คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฝ่าฝืนข้อบังคับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047-4053/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย และการฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท
การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ซึ่งอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างเอง หรือเหตุอื่นที่มิใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเพราะเหตุที่หยุดงานเพื่อชุมนุมเรียกร้องที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่มีเหตุสมควรและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ห้ามพนักงานจำเลยชุมนุมกันภายในบริษัท และห้ามพนักงานหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงาน ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ดที่เพียงพอแก่การเลิกจ้างได้ ส่วนการที่จำเลยไม่เลิกจ้างหรือลงโทษพนักงานอื่นที่ร่วมชุมนุมเรียกร้องกับโจทก์ทั้งเจ็ดนั้น เป็นดุลพินิจในการบริหารจัดการของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กรณีที่ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นการจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ไม่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นตามความประสงค์ของลูกจ้างแล้วหรือไม่ ก็ต้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) แล้ว
โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันที่หน้าบริษัทจำเลยโดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้องตามกฎหมายและไม่ได้เข้าทำงานในวันที่ 14 วันที่ 15 และวันที่ 17 มิถุนายน 2543 การละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของจำเลยมิให้ดำเนินไปได้ตามปกติทำให้จำเลยขาดรายได้ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายส่วนการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยในข้อวินัย 1.4(1)(2) แม้ข้อบังคับดังกล่าวจะไม่ได้ระบุว่าเป็นกรณีร้ายแรงแต่ก็ไม่ได้ระบุว่าการฝ่าฝืนข้อบังคับในข้อนี้เป็นกรณีไม่ร้ายแรงซึ่งกรณีจะถือว่าร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาจากการกระทำของโจทก์ทั้งเจ็ด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดชุมนุมกันภายในบริษัทจำเลยและหยุดงานประท้วงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 ซึ่งมีโทษทางอาญาตามมาตรา 134 จึงเป็นกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำการล่วงเกินทางเพศและฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท ถือเป็นกรณีร้ายแรงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นว่าพนักงานทดลองงานจะผ่านการทดลองงานหรือไม่ การที่โจทก์อาศัยอำนาจหน้าที่ชักชวนพนักงานหญิงที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาออกไปเที่ยวเตร่กับโจทก์ในเวลาค่ำคืนนอกเวลางาน หากไม่ไป โจทก์จะเสนอความเห็นไม่ยอมให้ผ่านการทดลองงาน หรือโจทก์ชักชวนให้ผู้สมัครงานหญิงไปรับประทานอาหารและฟังเพลงในช่วงเวลาที่จะรับบุคคลดังกล่าวเข้าทำงาน แสดงว่า โจทก์ประสงค์ที่จะกระทำการล่วงเกินทางเพศนั่นเอง นอกจากจะเป็นการประพฤติผิดศีลธรรมหรือจารีตประเพณีอันดีงามของสังคมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการบริหารงานบุคคลของจำเลยและความเจริญของกิจการ โดยทำให้พนักงานที่ไม่ยอมกระทำตามความประสงค์โจทก์และถูกโจทก์กลั่นแกล้งขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน การฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงานของโจทก์จึงเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4) และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจะพิจารณาจ่ายโบนัสตามผลประกอบการและผลงานของพนักงาน นับแต่ปี 2540 เป็นต้นมาจำเลยไม่ได้จ่ายโบนัสเพราะผลประกอบการขาดทุน อุทธรณ์โจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับโบนัสในปี 2542 เพราะในปีดังกล่าวจำเลยมีผลกำไรในการประกอบการเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างใช้เวลาทำงานว่าความให้เพื่อนร่วมงาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับองค์กรและละเลยหน้าที่
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ต้องทำงานให้แก่จำเลยในวันและเวลาทำงานเพื่อตอบแทนค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน แต่โจทก์กลับเอาเวลาที่ต้องทำงานให้แก่จำเลยไปว่าความให้แก่ จ.ซึ่งฟ้องผู้บังคับบัญชาในข้อหาหมิ่นประมาทอันสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่จำเลย เป็นการสนับสนุนให้พนักงานของจำเลยฟ้องร้องกันเอง ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างพนักงานอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลย การกระทำของโจทก์ดังกล่าว นอกจากจะเสียเวลาปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ซึ่งจะต้องทำงานให้แก่จำเลยแล้ว ยังทำให้ผู้บังคับบัญชาและพนักงานหลายคนของจำเลยต้องมาเสียเวลาเกี่ยวกับเรื่องนี้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ข้อบังคับ คำสั่งและระเบียบแบบแผนให้เกิดผลดีแก่จำเลยตามข้อบังคับของจำเลยด้วย เมื่อโจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิลงโทษโจทก์ได้ตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มเบียร์ขณะปฏิบัติหน้าที่ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่นำพนักงานของจำเลยที่ได้รับบาดเจ็บระหว่างทำงานส่งโรงพยาบาล ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของบุคคล การดื่มเบียร์ซึ่งเป็นสิ่งมึนเมาย่อมทำให้การปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและอาจก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้อื่นได้ ทั้งจำเลยก็ได้กำหนดไว้ในมาตรการทางวินัย อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าเป็นกรณีร้ายแรงด้วย ดังนี้ การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยได้ร่วมดื่มเบียร์กับพนักงานอื่น ๆในบริเวณโรงงานขณะปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับทำงาน แม้ไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ขณะเกิดเหตุ โรงแรมจำเลยกำลังมีงานจัดเลี้ยงภายในบริเวณโรงแรม โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยดื่มสุรามึนเมาภายในบริเวณโรงแรมเมื่อพ้นเวลาปฏิบัติหน้าที่ไปแล้วสามชั่วโมง แต่โจทก์ยังอยู่ในชุดทำงานและมิได้ตอกบัตรลงเวลาเลิกงาน โจทก์ล้มนอนหงายเท้าถีบตู้กระจกแสดงสินค้าของลูกค้าโรงแรมจำเลยแตกเสียหาย ดังนี้ เมื่อตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ระบุว่า ดื่มเครื่องดองของเมาในขณะปฏิบัติหน้าที่หรือภายในบริเวณบริษัทฯ และมาทำงานในขณะที่มีอาการมึนเมา หรือมึนเมาจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายได้เนื่องจากเสพเครื่องดองของเมาหรือยาเสพติดให้โทษอื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า ดื่มเครื่องดองของเมาหรือมึนเมาในขณะปฏิบัติหน้าที่หรือขณะทำงานหรือมึนเมาจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่กรณีของโจทก์เป็นเรื่องมึนเมาสุราหลังจากพ้นเวลาปฏิบัติหน้าที่หรือการทำงานแล้วจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อนี้ ส่วนการที่โจทก์ดื่มสุราจนเมาล้มลงเท้าถีบตู้กระจกของลูกค้าจำเลยแตกเสียหายนั้น เมื่อไม่ใช่เรื่องโจทก์เจตนาทำลายทรัพย์สิน ชื่อเสียง และความมั่นคงของจำเลยแม้จะมีการจัดเลี้ยงอยู่ในบริเวณโรงแรมจำเลย แต่บริเวณที่โจทก์เมาสุรา และล้มลงเท้าถีบตู้กระจกลูกค้าจำเลยแตกนั้นไม่ปรากฏว่าเป็นบริเวณที่จัดเลี้ยง จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียชื่อเสียงและความมั่นคงของจำเลยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ระบุ ความผิดประเภทที่ว่า"เจตนาทำลายทรัพย์สิน ชื่อเสียง และความมั่นคงของบริษัท"การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานประเภทนี้เช่นเดียวกัน สำหรับความผิดประเภท ข ที่ระบุว่า "อยู่ภายในบริเวณบริษัทฯ หลังจากพ้นเวลาปฏิบัติหน้าที่แล้ว หรือกลับเข้ามาในบริเวณบริษัทฯ ขณะที่ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่หรือในขณะที่ลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควร พนักงานทุกคนต้องออกจากบริเวณบริษัทฯ ภายในครึ่งชั่วโมงหลังจากที่พ้นเวลาปฏิบัติหน้าที่แล้ว (พนักงานระดับบริหารและหัวหน้าแผนกต่าง ๆถือว่าปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลาในขณะที่อยู่ในบริเวณบริษัทฯ)"เมื่อการกระทำผิดในข้อนี้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานของจำเลยได้กำหนดโทษสำหรับความผิดประเภทนี้ไว้ถึง 3 ขั้น คือ ความผิดครั้งที่หนึ่ง ออกหนังสือเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร ความผิดครั้งที่สอง ออกหนังสือเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้าย ความผิดครั้งที่สาม ปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องร้ายแรงที่จำเลยอาจเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)การที่โจทก์ซึ่งมิใช่พนักงานระดับบริหารหรือหัวหน้าแผนกเลิกงานแล้ว แต่ยังอยู่ในบริเวณโรงแรมจำเลยโดยมิได้ออกไป ภายในครึ่งชั่วโมงตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือขัดคำสั่ง จำเลยที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมในกรณีที่ไม่ร้ายแรง เท่านั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว แม้เป็นข้อที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็ถือได้ว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วย กฎหมายของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว แม้เป็นข้อที่ไม่ร้ายแรงก็ตาม แต่การที่จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีชื่อเสียงเป็นที่ไว้วางใจจากคนเดินทางหรือแขกที่มาพักในวันเกิดเหตุโจทก์เลิกงานแล้วยังอยู่ในชุดทำงาน และเมาสุราล้มลงนอนหงายเท้าถีบตู้กระจกของลูกค้าจำเลยเสียหาย เช่นนี้นับว่าจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ กรณีมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ทุน – การไม่ลงนามสัญญาและการลาออกถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวน1,165,484.92 บาท พร้อมดอกเบี้ย แต่คำพิพากษาในส่วนนี้ไม่ได้บังคับจำเลยที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ตำแหน่งนักวิชาการ 4 ซึ่งตามข้อบังคับของโจทก์ถือว่าจำเลยเป็นนักเรียนทุนประเภท 1(ข) และตามข้อ 6วรรคแรกของข้อบังคับของโจทก์ระบุว่า "ให้สถาบันทำสัญญาผูกมัดให้พนักงานที่ไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยกลับมาปฏิบัติงานตามแผนงานหรือโครงการที่สถาบัน กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามเท่าของเวลาที่พนักงานผู้นั้นได้รับเงินเดือนระหว่างศึกษาฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย" จำเลยได้รับทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศออสเตรีย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2532โดยมิได้ทำสัญญาผูกมัดกับโจทก์เพื่อกลับมาชดใช้ทุน ระหว่างที่จำเลยได้รับทุนนั้นโจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญาชดใช้ทุนไปให้จำเลยลงชื่อที่ประเทศออสเตรียหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ยอมลงชื่อกลับยื่นใบลาออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ตั้งแต่วันที่1 พฤศจิกายน 2533 ดังนี้ โจทก์ได้ส่งหนังสือสัญญาชดใช้ทุนให้จำเลยลงชื่อหลายครั้งแล้ว จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์เพื่ออนุโลมให้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ แต่จำเลยกลับไม่ยอมลงชื่อในหนังสือสัญญาชดใช้ทุน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจฝ่าฝืนข้อบังคับของโจทก์ จำเลยไม่อาจอ้างเหตุที่มิได้ลงชื่อในหนังสือสัญญาชดใช้ทุนขึ้นมาปฏิเสธความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์นอกประเด็นในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หากจำเลยไม่ได้ยกประเด็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรงในศาลล่าง
จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ประพฤติทุจริตเกี่ยวกับการเติมน้ำมันรถยนต์จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์มิได้ให้การว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงแต่อย่างใดการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าตามระเบียบการเติมน้ำมันของจำเลยระบุให้เติมน้ำมันรถให้ผู้ถือบิลน้ำมันเลขทะเบียนรถยนต์ตรงกับเลขทะเบียนรถยนต์ที่มาเติมทุกครั้งและการแก้ไขจำนวนเงินในบิลน้ำมันจะต้องไม่เกินจำนวนที่เขียนไว้ในบิลน้ำมันการที่โจทก์ไม่ยึดถือระเบียบข้อบังคับคำสั่งและวิธีปฎิบัติของจำเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงนั้นเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็นถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลางไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคแรกประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ศาลแรงงานกลางรับอุทธรณ์จำเลยเป็นการมิชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท การตอกบัตรแทนเพื่อนไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานแทนณ. ลูกจ้าง เพื่อแสดงเวลากลับจากทำงานของ ณ. ซึ่งมิได้กลับมาที่บริษัทจำเลยโดยได้ลงระหว่างทางซึ่งในวันดังกล่าว ณ. ก็ได้ไปทำงานจนสิ้นสุดเวลาทำงานปกติแล้ว เมื่อไม่ปรากฎว่าการตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานกลับในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ ณ. หรือไม่ และไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงประการอื่นใดอีก การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับเล็กน้อย ศาลสั่งให้จ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานแทน ณ. ลูกจ้าง เพื่อแสดงเวลากลับจากทำงานของณ. ซึ่งมิได้กลับมาที่บริษัทจำเลยโดยได้ลงระหว่างทางซึ่งในวันดังกล่าวณ.ก็ได้ไปทำงานจนสิ้นสุดเวลาทำงานปกติแล้ว เมื่อไม่ปรากฎว่าการตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานกลับ ในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ ณ.หรือไม่ และไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงประการอื่นใดอีก การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรงจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับและละทิ้งหน้าที่ โดยต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ละทิ้งหน้าที่ในระหว่างเวลาทำงานและฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานด้วยการดื่มเบียร์ในระหว่างเวลาทำงาน ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานไปเสียและเป็นการจงใจขัดคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
ลักษณะงานที่โจทก์ทำอยู่คือหน้าที่ขัดเงาในบริษัทจำเลยซึ่งประกอบกิจการผลิตเครื่องประดับกาย มิใช่งานที่หากผู้ปฏิบัติงานมึนเมาแล้วอาจจะเกิดความเสียหายร้ายแรงแก่นายจ้างหรือเป็นอันตรายต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ทั้งเป็นการดื่มเบียร์ในขณะที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ที่ทำอยู่ไปและไม่ปรากฎว่าโจทก์มึนเมาหรือไม่เพียงใด การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) แม้จำเลยจะกำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า จำเลยจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยถ้าพนักงานเสพสุรามึนเมาในขณะปฏิบัติงาน ก็มิใช่จะต้องถือว่าการกระทำผิดวินัยดังกล่าวเป็นกรณีที่ร้ายแรงทุกเรื่องไป เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือในเรื่องดังกล่าวมาก่อน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป ต้องชดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว
of 3