คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ไม่มีสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิทำให้การซื้อขายเป็นโมฆะ แม้จะอ้างอิง พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดิน
จำเลยที่ 2 มิใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อจำเลยที่ 1 จัดซื้อที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ผู้ที่มิใช่เจ้าของ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นเช่นเดียวกัน และการกระทำอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวซึ่งไม่มีผลตามกฎหมายจึงตกเป็นอันเสียเปล่า จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างการกระทำอันมิชอบเช่นนั้นว่าเป็นการจัดซื้อที่ดินตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 36 ทวิ ประกอบมาตรา 37 มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินที่มีโฉนด สิทธิซื้อขายจากผู้ไม่มีสิทธิเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 2 นำที่ดินของโจทก์ไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่มีอำนาจแม้เจ้าพนักงานที่ดินจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินเพราะกระบวนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงมิใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นเช่นเดียวกัน และการกระทำอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนสิทธิตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งไม่มีผลตามกฎหมายย่อมตกเป็นอันเสียเปล่า จำเลยที่ 1 จะกล่าวอ้างการกระทำอันมิชอบเช่นนั้นว่าเป็นการจัดซื้อที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 29 มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อขายซ้ำโดยผู้ไม่มีสิทธิ การเพิกถอนการจดทะเบียน
ตามคำเสนอขอเช่าซื้อที่ อ. ขอให้บริษัทโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาให้ อ. เช่าซื้อนั้นระบุชัดเจนว่า ให้โจทก์ซื้อจากบริษัทจำเลยที่ 1 หาได้ซื้อจาก ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวไม่ ทั้งการที่โจทก์ชำระราคารถยนต์ก็เป็นการชำระให้จำเลยที่ 1 โดยมีหลักฐานการรับเงินของจำเลยที่ 1 ไว้ มิใช่ ส. เป็นผู้ออกหลักฐานการรับเงิน ดังนั้น แม้คำเสนอขายรถยนต์พิพาท ส. จะลงชื่อเป็นผู้เสนอขายโดยมิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้อง แต่หนังสือรับรองก็ระบุกรมการของจำเลยที่ 1 ว่ามีเพียง ส. เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับประโยชน์ตามคำเสนอขายดังกล่าวโดยส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่ อ. ผู้เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์และเป็นผู้รับชำระราคารถยนต์จากโจทก์ แสดงให้เห็นว่า ส. ทำคำเสนอขายรถยนต์พิพาทต่อโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันการกระทำของ ส. แล้ว การซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทตกเป็นของโจทก์ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อของโจทก์ ก็หาทำให้การซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด เพราะการจดทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย เป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการควบคุมของเจ้าพนักงานเท่านั้น การที่รถยนต์พิพาทหลุดไปจากการครอบครองของ อ. เพราะเกิดอุบัติเหตุ อ. จึงมอบรถยนต์ให้ ส. ที่บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อซ่อม แต่ ส. ไม่คืนรถยนต์ดังกล่าวให้ แต่จำเลยที่ 1 กลับนำรถยนต์พิพาทไปขายให้แก่บริษัทจำเลยที่ 2 อีก แม้จำเลยที่ 2 จะซื้อโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน และนำรถยนต์ไปจดทะเบียนต่อกรมการขนส่งทางบก โดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็ตาม ก็หาทำให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทไม่ การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์พิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อกรมการขนส่งทางบกได้ แต่จะขอให้เพิกถอนการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริต สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองบังคับคู่สัญญาได้ เพียงแต่ไม่อาจใช้ยันโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิ แม้ผู้รับโอนจะสุจริตและจดทะเบียนถูกต้อง ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่ดีได้
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (สค.1) และสละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะได้ออก น.ส.3 ก. แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่ 3 มีชื่อใน น.ส.3 ก. จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ไป แม้จำเลยที่ 4 ซื้อไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4 ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดในที่ดินพิพาท ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองไปขายโดยไม่ชอบ และขอให้เพิกถอนน.ส.3 ก. ที่จำเลยที่ 3 ออกโดยไม่ชอบ กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันทราบมูลคดีนี้ คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์และเงินค่าจ้าง: การใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิ และการฟ้องผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีการค้าที่โจทก์มอบให้ไปชำระแก่กรมสรรพากรแทน แต่จำเลยไม่นำไปชำระ เป็นการฟ้องเพื่อใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์ใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ ส่วนเงินค่าจ้างที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนนั้น เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่รับเงินไปจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่กระทำการที่จ้าง มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: การติดตามและเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิ แม้มีการจดทะเบียนโอน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 6 และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามหนังสือสัญญาให้ที่ดิน แม้โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับมาจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7 เป็นโฉนดที่ดินปลอม แต่โฉนดที่ดินฉบับหลวงก็ระบุไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่มีบุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอ้างว่าเป็นตัวโจทก์โดยใช้บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุว่าเป็นของโจทก์ปลอม กับหนังสือให้ความยินยอมที่ระบุว่าเป็นของภริยาโจทก์ปลอมไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ก็ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ในการที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นเช่นเดียวกัน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 และที่ 5ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้แก้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนของโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นชื่อของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ตาม จำเลยที่ 4และที่ 5 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ เพราะเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิที่จะโอนให้แก่ผู้รับโอน ผู้รับโอนจะได้สิทธิซึ่งไม่มีอยู่ไม่ได้
คดีนี้เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินของตนยังอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้เสมอ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินว่ามีสิทธิอย่างใดบ้าง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง อันเป็นอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง หาใช่การบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ภายในกำหนดอายุความดังที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 ลักษณะ 6 แห่ง ป.พ.พ.ไม่ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์สินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/9 และ193/30
ข้อที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 นั้น จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7 ได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 7ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ และแม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการเรียกทรัพย์คืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิ การครอบครองปรปักษ์ และความรับผิดของเจ้าหน้าที่ที่ดิน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่6และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามหนังสือสัญญาให้ที่ดินแม้โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับมาจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่7เป็นโฉนดที่ดินปลอมแต่โฉนดที่ดินฉบับหลวงก็ระบุไว้ชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเช่นนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมายการที่มีบุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอ้างว่าเป็นตัวโจทก์โดยใช้บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุว่าเป็นของโจทก์ปลอมกับหนังสือให้ความยินยอมที่ระบุว่าเป็นของภริยาโจทก์ปลอมไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่1แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงไม่มีสิทธิที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้จำเลยที่1ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเมื่อจำเลยที่1ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็ย่อมไม่มีสิทธิใดๆในการที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นเช่นเดียวกันดังนั้นแม้จำเลยที่4และที่5ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่1โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งได้แก้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนของโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นชื่อของจำเลยที่4และที่5ก็ตามจำเลยที่4และที่5ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่เพราะเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิที่จะโอนให้แก่ผู้รับโอนผู้รับโอนจะได้สิทธิซึ่งไม่มีอยู่ไม่ได้ คดีนี้เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินของตนยังอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้เสมอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินว่ามีสิทธิอย่างใดบ้างที่กฎหมายให้ความคุ้มครองอันเป็นอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งหาใช่การบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ภายในกำหนดอายุความดังที่บัญญัติไว้ในบรรพ1ลักษณะ6แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์สินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา193/9และ193/30 ข้อที่จำเลยที่4และที่5ฎีกาว่าจำเลยที่4และที่5ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382นั้นจำเลยที่4และที่5ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่7ได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่7ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์และแม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้วโจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่7ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการเรียกทรัพย์คืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินจากการซื้อขายและการจำนองที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิ
จำเลยขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ร้องโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนสิทธิกันตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา4ทวิแต่การที่ผู้ร้องได้รับการครอบครองแล้วผู้ร้องย่อมได้สิทธิครอบครองไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1377และ1378 เมื่อจำเลยผู้จำนองมิใช่เจ้าของที่ดินนำที่ดินไปจำนองเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา705การจำนองจึงไม่มีผลโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่ การได้ที่ดินมาโดยการซื้อขายและด้วยวิธีส่งมอบการครอบครองเป็นการได้มาโดยทางนิติกรรมไม่อยู่ในบังคับของมาตรา1299วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การโอนที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 2239 โดยสืบสิทธิครอบครองมาหลายทอดจาก ล.เจ้าของเดิม จำเลยที่ 1และที่ 2 ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ล.โดยอ้างว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก.ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของ ล.เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขอแบ่งที่ดินตาม น.ส.3 ก. แปลงนั้นออกเป็น 7 ส่วน และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145เนื้อที่ 8 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3 ก. เลขที่ 3146 เนื้อที่ 4 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสาม ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสาม และเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และที่ดินที่โจทก์ทั้งสามเรียกคืนจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เนื้อที่ 8 ไร่ ราคาไม่เกิน50,000 บาท และเรียกคืนจากจำเลยที่ 5 เนื้อที่ 4 ไร่ ราคาไม่เกิน 50,000 บาทเช่นกัน คดีของโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้ถือตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
เมื่อที่พิพาทแปลง น.ส.3 ก. เลขที่ 2239 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ล. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 และ 3146 และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 3146 ให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4119/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิและสิทธิการครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยมิได้ยินยอมหรือรู้เห็นให้มารดาจำเลยขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากมารดาจำเลยผู้ไม่มีสิทธิย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ แม้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขาย ก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลย แม้ฟังว่าจำเลยทราบเรื่องหลังวันทำสัญญาประมาณ 3 เดือนจึงไปขอไถ่ที่ดินพิพาทคืนจากโจทก์ โจทก์ยอมให้ไถ่โดยมีข้อตกลงว่าหากจำเลยมีเงินเมื่อใดก็นำไปไถ่ได้นั้น ถือได้ว่าเป็นเพียงการที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ครอบครองแทนต่อไปเท่านั้น และเนื่องจากโจทก์มิได้เข้าครอบ-ครองที่ดินนั้นโดยการแย่งการครอบครอง แม้โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนปัจจุบันก็มิได้สิทธิครอบครอง
of 5