายจึงต้องรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันกระทำละเมิดต่อผู้บริโภค จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนได้กระทำไปในกิจการที่ได้รับมอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ให้บริการเว็บไซต์ต่อข้อมูลเท็จและการหมิ่นประมาททางออนไลน์
จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ตามบทนิยามของ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 4 มิได้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องรับผิดชอบในการผลิตข่าวแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้นำสืบพยานให้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เกี่ยวข้องกับข่าวตามที่โจทก์นำมาฟ้องอย่างไร จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทได้
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์มติชนออนไลน์ เป็นผู้นำเสนอข่าวสารทางระบบคอมพิวเตอร์ในนามของตนเอง คือเว็บไซต์มติชนออนไลน์ จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้ให้บริการตามบทนิยามของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 และการที่เว็บไซต์มติชนออนไลน์เสนอข่าวใด ๆ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของและเป็นผู้ให้บริการ ยินยอมให้มีการนำเสนอข่าวดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าได้มอบให้บุคคลอื่นควบคุมดูแลบริหารจัดการเว็บไซต์โดยจำเลยที่ 1 มิได้เกี่ยวข้องกับข่าวดังกล่าวเลยหาได้ไม่ เพราะบทกฎหมายข้างต้นมีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์จะควบคุมการทำหน้าที่ของผู้ให้บริการโดยเฉพาะ
โจทก์มิได้เป็นแกนนำหรือเข้าร่วมการชุมนุมตามข่าวที่ปรากฏ ถือได้ว่าข่าวหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวโจทก์เป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ เมื่อข่าวดังกล่าวระบุว่าการชุมนุมมีการนำรถบรรทุกสิบล้อมาปิดถนน อันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้รถทุกประเภทไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งตามข่าวระบุว่าเป็นแกนนำการชุมนุมได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้บริการยินยอมให้มีการนำข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่น่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือประชาชน จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 15 ประกอบมาตรา 14 (1)
หนังสือพิมพ์รายวันมติชนของจำเลยที่ 1 เผยแพร่และวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ส่วนเว็บไซต์มติชนออนไลน์ก็เผยแพร่โดยระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวได้ทั่วราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าการกระทำตามฟ้องเกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์มติชนออนไลน์ เป็นผู้นำเสนอข่าวสารทางระบบคอมพิวเตอร์ในนามของตนเอง คือเว็บไซต์มติชนออนไลน์ จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้ให้บริการตามบทนิยามของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 และการที่เว็บไซต์มติชนออนไลน์เสนอข่าวใด ๆ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของและเป็นผู้ให้บริการ ยินยอมให้มีการนำเสนอข่าวดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าได้มอบให้บุคคลอื่นควบคุมดูแลบริหารจัดการเว็บไซต์โดยจำเลยที่ 1 มิได้เกี่ยวข้องกับข่าวดังกล่าวเลยหาได้ไม่ เพราะบทกฎหมายข้างต้นมีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์จะควบคุมการทำหน้าที่ของผู้ให้บริการโดยเฉพาะ
โจทก์มิได้เป็นแกนนำหรือเข้าร่วมการชุมนุมตามข่าวที่ปรากฏ ถือได้ว่าข่าวหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวโจทก์เป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ เมื่อข่าวดังกล่าวระบุว่าการชุมนุมมีการนำรถบรรทุกสิบล้อมาปิดถนน อันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้รถทุกประเภทไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งตามข่าวระบุว่าเป็นแกนนำการชุมนุมได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้บริการยินยอมให้มีการนำข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่น่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือประชาชน จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 15 ประกอบมาตรา 14 (1)
หนังสือพิมพ์รายวันมติชนของจำเลยที่ 1 เผยแพร่และวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ส่วนเว็บไซต์มติชนออนไลน์ก็เผยแพร่โดยระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวได้ทั่วราชอาณาจักรเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าการกระทำตามฟ้องเกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักร โจทก์จึงใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นได้ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต