คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฝ่าฝืนระเบียบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: แม้ฝ่าฝืนระเบียบ แต่ศาลสั่งจ่ายค่าชดเชยและดอกเบี้ยตามกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อนุมัติให้สมาชิกกู้โดยไม่มีผู้ค้ำประกันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แต่มิใช่กรณีร้ายแรง และไม่ใช่การทุจริตต่อหน้าที่ เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (3) กรณีผิดนัดไม่จ่ายค่าชดเชย โจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะขอดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่เพื่อความเป็นธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 6458-6461/2544 ให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้ โดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับคดีเกี่ยวกับการกู้เงินซึ่งอาจทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย จึงมีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 1 ต่อไป การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8768/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบและรับเงินจากตัวแทนบัตรเครดิต ศาลฎีกาวินิจฉัยเหตุเลิกจ้างสมควร
โจทก์เป็นลูกจ้างฝ่ายบัตรเครดิตของจำเลย มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่พิจารณาสินเชื่อ มีหน้าที่พิจารณาอนุมัติวงเงินให้แก่ผู้สมัครบัตรเครดิต การที่โจทก์พิจารณาอนุมัติบัตรเครดิตให้แก่ผู้สมัคร โดยได้อนุมัติก่อนที่จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของฝ่ายอนุมัติบัตร และไม่ได้ตรวจสอบสถานะของผู้สมัครและเอกสารของผู้สมัครว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องหรือไม่ เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่โจทก์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของ ธ. กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยและ ศ. ผู้จัดการซึ่งเป็นหัวหน้าของโจทก์ จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ตักเตือนโจทก์ก่อนเป็นหนังสือ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 แต่การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยดังกล่าว เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4055-4056/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีแรงงาน และการเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยกรณีฝ่าฝืนระเบียบ
ป.วิ.พ. มาตรา 84 หมายความว่า คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใดคู่ความฝ่ายนั้นต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์สนับสนุนข้อเท็จจริงนั้น แต่ว่าคู่ความไม่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป หรือซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้หรือซึ่งศาลเห็นว่าไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์เนื่องจากข้อเท็จจริงนั้นอีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้ว การที่ศาลแรงงานกลางได้ตรวจสำนวนโดยพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความส่งต่อศาลและสอบถามข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับกันแล้ว เห็นว่าข้อเท็จจริงรับฟังยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย และวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้นั้น เป็นการรับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 84 และ 104 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 แล้ว
การฝ่าฝืนคำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง ซึ่งนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ต้องเป็นการฝ่าฝืนในกรณีร้ายแรงหรือกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือนสำหรับการฝ่าฝืนในกรณีไม่ร้ายแรง ปรากฏว่าในระหว่างเวลาทำงานและในที่ทำงานโจทก์ทั้งสองโต้เถียงกันในเรื่องการทำงาน เมื่อหัวหน้างานห้ามปรามให้เงียบ โจทก์ทั้งสองก็ยังคงโต้เถียงกันอีก และโจทก์ที่ 2 ได้เขวี้ยงท่อพีวีซีใส่โจทก์ที่ 1 แต่ไม่โดน และทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้เสียหาย เป็นการกระทำที่มีลักษณะไม่รุนแรงและไม่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหาย จึงเป็นการฝ่าฝืนในกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองทันทีโดยไม่เคยตักเตือนโจทก์ทั้งสองเป็นหนังสือมาก่อน จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (2) และ (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4055-4056/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างทะเลาะวิวาทในที่ทำงาน
ศาลแรงงานกลางตรวจสำนวนโดยพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ พยานหลักฐานที่คู่ความส่งต่อศาลและสอบถามข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับกันแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงรับฟังยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้ว จึงสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย และวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้นั้น เป็นการรับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 84 และ 104 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 ในระหว่างเวลาทำงานและในที่ทำงาน โจทก์ทั้งสองโต้เถียงกันในเรื่องการทำงาน เมื่อหัวหน้างานห้ามปรามให้เงียบโจทก์ทั้งสองก็ยังคงโต้เถียงกันอีก และโจทก์ที่ 2 ได้เขวี้ยงท่อพีวีซีใส่โจทก์ที่ 1 แต่ไม่โดน และทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้เสียหาย การกระทำของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวมีลักษณะไม่รุนแรงและไม่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหาย จึงเป็นการฝ่าฝืนในกรณีที่ไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองทันทีโดยไม่เคยตักเตือนโจทก์ทั้งสองเป็นหนังสือมาก่อนจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 (2) และ (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบการทำงานร้ายแรง กรณีการกระจายหนี้และทำสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการทำงานเรื่องโจทก์กระจายหนี้ให้ลูกหนี้แต่ละรายใช้วงเงินสินเชื่อให้อยู่ในอำนาจอนุมัติของโจทก์แทนการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ และยอมให้ลูกหนี้เงินกู้ทำสัญญาค้ำประกันซึ่งกันและกัน ทำให้ธนาคารจำเลยไม่สามารถควบคุมการปล่อยสินเชื่อได้ เป็นเหตุให้เกิดหนี้เสีย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำนวนมาก และมีผลกระทบต่อความเชื่อถือของประชาชน จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46 (3) และจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน แม้เป็นการกระทำต่อบัญชีของตนเอง มิถือว่าร้ายแรงเพียงพอต่อการเลิกจ้าง
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และนาง ส. มารดาโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารของจำเลยที่ 1 โดยกำหนดเงื่อนไขในการสั่งจ่ายเงินว่าคนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว แต่คงมีเฉพาะโจทก์เพียงคนเดียวเท่านั้นที่ให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย จึงน่าเชื่อว่าในทางปฏิบัติคงมีเฉพาะโจทก์เท่านั้นที่ทำหน้าที่ในการสั่งจ่ายถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำการที่โจทก์ไม่ได้นำสมุดคู่ฝากสำหรับบัญชีเงินฝากประจำมาดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติของจำเลยที่ 1 นั้น เนื่องจากโจทก์เกรงว่านาง ส. จะทราบเรื่องที่โจทก์ถอนเงินจำนวน 200,000 บาทไป จึงทำให้โจทก์ต้องสร้างหลักฐานตัวเลขขึ้น 200,000 บาท ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เลขที่ 321-1-01428-7 แล้วโอนมาเข้าบัญชีเงินฝากประจำเพื่อให้ตัวเลขจำนวนเงินในสมุดคู่ฝากของบัญชีเงินฝากประจำคงเดิม การกระทำของโจทก์ดังกล่าวแม้จะเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่ก็เป็นการกระทำต่อบัญชีเงินฝากของโจทก์และมารดาโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิในการถอนเงินตามบัญชีดังกล่าวได้อยู่แล้ว โจทก์มิได้ปลอมแปลงลายมือชื่อของผู้ใด การกระทำของโจทก์ไม่เกิดผลกระทบต่อลูกค้าอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 และเงินสดของจำเลยที่ 1 ก็มิได้สูญหาย อีกทั้งข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะฟังว่าโจทก์ได้กระทำความผิดฐานยักยอกหรือลักทรัพย์ จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยที่ 1 กรณีร้ายแรงการที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ไม่ใช่การเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตาม มาตรา 67

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบการทำงานอย่างร้ายแรง แม้ยังไม่เกิดความเสียหาย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยใช้ชื่อนิติบุคคลที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมายทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินแทนลูกค้าบุคคลธรรมดา ใช้ชื่อนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินโดยผู้แทนนิติบุคคลนั้นไม่ได้รับทราบ เก็บตั๋วแลกเงินที่ขายให้ลูกค้าไว้โดยออกสมุดเงินฝากให้แทน ทำรายการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าเพื่อซื้อตั๋วแลกเงินโดยลูกค้าไม่ได้ลงนามในใบถอนเงิน และนำส่วนต่างดอกเบี้ยจากการลงทุนในตั๋วแลกเงินของลูกค้าบางรายฝากเข้าบัญชีกองกลางของสาขา แม้การกระทำดังกล่าวของโจทก์จะได้รับความยินยอมจากลูกค้า ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำทุจริตต่อหน้าที่ และยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยก็ตาม แต่ก็อาจเป็นเหตุให้ลูกค้านำสมุดเงินฝากมาขอเบิกเงินจากจำเลยและจำเลยต้องจ่ายเงินให้ไป จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบทำงานของจำเลย เรื่อง วิธีปฏิบัติในการจำหน่ายตั๋วแลกเงิน ข้อ 2.2 ที่กำหนดให้สาขาออกคู่ฉบับใบลงรับมอบให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐาน เป็นกรณีร้ายแรง จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือน และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรงเป็นเหตุชอบธรรม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารจำเลยทำรายการซื้อตั๋วแลกเงินแทนลูกค้า จากนั้นเก็บตั๋วแลกเงินที่ขายให้ลูกค้าไว้แล้วออกสมุดเงินฝากให้แก่ลูกค้าโดยที่ลูกค้ามิได้ฝากเงินไว้กับจำเลย เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบการทำงานของจำเลยซึ่งให้สาขาออกคู่ฉบับใบลงรับมอบให้ลูกค้าไว้เป็นหลักฐาน อาจเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ เพราะหากลูกค้านำสมุดเงินฝากมาขอเบิกเงินจากจำเลย จำเลยอาจต้องรับผิดจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากแก่ลูกค้า แม้จะยังไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยเนื่องจากโจทก์กระทำไปโดยได้รับความยินยอมจากลูกค้าและเพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยโจทก์มิได้ทุจริตต่อหน้าที่ ก็ต้องถือว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรงแล้ว จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(4)
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างพยานบุคคล พยานเอกสารและเหตุผลต่าง ๆ เพื่อให้ศาลฎีการับฟังว่า พยานหลักฐานจำเลยยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้แทนนิติบุคคลไม่ยินยอมให้ใช้ชื่อนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ซื้อตั๋วแลกเงินก็ดี จ. เป็นผู้เก็บส่วนต่างของดอกเบี้ยจากการจำหน่ายตั๋วแลกเงินให้แก่ลูกค้าก็ดี ล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและคณะกรรมการสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า คณะกรรมการที่จำเลยแต่งตั้งขึ้นมิได้มีการสอบสวนทางวินัยและลงโทษโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังข้อเท็จจริงว่า ท. กับ จ. กระทำการฝ่าฝืนต่อระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยและจำเลยอนุมัติให้บุคคลทั้งสองลาออกดังที่โจทก์อ้างมาในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากดื่มสุราในที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง หากลักษณะงานไม่ได้เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องจักรโดยตรง
ว. ทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่สโตร์ ฝ่ายวิศวกรรม มีหน้าที่เบิกจ่ายอะไหล่เครื่องจักรกลและทำบัญชีเบิกจ่ายอะไหล่ ลักษณะงานในหน้าที่ดังกล่าวมิได้เกี่ยวกับการควบคุมหรือดูแลการทำงานของเครื่องจักรโดยตรง แม้ ว. จะดื่มสุราไปบ้างก็ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องจักรของโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าในการดื่มสุราดังกล่าว ว. มีอาการมึนเมาสุราอย่างมาก หรือได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์จะกำหนดห้ามลูกจ้างดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่า ว. ได้ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ในกรณีร้ายแรง ดังนั้น เมื่อโจทก์เลิกจ้าง ว. โจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ ว. ตามที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3177/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงาน การฝ่าฝืนระเบียบงาน และสิทธิการได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน
ระหว่างที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานขนกระเป๋าในโรงแรมของจำเลยมัคคุเทศก์ได้นำรถตู้มารับแขกกลุ่มหนึ่ง โจทก์ได้พูดกับมัคคุเทศก์ว่า "แขกเลว ๆ อย่างนี้อย่าพามาที่นี่เลย" สาเหตุเพราะแขกและเด็ก ๆ กลุ่มดังกล่าวเป็นชาวตะวันออกกลางและเด็ก ๆ ซุกซนมาก ขณะรอรถได้ใช้ก้อนหินขว้างปานกเป็ดน้ำและปลาในบ่อ โจทก์ได้ว่ากล่าวตักเตือนแล้วไม่เชื่อฟัง เมื่อธุรกิจโรงแรมต้องให้บริการแก่แขกอย่างดีที่สุดพนักงานของโรงแรมต้องพูดจาสุภาพและแสดงกิริยามารยาทด้วยความอ่อนน้อม จึงถือได้ว่าโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 8 วรรคท้ายแล้ว แต่การใช้คำพูดดังกล่าวแม้จะไม่เหมาะสมแต่โจทก์กล่าวไปด้วยอารมณ์โดยไม่ได้มีเจตนาจะทำให้จำเลยเสียหายหรือเล็งเห็นถึงความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่จำเลย จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงและไม่ใช่เป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหาย เมื่อการกระทำของโจทก์มิใช่การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในกรณีร้ายแรงตามมาตรา 119(4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
โจทก์เป็นพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรมระดับห้าดาวซึ่งมีหน้าที่หลักตามข้อบังคับการทำงานข้อ 19 ว่าต้องทำดีที่สุดในการรักษาชื่อเสียงของโรงแรมจำเลยการที่โจทก์ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมกับมัคคุเทศก์ที่มารับแขกอันเป็นลูกค้าของโรงแรมถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเท่ากับโจทก์ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ 5 วัน เพื่อสอบสวนความผิด เมื่อจำเลยไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุให้จำเลยจ่ายเงินแก่ลูกจ้างระหว่างพักงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินในระหว่างพักงาน 5 วัน ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 116
of 11