พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8215/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันภาษีอากร: ผู้ค้ำประกันสละสิทธิให้เรียกผู้ขอผ่อนชำระก่อน ทำให้เป็นลูกหนี้ร่วม
สัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีอากรระบุว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระภาษีอากร เมื่อโจทก์ได้แจ้งจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 จะนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง โดยจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขอผ่อนชำระภาษีอากรโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระก่อน ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระก่อนและสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 และ 689 อันมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 24 แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในศาลภาษีอากรกลางอันเป็นการไม่ถูกต้อง และต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 24 แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในศาลภาษีอากรกลางอันเป็นการไม่ถูกต้อง และต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่มีเงื่อนไขกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เงื่อนไขตามสัญญาซื้อขายเครื่องจักรเพื่อใช้งานในโรงคัดเมล็ดพันธุ์ที่โจทก์ทำกับบริษัท อ. ระบุว่า ผู้ซื้อจะชำระเงินเป็น 4 งวด โดยชำระงวดสุดท้ายเมื่อทดสอบเครื่องจนใช้งานได้ดี นอกจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องส่งมอบเครื่องจักรและติดตั้งให้ผู้ซื้อภายในกำหนดแล้ว โจทก์ต้องออกแบบระบบโรงคัดเมล็ดพันธุ์และติดตั้งระบบไฟฟ้าควบคุมเครื่องจักรทั้งหมด ตลอดจนทดสอบเครื่องจักรให้ใช้งานได้ดีด้วย โดยสัญญากำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ของเครื่องจักรไว้ว่า ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อทันทีที่ส่งมอบจนกว่าจะมีการส่งมอบงานทั้งหมด ส่วนเงื่อนไขตามสัญญาซื้อขายเครื่องจักรเพื่อใช้ในโรงงานปรับปรุงคุณภาพข้าวที่โจทก์ทำกับบริษัท ร. มีข้อความทำนองเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ซื้อชำระเงินเป็น 3 งวด โดยมีสัญญาระบุว่าเครื่องจักรดังกล่าวจะถือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายจนกว่าจะมีการส่งมอบงานเสร็จเรียบร้อย ซึ่งผู้ขายจะต้องทำแบบโครงสร้างและให้คำแนะนำในการติดตั้งเครื่องจักร ทดสอบเดินเครื่องจนใช้งานได้ดี ตลอดจนฝึกสอนเจ้าหน้าที่ของผู้ซื้อจนใช้งานเป็นด้วย สัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าว จึงเป็นสัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบ เมื่อสัญญาทั้งสองฉบับดังกล่าวได้ทำขึ้นและมีการผ่อนชำระตามสัญญาก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไป ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 ข้อ 1 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันตัว จำเลยไม่มาศาล ศาลปรับนายประกัน และการผ่อนชำระค่าปรับ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ประกันตัวโดยตีราคาประกัน 100,000 บาท เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยที่ 1 ไม่มาศาล โดยผู้ประกันอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถูกกลุ่มบุคคลจับตัวไปจากบ้านพัก ศาลชั้นต้นไม่เชื่อข้ออ้างของผู้ประกัน ได้ออกหมายจับและปรับนายประกัน ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า อนุญาตให้ผู้ประกันผ่อนชำระค่าปรับเดือนละไม่น้อยกว่า 2,500 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่ใช่การยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ว่าจำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และในคดีอื่นๆ อีก 7 คดี โดยตกลงผ่อนชำระเป็นงวดๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับ โดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นๆ เป็นคดีไป แต่หากจำเลยทั้งสองผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองจะต้องผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละคดีจนครบจำนวนตามที่ตกลงกันดังกล่าวโจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญาแต่ละคดีอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และตามบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ฉบับดังกล่าวก็ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่า โจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันทีแต่อย่างใด จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์เห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ก็เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์เห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ก็เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การซื้อขายไม่เป็นเจตนาลวง สิทธิขับไล่เมื่อไม่ผ่อนชำระ
เดิมจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทที่จดทะเบียนจำนองแก่ธนาคาร ก. และจำเลยเป็นหนี้เงินกู้ยืมโจทก์จำนวนหนึ่ง ต่อมาธนาคาร ก. ทวงให้จำเลยชำระหนี้จำนอง จำเลยจึงตกลงทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ แล้วโจทก์นำไปจำนองธนาคาร ท. โดยมีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้แทนโจทก์เมื่อชำระครบถ้วนแล้วโจทก์จะโอนที่ดินและบ้านพิพาทคืนจำเลย ดังนั้น สัญญาขายบ้านและที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาที่แท้จริง แต่มีเงื่อนไขในการโอนกลับคืนอันถือเป็นข้อตกลงที่บังคับได้ การซื้อขายบ้านและที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่การแสดงเจตนาลวง แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ผ่อนชำระหนี้แทนโจทก์ และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทอีกต่อไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีซื้อขายสินค้า: ผ่อนชำระเป็นงวด vs. ชำระหนี้ทั้งหมด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขาย เป็นการที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย แม้โจทก์ยินยอมให้จำเลยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี หาใช่เป็นกรณีเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปีไม่ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าสินค้าของผู้ประกอบการค้า: 2 ปี หากผิดนัดชำระเป็นงวด แม้จะยินยอมผ่อนชำระ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการที่โจทก์ในฐานะผู้ประกอบการค้าเรียกค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 แล้ว แม้โจทก์จะยินยอมให้จำเลยที่ 1 แบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องหาใช่เป็นกรณีเงินต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามมาตรา 193/33(2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปีไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าสินค้า: ผู้ประกอบการค้า vs. ผ่อนชำระเป็นงวด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ค้างชำระตามสัญญาซื้อขาย เป็นการที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลย แม้โจทก์ยินยอมให้จำเลยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)ซึ่งมีอายุความ 2 ปี หาใช่เป็นกรณีเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปีไม่ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์2544 เกินกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับแต่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าของของผู้ประกอบการค้า: ผ่อนชำระเป็นงวด vs. ผ่อนทุนคืน
โจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกค่าของคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการส่งมอบให้แก่จำเลยแล้วตามสัญญาซื้อขายแม้โจทก์จะยินยอมให้จำเลยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ก็เป็นเพียงผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ เท่านั้น กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ซึ่งมีอายุความ2 ปี มิใช่เป็นกรณีเงินต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามมาตรา 193/33(2) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คแล้วกลับปฏิเสธการผ่อนชำระ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ระหว่างพิจารณา จำเลยและโจทก์ร่วมแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าคดีตกลงกันได้ โดยจำเลยจะชำระเงินตามเช็คพิพาท โดยชำระงวดแรกจำนวน 100,000 บาท งวดต่อไปทุกวันที่ 20 ของเดือนถัดไป โดยชำระไม่ต่ำกว่างวดละ 50,000 บาท และต้องชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันชำระงวดแรก โดยจำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามรายงานกระบวนพิจารณาเป็นหลักฐานแสดงว่าจำเลยยอมรับผิดตามฟ้อง และคดีไม่จำต้องสืบพยานอีกต่อไป แต่จำเลยและโจทก์ร่วมตกลงให้ศาลเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปเพื่อให้โอกาสจำเลยมีเวลาหาเงินมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ร่วม โดยจำเลยยังคงรับผิดในหนี้ตามเช็คทุกฉบับ รวมตลอดถึงโทษทางอาญาที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาในวันนัดที่เลื่อนไป จึงไม่มีการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลย ไม่มีการผ่อนผันลดจำนวนหนี้ลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของมูลหนี้ ต่อมาโจทก์ร่วมไม่ยอมรับเช็คธนาคาร (แคชเชียร์เช็ค) ที่จำเลยนำมามอบให้ และขอให้จำเลยผ่อนชำระหนี้งวดละไม่น้อยกว่า 150,000 บาท จำเลยยืนยันจะชำระหนี้ตามที่แถลงไว้ โจทก์ร่วมขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา จำเลยถอนคำให้การรับสารภาพพร้อมกับให้การปฏิเสธขอสู้คดีต่อไป ซึ่งศาลชั้นต้นสืบพยานของทั้งสองฝ่ายจนจบสิ้นกระแสความ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงเจตนาของโจทก์ร่วมและจำเลยว่าไม่ประสงค์ให้รายงานกระบวนพิจารณามีผลผูกพันให้โจทก์ร่วมและจำเลยต้องปฏิบัติตามโดยฝ่ายใดจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นอย่างอื่นไม่ได้ รายงานกระบวนพิจารณาจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)