พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร
คำสั่งที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารเป็นคำสั่งของนายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 42 ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำการแทนเทศบาลจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จึงไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้วโจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์และได้แจ้งผลการวินิจฉัยให้โจทก์ทราบแล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้วโดยด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 และไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 ดังนั้นที่นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหา ให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5308/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะกรรมโอนหุ้นบริษัทประกันชีวิตฝ่าฝืนกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต
จำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 รับโอนหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 ส่วนของโจทก์ไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ มาตรา 28 กำหนดว่านอกเหนือจากการประกันชีวิต ให้บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตลงทุนประกอบธุรกิจอื่นใดได้เฉพาะที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการควบคุมบริษัทประกันชีวิตให้นำเงินไปลงทุนได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 11 ที่จำเลยที่ 1 ถือหุ้นดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะเป็นบริษัทที่มีทรัพย์สินเกินกว่าหนี้สินและไม่มีฐานะเป็นบริษัทที่มีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปีของทุนที่ชำระแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีก่อนที่ซื้อหุ้นนั้นตามหลักเกณฑ์การลงทุนของบริษัทประกันชีวิตที่กำหนดในกฎกระทรวง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตได้ลงทุนประกอบธุรกิจอันเป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2519) ออกตามความใน พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการโอนหุ้นดังกล่าว จึงเป็นการทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย นิติกรรมการโอนหุ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 ตัวแทนของจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์โอนหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 โดยเจตนาลวง ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 แทนจำเลยที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ กับการที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ได้หรือไม่ ล้วนเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลสูงย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์โอนหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 โดยเจตนาลวง ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 ถึงที่ 10 ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 11 แทนจำเลยที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ กับการที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์ได้หรือไม่ ล้วนเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลสูงย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับอาคารควบคุมการใช้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร: โทษปรับรายวัน, การแก้ไขโทษ, และการพิจารณาโทษซ้ำ
จำเลยได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว แต่การที่จำเลยจะใช้อาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นต้องได้รับการตรวจสอบและใบรับรองให้ใช้อาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน การที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารแต่กลับเข้าใช้อาคารจึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม ฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่ได้ใบรับรองให้ใช้อาคารซึ่งเป็นเจตนากระทำผิดกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นการเข้าใช้ในกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง หรือเข้าใช้เพื่อกิจการอื่นต่างจากที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่
จำเลยใช้อาคารดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งเป็นอาคารควบคุมการใช้เช่นเดียวกับที่จำเลยใช้เพื่อดำเนินกิจการพาณิชยกรรมตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32(1)(2)แต่การจะเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรม ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนตามมาตรา 33 วรรคสอง เมื่อจำเลยยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนจึงเป็นการฝ่าฝืนใช้อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรมไปใช้เพื่อกิจการอื่น อันเป็นความผิดตามมาตรา 32 วรรคท้าย และมาตรา 33 วรรคสองอีกกระทงหนึ่ง
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารฯ เป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้ แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งคำสั่งให้ระงับการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกันและจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งในขณะเดียวกันก็ตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารประเภทควบคุมการใช้ใช้อาคารเพื่อกิจการอื่นนอกจากที่ระบุในใบอนุญาตจำคุก2 เดือน ปรับ 40,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ที่ให้ปรับจำเลยอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
จำเลยใช้อาคารดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งเป็นอาคารควบคุมการใช้เช่นเดียวกับที่จำเลยใช้เพื่อดำเนินกิจการพาณิชยกรรมตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32(1)(2)แต่การจะเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรม ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนตามมาตรา 33 วรรคสอง เมื่อจำเลยยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนจึงเป็นการฝ่าฝืนใช้อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรมไปใช้เพื่อกิจการอื่น อันเป็นความผิดตามมาตรา 32 วรรคท้าย และมาตรา 33 วรรคสองอีกกระทงหนึ่ง
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารฯ เป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้ แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งคำสั่งให้ระงับการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกันและจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งในขณะเดียวกันก็ตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารประเภทควบคุมการใช้ใช้อาคารเพื่อกิจการอื่นนอกจากที่ระบุในใบอนุญาตจำคุก2 เดือน ปรับ 40,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ที่ให้ปรับจำเลยอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ฐานฝ่าฝืนกฎหมายและบทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบันการเงิน, อายุความ, และการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และโจทก์ได้นำสืบถึงการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกที่กระทำแต่ละกรรมอย่างละเอียดแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทำความผิดไปได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ช. มีหน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆของบริษัทให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ทั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัท ช. ปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามของบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น และแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทดังกล่าวก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆที่เกิดขึ้นแก่บริษัท ช. ที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบบริหารงานได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายทั้งการที่คณะกรรมการไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 ไม่เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 หาได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯมาตรา 75 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี จึงมีอายุความสิบปี เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ช. มีหน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆของบริษัทให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ทั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัท ช. ปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามของบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น และแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทดังกล่าวก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆที่เกิดขึ้นแก่บริษัท ช. ที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบบริหารงานได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายทั้งการที่คณะกรรมการไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 ไม่เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 หาได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯมาตรา 75 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี จึงมีอายุความสิบปี เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยต้องยื่นคำร้องก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น ศาลมีอำนาจเพิกถอน/แก้ไขกระบวนการ
คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตาม น.ส. 3 รวม 12 แปลง เป็นของโจทก์และขับไล่จำเลย และบริวารออกจากที่ดินพิพาทและให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยไม่ส่งมอบที่ดิน 12 แปลงแก่โจทก์ตามคำพิพากษา หลังจากศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องว่า ที่ดินพิพาทมีเนื้อที่หลายร้อยไร่และยังมีปัญหาโต้แย้งแนวเขต ที่ดินกับจำเลย จะมีปัญหาในการบังคับคดี ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้น เห็นว่าโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งในเนื้อที่ดินพิพาท จึงให้นัดไต่สวน ต่อมาเมื่อสืบพยานโจทก์ไปบางส่วนแล้วศาลชั้นต้น มีคำสั่งงดการไต่สวนโดยวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไปว่ากล่าวเป็นคดีต่างหาก ถ้าการบังคับคดีเป็นที่เสียหายแก่จำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นอำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งเช่นนั้นได้
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
เมื่อการบังคับคดีได้เสร็จลงเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดิน, ภารจำยอม, สิทธิใช้สโมสรและสระว่ายน้ำ, การฝ่าฝืนกฎหมายการจัดสรรที่ดิน
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าสัญญาใดจริง สัญญาใดปลอมแต่บรรยายว่าสัญญาตัวจริงหรือสัญญาซึ่งเจตนาให้มีผลผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าคือ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมกัน ส่วนสัญญา 3 ฉบับตามฟ้องทำขึ้นอำพรางสัญญาซื้อขายที่แท้จริงเพื่อช่วยเหลือให้จำเลยทั้งห้าเสียภาษีน้อยลงจำนวนเงินที่ซื้อขายตามสัญญาตัวจริง และสัญญาที่ทำขึ้นไว้เพื่ออำพรางจะเป็นจำนวนเงินเท่าใด ไม่เป็นประเด็นข้ออ้างแห่งคดีของโจทก์และเป็นเพียงรายละเอียดที่นำสืบได้ใน ชั้นพิจารณา จำเลยทั้งห้าก็เข้าใจและให้การต่อสู้คดีตามฟ้องของโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยทั้งห้าร่วมกันจัดสรรที่ดินในโครงการสวัสดีทาวน์แมนชั่น แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็เป็นเพียงการ ดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายเท่านั้น การดำเนินการของจำเลยทั้งห้าต้องด้วยหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดิน ย่อมต้องอยู่ภายใต้ บังคับของกฎหมายที่ให้มีการจัดให้มีสาธารณูปโภค และให้ถือว่าสาธารณูปโภคดังกล่าวตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจาก จำเลยทั้งห้าจึงมีสิทธิใช้สโมสรกับสระว่ายน้ำที่ จำเลยทั้งห้าจัดสร้างขึ้นได้ โจทก์ยอมรับว่าสโมสรกับสระว่ายน้ำตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 43838 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 206458 ของจำเลยที่ 5ไม่ได้อยู่ใกล้กับสโมสรและสระว่ายน้ำ ที่ดินโฉนดเลขที่ 206458ของจำเลยที่ 5 จึงไม่ตกอยู่ในภารจำยอมของที่ดินโฉนดเลขที่ 191057 และ 191066 ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมาย, จำเป็นต้องไต่สวนและรับฟังทุกฝ่าย
คำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของจำเลย อ้างว่าพนักงานของโจทก์และผู้ซื้อทรัพย์สนิทสนมกับเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาขายทอดตลาดในครั้งแรก คำร้องมีข้อความครบถ้วนแสดงให้เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองแล้ว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการไม่ชอบ แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องและสำเนาให้ทุกฝ่ายคัดค้าน แล้วทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีนั้นก็ยังไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยทั้งสองไว้ดำเนินการไต่สวนต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้ยืนหลักการรื้อถอนอาคารที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร แม้แก้ไขไม่ได้ และเจ้าของ/ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายพิเศษการฟ้องบังคับตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องที่กฎหมายมีวัตถุประสงค์ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะคุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงฟ้องขอให้บังคับให้รื้อถอนได้เสมอหากอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับได้ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 กำหนดว่าการก่อสร้างดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนกฎหมายในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น โจทก์จึงฟ้องบังคับ จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ครอบครองอาคารพิพาทได้ อาคารพิพาทเป็นตึกแถว จึงอยู่ในบังคับของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 76(4) ให้ต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมไว้เป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตรการที่อาคารของจำเลยทุกห้องมีการดัดแปลงก่อสร้างต่อเติมเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเต็มที่ว่างด้านหลังอาคารทุกชั้นรวมทั้งการต่อเติมอีก 2 ชั้น ดังกล่าวย่อมเห็นได้โดยสภาพว่าไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครฯ ดังกล่าวได้ นอกจากจะรื้อถอนส่วนที่ดัดแปลงก่อสร้างต่อเติมดังกล่าวออกไป การที่โจทก์สั่งให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 รื้อถอนโดยไม่สั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ และการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญากู้รวม 3 ฉบับ จำนวนเงินฉบับละ 50,000 บาท 40,000 บาท และ 110,000 บาทตามลำดับ รวมแล้วเป็นเงินต้น 200,000 บาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์เพียง 100,000 บาท และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ครบตามสัญญาเพราะโจทก์หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า 6,000 บาท เป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 3 จะนำสืบว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่าได้รับเงินจริงจากโจทก์เพียง 94,000 บาท จึงนำสืบไม่ได้
คำฟ้องของโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญากู้แต่ละฉบับในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 2 และที่ 3จะนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ศาลจะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เพราะเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และแม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาแต่เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายมาสู่ศาลฎีกาตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าได้รับเงินจากโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 หรือไม่ศาลฎีกาก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมายเสียใหม่ได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นอีก
คำฟ้องของโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ทั้ง 3 ฉบับ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญากู้แต่ละฉบับในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธ จำเลยที่ 2 และที่ 3จะนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ศาลจะฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้เพราะเป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และแม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาแต่เมื่อมีปัญหาข้อกฎหมายมาสู่ศาลฎีกาตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าได้รับเงินจากโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 หรือไม่ศาลฎีกาก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงที่ชอบด้วยกฎหมายเสียใหม่ได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสมตามมูลค่าทรัพย์สิน การประเมินราคาต่ำกว่าความเป็นจริงถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้น กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงสุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลในครั้งนั้นต่ำไปเป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรได้ราคาสูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายที่ดินพิพาทสองแปลงแก่ผู้ร้องที่ให้ราคาสูงสุดจำนวนเงิน 650,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ผู้ร้องเคยรับจำนองและรับผลประโยชน์จากการประกันภัยในวงเงินรวมกัน 1,000,000 บาท แม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งนอกจากเป็นการประเมินเพื่อประโยชน์ของโจทก์และทำให้ผู้คัดค้านเสียหายแล้ว การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประเมินราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขายและเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เป็นการประมาณราคาแบบคราว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้นผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ผู้ร้องรับจำนองประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองถึง 5 ปี ราคาน่าจะสูงขึ้นไปอีกมาก และแม้จะมีการอนุญาตให้ขายทอดตลาดมาหลายครั้งแต่การขายทอดตลาดคดีนี้เป็นการขายทอดตลาดอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอหากมีการขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308