พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องละเมิดของผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิด แม้ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยยกคันนากั้นน้ำในลำห้วยสาธารณะเป็นเหตุให้น้ำท่วมต้นข้าวโจทก์เสียหาย ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและทำลายคันนา
ดังนี้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อการละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แม้นาที่โจทก์ปลูกข้าวจะไม่ใช่ของโจทก์ก็ดี โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องได้และในเรื่องห้วยสาธารณะก็เช่นเดียวกันเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากการกระทำของจำเลย โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องจำเลยได้
ดังนี้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อการละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แม้นาที่โจทก์ปลูกข้าวจะไม่ใช่ของโจทก์ก็ดี โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องได้และในเรื่องห้วยสาธารณะก็เช่นเดียวกันเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากการกระทำของจำเลย โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาจำกัดเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำพิพากษาคดีละเมิดอำนาจศาล
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลย่อมเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานเท่าที่ไต่สวนมายังไม่อาจรับฟังได้อย่างสนิทใจ เห็นควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นคุณแก่ผู้ถูกกล่าวหาและพิพากษากลับว่าให้ยกข้อกล่าวหา ดังนี้ ผู้กล่าวหาซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดสมุทรสาคร และมีหน้าที่รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาต่อศาลเพื่อไต่สวนว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ จึงไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังกล่าวได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ให้อำนาจผู้อำนวยการประจำศาล ฎีกาในกรณีเช่นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล: การจำกัดสิทธิเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และผลของการไม่อุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา