คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฝ่าฝืนร้ายแรง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5105/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตอกบัตรแทนกันและความร้ายแรงทางวินัย: การกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเจตนาทุจริต ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนร้ายแรง
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ตำแหน่งหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย แม้มีประกาศของจำเลยกำหนดให้พนักงานทุกคนถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดว่า ห้ามมิให้พนักงานทุกคนของจำเลยตอกบัตรลงเวลาเข้าทำงานและเลิกงานแทนกันโดยเด็ดขาดก็ตาม แต่การที่โจทก์ตอกบัตรลงเวลาเลิกงานแทน ว. ก็ดีหรือที่โจทก์ให้ ว.ตอกบัตรลงเวลาเข้าทำงานแทนโจทก์ก็ดี เมื่อฟังไม่ได้ว่า การกระทำของโจทก์ดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างไรเป็นพิเศษยิ่งกว่าการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หรือทำให้โจทก์ พ.หรือว.ได้รับผลประโยชน์อื่นใดเพิ่มเติมกว่าปกติจากจำเลยนอกเหนือจากค่าจ้างที่บุคคลทั้งสามจะพึงได้รับตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือโจทก์มีเจตนาทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นอย่างใด ดังนี้ การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่า โจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตตอกบัตรเวลา ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
บริษัทจำเลยมีลูกจ้างถึง 2000 กว่าคน ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานมีการทำงานตามปกติในวันจันทร์ถึงวันเสาร์และมีการทำงานล่วงเวลาทุกวัน สำหรับวันเสาร์เลิกงาน 13 นาฬิกา หลังจากนั้นเป็นการทำงานล่วงเวลาวันอาทิตย์เป็นวันหยุดแต่มีการทำงานในวันหยุดมีกำหนดไม่เกิน 8 ชั่วโมง ลูกจ้างที่มาทำงานมีสิทธิได้รับค่าจ้างทำงานวันหยุดไม่เกิน 8 ชั่วโมง การเบิกค่าจ้างจะตรวจสอบเวลาทำงานตามใบเบิกกับบัตรตอกเวลาทำงานของลูกจ้าง เมื่อเห็นว่าใบเบิกมีเวลาทำงานไม่เกินไปกว่าเวลาทำงานในบัตรตอกเวลาทำงานก็จ่ายค่าจ้างให้ตามใบเบิกเงินนั้นข้อบังคับการทำงานดังกล่าวเกี่ยวกับตอกบัตรเวลาทำงานนอกจากจะเป็นหลักฐานแสดงถึงระยะเวลาที่ลูกจ้างของจำเลยแต่ละคนปฏิบัติงานในแต่ละวันแล้ว ยังเป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานล่วงเวลา ในกรณีมีการทำงานล่วงเวลาด้วย บริษัทจำเลยเคยมีปัญหาเรื่องการตอกบัตรเวลาทำงานไม่ตรงตามความจริงมาแล้ว จึงได้ประกาศเตือนลูกจ้างว่าหากมีการทุจริตเกี่ยวกับการตอกบัตรเวลาบริษัทจำเป็นจะต้องเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย โจทก์ตอกบัตรเวลาทำงานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลย โดยกลับจากทำงาน 12 นาฬิกาแต่ตอกบัตรเวลากลับ 21 นาฬิกาในวันเสาร์และได้ออกไปจากที่ทำงานตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา แต่ตอกบัตรเวลากลับจากทำงาน 19.02 นาฬิกา จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยเลิกจ้างโจทก์เสียได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้