พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้โดยเจ้าหนี้ไม่ถือเป็นการผ่อนเวลาตามกฎหมาย ทำให้ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดตามสัญญา
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้นจะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอน และมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องไม่ได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ใช้สิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อก็ดี โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 8 เดือน จึงยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก็ดี จึงมิใช่การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ อันจักทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 700
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4283/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - การผ่อนเวลาชำระหนี้ - อำนาจฟ้อง - ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบ
จำเลยได้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำนวน 2 แปลง มาเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันชำระหนี้แทน ศ. เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าผูกพันตนต่อโจทก์ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อ ศ. ไม่ชำระหนี้อันมีลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันครบถ้วนตามมาตรา 680 วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันตามเอกสารดังกล่าวในฐานะผู้ค้ำประกัน และแม้จำเลยจะมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ยึดถือไว้ด้วย ก็หาทำให้ผลของสัญญาค้ำประกันนั้นเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อจำเลยหาหลักประกันมาให้โจทก์ได้ โจทก์ก็อาจไม่ดำเนินคดีอาญาแก่ ศ. ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คได้หาใช่เป็นการอุปการะให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นอันจะทำให้สัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงไม่เป็นโมฆะ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ ศ. ตามคำพิพากษาอยู่แล้ว การที่โจทก์ยอมรับเครื่องทองรูปพรรณและเครื่องเพชรไว้โดยที่ยังไม่ดำเนินการบังคับคดีแก่ ศ. ยังไม่ถือเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม อันจะทำให้จำเลยซึ่งเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าวหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะโจทก์จะดำเนินการบังคับคดีแก่ ศ. เมื่อใดก็ได้
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อจำเลยหาหลักประกันมาให้โจทก์ได้ โจทก์ก็อาจไม่ดำเนินคดีอาญาแก่ ศ. ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คได้หาใช่เป็นการอุปการะให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นอันจะทำให้สัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงไม่เป็นโมฆะ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ ศ. ตามคำพิพากษาอยู่แล้ว การที่โจทก์ยอมรับเครื่องทองรูปพรรณและเครื่องเพชรไว้โดยที่ยังไม่ดำเนินการบังคับคดีแก่ ศ. ยังไม่ถือเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม อันจะทำให้จำเลยซึ่งเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าวหลุดพ้นจากความรับผิดเพราะโจทก์จะดำเนินการบังคับคดีแก่ ศ. เมื่อใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนและการผ่อนเวลาชำระหนี้ที่ไม่มีผลต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ พ. กระทำการและดำเนินการแทนในกิจการดังต่อไปนี้... เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่ง... เพื่อป้องกันรักษาผลประโยชน์หรือสิทธิต่าง ๆ รวมทั้งทรัพย์สินของโจทก์ การมอบอำนาจในลักษณะนี้แม้จะเป็นการมอบอำนาจทั่วไปตามมาตรา 801 แห่ง ป.พ.พ. แต่ก็มีการมอบอำนาจรวมถึงการฟ้องคดีแทนด้วย ทั้งการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีก็ไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใด และแม้ว่าขณะมอบอำนาจมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจดังกล่าวเสียไป พ. จึงมีอำนาจฟ้อง และมีอำนาจตั้งทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 801 (5)
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอน และมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้ เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงกำหนดชำระแล้ว โจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ หาใช่เป็นการยอมผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 700 แห่ง ป.พ.พ. อันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอน และมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้ เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงกำหนดชำระแล้ว โจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ หาใช่เป็นการยอมผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 700 แห่ง ป.พ.พ. อันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้และการหลุดพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกัน สัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าบางส่วนเป็นเงิน 52,000 บาท จากจำเลยที่ 1และที่ 2 ไปแล้ว ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อเป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกกันมิได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมได้รับผลเป็นคุณด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้นั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ซื้อสินค้าโจทก์ และจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 2จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็คฉบับเก่า แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้นั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ซื้อสินค้าโจทก์ และจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 2จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็คฉบับเก่า แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันสัญญาซื้อขาย: การผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดหากเจ้าหนี้ยังบังคับชำระหนี้ได้
จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าบางส่วนเป็นเงิน 52,000 บาทจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปแล้ว ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อเป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกกันมิได้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมได้รับผลเป็นคุณด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ซื้อสินค้าโจทก์ และจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้แม้จำเลยที่ 2 จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็คฉบับเก่า แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 จำเลยที่ 3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, การผ่อนเวลาชำระหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน/ทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา174เดิมซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้บัญญัติว่า"การฟ้องคดีท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงหากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย"ดังนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด ตามคำให้การของจำเลยที่15ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่15ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าวดังนั้นจำเลยที่15จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่15ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้ ร.ทำสัญญายืมเงินและสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่1ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วยร. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวเมื่อร.ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวจำเลยที่5ทายาทของร.จึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจากร. ผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่2ถึงจำเลยที่4และจำเลยที่6ถึงจำเลยที่8ซึ่งเป็นทายาทของร. แม้จะไม่ได้ฎีกาเหมือนจำเลยที่5ด้วยก็ตามแต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่5ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยดังกล่าวทุกคนด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)และมาตรา247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - ขอบเขตความรับผิด - การอนุมัติลาศึกษาต่อเพิ่มเติมไม่ถือเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้
สัญญาระหว่างโจทก์กับอ.มิได้ระบุระยะเวลาที่อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณต่างประเทศและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกันฉะนั้นการที่อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณต่างประเทศเป็นเวลา2ปีครบกำหนดแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้อ.ลาศึกษาต่อและลากิจเป็นเวลา4ปี5เดือนโดยจำเลยมิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้อ.ศึกษาต่ออีกนั้นแม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยผู้ค้ำประกันแต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดเมื่ออ.สำเร็จการศึกษาแล้วไม่กับมารับราชการกับโจทก์อันเป็นการผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้ที่อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยจึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อ.ต้องกลับมารับราชการในวันที่1มิถุนายน2525แต่อ.ไม่กลับมารับราชการตามกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงมีคำสั่งปลดออกจากราชการตั้งแต่วันที่1มิถุนายน2525ถือได้ว่าอ.ผิดสัญญาตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่8มีนาคม2532ยังไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้ต้องตกลงชัดเจนจึงทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด การไม่ทวงหนี้ไม่ใช่การผ่อนเวลา
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนื้ที่จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้นจะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้ กรณีที่เพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระ ไม่มีการตกลงผ่อนเวลาแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้คงยังมีสิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ ย่อมมิใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้ต้องมีข้อตกลงชัดเจน จึงจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้นจะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้กรณีที่เพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระ ไม่มีการตกลงผ่อนเวลาแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้คงยังมีสิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ ย่อมมิใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดได้ หากมีการตกลงผ่อนเวลาที่ชัดเจน
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น จะต้องตกลงผ่อนเวลากันแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้ หากเพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้