คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฝากทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9190/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการฝากทรัพย์ และการพิสูจน์ความรับผิดของจำเลยร่วม
จำเลยรับจ้างโจทก์ขนถ่ายรถยนต์ที่โจทก์สั่งซื้อมาจากต่างประเทศขึ้นจากเรือและรับฝากไว้ที่ลานพักสินค้ากลางแจ้งของจำเลย การที่จำเลยขนถ่ายรถยนต์ทั้งหมดขึ้นจากเรือเสร็จแล้ว โจทก์มิได้รับรถยนต์ไปทันที แต่ได้ให้จำเลยเก็บรักษาไว้ที่ลานพักสินค้าของจำเลยโดยมีการคิดค่าเก็บรักษา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จรวมอยู่ด้วยซึ่งหากรถยนต์ได้รับความเสียหาย จำเลยผู้รับฝากทรัพย์ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้ฝาก การฟ้องเรียกค่าซ่อมแซมรถยนต์เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์อันมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 671 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้น 6 เดือนนับจากวันที่โจทก์รับรถยนต์คืนไปจากจำเลยอันเป็นเวลาสิ้นสัญญาฝากทรัพย์ สิทธิเรียกร้องของโจทก์สำหรับจำเลยจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9190/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการฝากทรัพย์: สัญญาฝากทรัพย์มีอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 671
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของท่าเทียบเรือและรับจ้างขนสินค้าขึ้นจากเรือได้ขนถ่ายรถยนต์ของโจทก์ทั้งหมด ขึ้นจากเรือเสร็จแล้ว โจทก์มิได้รับรถยนต์ไปทันที แต่ได้ให้จำเลยเก็บรักษาไว้ที่ลานพักสินค้าของจำเลย โดยมีการ คิดค่าเก็บรักษา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จรวมอยู่ด้วย ซึ่งหากรถยนต์ได้รับความเสียหาย จำเลยผู้รับฝากต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้ฝาก การฟ้องเรียกค่าซ่อมแซมรถยนต์เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหม ทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ อันมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 671 โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539 จึงเกินกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์รับรถยนต์ คืนไปจากจำเลยอันเป็นวันสิ้นสัญญาฝากทรัพย์ สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจอดรถเป็นการฝากทรัพย์ จำเลยต้องรับผิดชอบรถหาย
โจทก์นำรถจักรยานยนต์ไปจอดไว้ที่สถานที่รับจอดรถของจำเลยโดยจำเลยคิดค่าบริการเป็นรายวันและออกบัตรอนุญาตจอดรถให้ โจทก์นำรถเข้าไปจอดในบริเวณสถานที่รับจอดรถของจำเลย โจทก์ล็อกกุญแจรถและเก็บกุญแจไว้ที่โจทก์ ในระหว่างจอดพนักงานของจำเลยเป็นผู้ดูแลรถโจทก์ หากโจทก์จะนำรถออกจากสถานที่จอดรถต้องแสดงบัตรอนุญาตต่อพนักงานของจำเลยซึ่งเฝ้าประตูทางเข้าออก หากไม่มีบัตรอนุญาตมาแสดง พนักงานของจำเลยจะไม่อนุญาตให้โจทก์นำรถออกจากสถานที่จอดรถ แสดงว่าโจทก์ส่งมอบรถจักรยานยนต์พิพาทให้จำเลยและจำเลยยอมรับรถจักรยานยนต์พิพาทจากโจทก์มาอยู่ในความอารักขาของจำเลยแล้ว โดยมีพนักงานของจำเลยเป็นผู้ดูแลรถ แม้บัตรอนุญาตให้จอดรถจักรยานยนต์จะไม่มีข้อความใดระบุว่าเป็นการรับฝากรถก็ตาม แต่การปฏิบัติระหว่างโจทก์และจำเลยเข้าลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 657 เมื่อรถจักรยานยนต์พิพาทของโจทก์หายไปในระหว่างการรับฝากของจำเลย จำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9284/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของโรงแรมต่อทรัพย์สินของแขกที่สูญหาย: จำกัดความรับผิดไว้ที่ 500 บาท หากไม่ได้ฝากทรัพย์สิน
โจทก์ สามี และบุตรเข้าพักที่โรงแรมของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินการแทน ก่อนนอนโจทก์ได้ถอดตุ้มหูเพชร สร้อยคอทองคำ นาฬิกาข้อมือฝังเพชร เข็มกลัดเพชร วางไว้บนโต๊ะเครื่องแป้ง ตื่นขึ้นมาปรากฏว่าทรัพย์สินต่าง ๆ หายไป รวมราคาทั้งสิ้น 2,920,000 บาท เจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบที่เกิดเหตุแล้วเห็นว่าคนร้ายสามารถเข้าห้องโดยประตูทางเข้าเท่านั้น โจทก์ยืนยันว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสามที่ไม่ดูแลกุญแจให้ดีปล่อยให้ใคร ๆ เอากุญแจไปใช้ได้ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามประมาทเลินเล่ออย่างใดอันทำให้มีผลโดยตรงทำให้ทรัพย์ของโจทก์สูญหาย ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามทำละเมิดต่อโจทก์
ทรัพย์สินของโจทก์ที่หายคือ นาฬิกาเรือนทองฝังเพชร สายสร้อยคอทองคำ เหรียญหลวงพ่อคูณกรอบทองคำล้อมเพชร พระนางพญาเลี่ยมทอง ตุ้มหูเพชร เข็มกลัดเพชร และเงินสด ทรัพย์สินดังกล่าวเกี่ยวด้วยเงิน ทอง ตรา ธนบัตร อัญมณีและของมีค่าอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสอง ให้จำกัดความรับผิดไว้เพียง 500 บาท เว้นแต่จะได้ฝากของมีค่าเช่นนี้ไว้แก่เจ้าสำนักและได้บอกราคาแห่งของนั้นชัดแจ้ง โจทก์เป็นคนเดินทางหรือแขกอาศัยเมื่อไม่ฝากของมีค่าไว้ เจ้าสำนักจึงรับผิดเพียง 500 บาท ไม่ว่าของมีค่านั้นผู้เดินทางจะสวมใส่มาโดยเปิดเผยหรือไม่ก็ตามและหาใช่ว่าจะต้องฝากทรัพย์สินเฉพาะผู้ลงทะเบียนเข้าพักในโรงแรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6885/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฝากทรัพย์: การชำระดอกเบี้ยรายปีเป็นการรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ฟ้องเรียกเงินฝากที่ อ. ฝากไว้คืนจากจำเลย ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อใช้เงินบำเหน็จ ค่าฝากทรัพย์ชดใช้เงินค่าใช้จ่าย และใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 671 จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้ตามสำเนาสมุดเงินฝากประจำมีการแสดงยอดเงินคงเหลือครั้งสุดท้ายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ตามระเบียบการฝากเงินประจำโดยใช้สมุดคู่ฝากที่ปรากฏในสำเนาสมุดเงินฝากประจำข้อ 3 ระบุว่า การฝากทุก ๆ รายการจำเลยถือว่าผู้ฝากประจำตกลงฝากประจำมีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันเดือนปีที่ปรากฏของแต่ละรายการนั้น ๆ และข้อ 4 ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยจำเลยคำนวณให้เช่นเดียวกับเงินฝากประจำอื่น ดังนี้ ?ฯลฯ ฝากตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปและได้ฝากครบกำหนดระเวลานั้น คำนวณดอกเบี้ยให้ร้อยละ 8 ต่อปี กับข้อ 5 ระบุว่า ระเบียบการนอกจากนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบและประเพณีพึงปฏิบัติของธนาคารทุกประการ โดยระเบียบและประเพณีและข้อตกลงดังกล่าวจำเลยต้องแสดงยอดเงินฝากคงเหลือของเงินฝากแต่ละรายการพร้อมดอกเบี้ยทุกระยะ 1 ปี ต่อครั้งให้แก่ผู้ฝาก แม้จะยังมิได้แสดงไว้ในสำเนาสมุดเงินฝาก ก็ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยทุกระยะเวลา 1 ปี อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อ ผู้ฝากด้วย การชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและอายุความจะสะดุดหยุดลงเรื่อยไปทุกระยะเวลา 1 ปี ฉะนั้น แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินฝากคืนพร้อมดอกเบี้ยหลังจากที่จำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินประมาณเกือบสองปีแล้ว ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6885/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกเงินฝาก: การรับสภาพหนี้จากการชำระดอกเบี้ยทำให้สะดุดหยุดอายุความ
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ฟ้องเรียกเงินฝากที่ อ. ฝากไว้คืนจากจำเลยไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อใช้เงินบำเหน็จ ค่าฝากทรัพย์ชดใช้เงินค่าใช้จ่ายและใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ต้องใช้อายุความ 10 ปี
แม้ตามสำเนาสมุดเงินฝากประจำมีการแสดงยอดเงินคงเหลือครั้งสุดท้ายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ตามระเบียบการฝากเงินประจำโดยใช้สมุดคู่ฝากที่ปรากฏในสำเนาสมุดเงินฝากประจำข้อ 3 ระบุว่าการฝากทุก ๆ รายการ จำเลยถือว่าผู้ฝากตกลงฝากประจำมีกำหนดระยะเวลา1 ปี นับแต่วันเดือนปีที่ปรากฏของแต่ละรายการนั้น ๆ และข้อ 4 ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยจำเลยคำนวณให้เช่นเดียวกับเงินฝากประจำอื่นดังนี้ ฯลฯฝากตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปและได้ฝากครบกำหนดระยะเวลานั้น คำนวณดอกเบี้ยให้ร้อยละ 8 ต่อปี กับข้อ 5 ระบุว่า ระเบียบการนอกจากนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบและประเพณีพึงปฏิบัติของธนาคารทุกประการโดยระเบียบประเพณีและข้อตกลงดังกล่าว จำเลยต้องแสดงยอดเงินฝากคงเหลือของเงินฝากแต่ละรายการพร้อมดอกเบี้ยทุกระยะ 1 ปี ต่อครั้งให้แก่ผู้ฝาก แม้จะยังมิได้แสดงไว้ในสำเนาสมุดเงินฝาก ก็ถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติการชำระดอกเบี้ยทุกระยะเวลา 1 ปี อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อผู้ฝากด้วย การชำระดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงและอายุความจะสะดุดหยุดลงเรื่อยไปทุกระยะเวลา 1 ปี ฉะนั้น แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกเงินฝากคืนพร้อมดอกเบี้ยหลังจากที่จำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินประมาณเกือบสองปีแล้วก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9278/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากทรัพย์: การรับฝากรถและผลของการส่งมอบบัตรรับฝากรถ
จำเลยอาศัยที่วัดเป็นสถานที่เพื่อให้คนมาฝากรถ จึงเป็นเรื่องชัดแจ้งว่าจำเลยทำธุรกิจรับฝากทรัพย์ โดยจำเลยรับค่าบริการจากฝ่ายโจทก์ แล้วมอบบัตรให้มีข้อความว่า "รับฝากรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ขอบคุณที่ใช้บริการ(กรุณาอย่าทำบัตรหาย)" โดยมีหมายเลขกำกับ อันแสดงว่าฝ่ายโจทก์จะรับรถคืนได้ต่อเมื่อคืนบัตรให้แก่ฝ่ายจำเลย ดังนี้มีผลเท่ากับฝ่ายโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินไว้ในอารักขาของฝ่ายจำเลยแล้ว การที่ไม่ได้มอบลูกกุญแจให้ไว้ด้วย หาใช่สาระสำคัญไม่ การปฏิบัติระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยเป็นการฝากทรัพย์ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9278/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากทรัพย์: การส่งมอบทรัพย์สินเพื่อการดูแลรักษา แม้ไม่ได้ส่งมอบกุญแจก็ถือเป็นการฝากทรัพย์ได้
จำเลยอาศัยที่วัดเป็นสถานที่เพื่อให้คนมาฝากรถ จึงเป็นเรื่องชัดแจ้งว่าจำเลยทำธุรกิจรับฝากทรัพย์ ประกอบกับฝ่ายจำเลยรับค่าบริการจากฝ่ายโจทก์ที่นำรถมาฝาก แล้วฝ่ายจำเลยมอบบัตรให้มีข้อความว่า "ธ. ไฟบริการ รับฝากรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ขอบคุณที่ใช้บริการ (กรุณาอย่าทำบัตรหาย)" โดยมีหมายเลขกำกับ อันแสดงว่าฝ่ายโจทก์จะรับรถคืนได้ต่อเมื่อคืนบัตรให้แก่ฝ่ายจำเลยดังนี้ มีผลเท่ากับว่า ฝ่ายโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินไว้ในอารักขาของฝ่ายจำเลยแล้วการที่ไม่ได้มอบลูกกุญแจให้ไว้ด้วย หาใช่สาระสำคัญไม่ การปฏิบัติระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย เป็นการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งจำนำทรัพย์ไม่เกี่ยวเนื่องกับความรับผิดฝากทรัพย์ ศาลไม่รับฟ้องแย้งชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับฝากสินค้าปุ๋ยของโจทก์ไว้ในคลังสินค้าของจำเลยโดยได้รับบำเหน็จ จำเลยหา ได้ใช้ ความระมัดระวังและฝีมือเพื่อสงวนรักษาปุ๋ยของโจทก์ เหมือนเช่นวิญญูชนพึงประพฤติ เป็นเหตุให้ปุ๋ยของโจทก์ ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายไปบางส่วน ซึ่งจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยรับฝากปุ๋ยของโจทก์ตามฟ้อง ขณะเกิดเหตุอุทกภัยจำเลย ได้ใช้ความระมัดระวังเช่นวิญญูชนพึงประพฤติและใช้ฝีมือพิเศษเฉพาะการณ์แล้วแต่น้ำได้เพิ่มสูงรวดเร็วและไหลแรงสุดวิสัยที่จะป้องกันได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดกับโจทก์ได้สลักหลังใบประทวนสินค้าและทำสัญญาจำนำสินค้าดังกล่าวมอบไว้กับจำเลย โจทก์รับเงินไปครบถ้วนแล้วแต่โจทก์ไม่ชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยบางส่วนดังนี้แม้ทรัพย์ที่ฝากและทรัพย์ที่จำนำจะเป็นทรัพย์รายเดียวกันแต่มูลเหตุให้ใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้รับผิดตามฟ้องและฟ้องแย้งนั้น โจทก์จำเลยต่างอาศัยมูลเหตุของสัญญาต่างกัน ฟ้องแย้งเกี่ยวกับเรื่องโจทก์ผิดสัญญาจำนำจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมซึ่งเป็นเรื่องความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ ทั้งฟ้องแย้งเกี่ยวกับจำนำเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังการฝากทรัพย์แล้วจึงไม่เกี่ยวพันกันฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามและมาตรา 179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับฝากทรัพย์ที่สูญหาย
โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดไป และเมื่อได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถจักรยานยนต์ย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ หรือหากเลิกสัญญาเช่าซื้อกัน โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถจักรยานยนต์คืนให้ผู้เช่าซื้อในสภาพเดิม ดังนั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์นำมาฝากจำเลยได้สูญหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย จนเป็นเหตุจำเลยไม่สามารถคืนรถจักรยานยนต์ซึ่งรับฝากนั้นให้แก่โจทก์ผู้ฝาก จำเลยต้องรับผิดคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากหรือชดใช้ราคาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากทรัพย์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาทรัพย์ซึ่งรับฝากได้
of 5