คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ไร้ความสามารถ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองในการขอเป็นผู้อนุบาลผู้ไร้ความสามารถ
โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วของส. ผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งหากเป็นจริงก็เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งให้ ส.ซึ่งเป็นบุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 ได้ และโดยนัยเดียวกันแม้จำเลยเป็นผู้อนุบาลของ ส. ตามคำสั่งศาลอยู่แล้วก็ตาม ถ้ามีเหตุอันสมควร โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาลและตั้งโจทก์เป็นผู้อนุบาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการทำนิติกรรมของผู้อนุบาลในสินบริคณห์: การยกที่ดินให้บุตรโดยเสน่หาไม่ผูกพันส่วนของผู้ไร้ความสามารถ
กรณีภริยาเป็นผู้อนุบาลสามีซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 นั้น มาตรา 1581ไม่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับจึงจะนำมาตรา 1561,1562,1563. ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความปกครองมาบังคับแก่ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามีหาได้ไม่
ภริยาซึ่งเป็นผู้อนุบาลสามี มีสิทธิทำนิติกรรมขายสินบริคณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710/2490 แต่การที่ภริยาเอาที่ดินสินบริคณห์ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริยาในฐานะผู้อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนที่เป็นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิกระทำได้ในฐานะที่เป็นภริยา ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินสินบริคณห์นั้นด้วย โดยมิพักต้องได้รับอนุญาตจากสามี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 39 นิติกรรมการให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าว จึงผูกพันส่วนที่เป็นของภริยา แต่ไม่ผูกพันส่วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าที่ดินสินบริคณห์นั้น สามีกับภริยามีส่วนคนละเท่าใด และภริยาก็ทำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกับสามีอันมีผลเท่ากับภริยายอมสละส่วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้อนุบาลผู้ไร้ความสามารถ: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นผู้ไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาลนั้น เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท และเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมยอมทำหนี้เพื่อเรียกทรัพย์จากผู้ไร้ความสามารถ ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดี
จำเลยที่ 1 เป็นคนไร้ความสามารถ จำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุบาลตามคำสั่งศาล จำเลยที่ 2 ได้สมยอมทำหนังสือสัญญากู้เงินกับโจทก์เพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เมื่อเป็นเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนใบ้ไม่ถือเป็นผู้ไร้ความสามารถ จนกว่าศาลสั่ง มีอำนาจดำเนินคดีได้
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(12)และมาตรา 56 ศาลจะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีให้ก็ต่อเมื่อ บุคคลใดเป็นผู้ไร้ความสามารถ และไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้
บุคคลใดแม้จะเป็นคนใบ้มาแต่กำเนิดก็ตาม เมื่อศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ก็ย่อมไม่ใช่บุคคลผู้ไร้ความสามารถตามกฎหมาย ฉะนั้น จึงมีอำนาจดำเนินคดีได้อย่างบุคคลธรรมดา ผู้อื่นจะร้องขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้แทนเฉพาะคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้อนุบาลต้องคำนึงถึงประโยชน์และความสนิทสนมของผู้ไร้ความสามารถเป็นสำคัญ
ผู้ไร้ความสามารถ ผู้อนุบาล หลักของการตั้งต้องเพ่งเล็งถึงประโยชน์แลความสนิทสนมเพื่อให้เปนผลดีแก่ผู้ไร้ความสามารถ ตั้งผู้อนุบาลต้องประกาศในราชกิจจา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ: การนับอายุความเริ่มต้นเมื่อมีผู้อนุบาล
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยร่วมขับรถบรรทุกหกล้อถอยหลังด้วยความประมาทเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ว. ขับ เป็นเหตุให้ ว. ทุพพลภาพพิการตลอดชีวิต ความรู้สึกตัวและความจำไม่ปกติไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ว. จึงเป็นคนไร้ความสามารถไม่สามารถฟ้องคดีด้วยตัวเองได้ ต้องอยู่ในความอนุบาลและให้ผู้อนุบาลดำเนินคดีแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง และแม้โจทก์ทราบว่าจำเลยร่วมเป็นเจ้าของรถบรรทุกหกล้อคันเกิดเหตุและเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 หรือไม่ ก็ตาม แต่โจทก์ไม่สามารถดำเนินคดีแทน ว. ได้จนกว่าจะมีคำสั่งศาลตั้งให้โจทก์เป็นผู้อนุบาลของ ว. เสียก่อน กรณีเช่นนี้การนับอายุความจึงต้องนับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/20 ที่บัญญัติให้อายุความสิทธิเรียกร้องของบุคคลวิกลจริตอันศาลจะสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ถ้าจะครบกำหนดลงในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้อนุบาล อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้มีผู้อนุบาล แต่ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นมีระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปีก็ให้กำหนดระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีดังกล่าว ซึ่งคดีนี้นอกจากโจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วมในฐานะส่วนตัวแล้ว โจทก์ยังฟ้องในฐานะเป็นผู้อนุบาลของ ว. ด้วย เมื่อนับระยะเวลานับแต่โจทก์เป็นผู้อนุบาลของ ว. ตามคำสั่งศาลวันที่ 21 สิงหาคม 2544 จึงครบอายุความหนึ่งปีในวันที่ 21 สิงหาคม 2545 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ข. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมวันที่ 29 มีนาคม 2545 จึงยังไม่ครบหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อนุบาล ว. คดีของโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ