คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พนักงานขับรถ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกระทรวงเจ้าสังกัดต่อความเสียหายจากพนักงานขับรถในราชการ ตามมาตรา 76
แม้กรมปศุสัตว์จำเลยที่ 2 จะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 ก็เป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อการบังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ข้อ 13 และข้อ 14 ที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยที่ 1 พนักงานขับรถของจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติราชการไปตามหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 กระทรวงเจ้าสังกัดก็ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของพนักงานขับรถที่ละทิ้งหน้าที่และมอบหมายให้ผู้อื่นขับรถจนเกิดความเสียหาย ถือเป็นการผิดสัญญาจ้าง
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ละทิ้งหน้าที่ไม่ขับรถยนต์นำหัวหน้างานและคนงานไปปฏิบัติงานตามคำสั่งและได้มอบหมายให้ จ. คนงานรายวันเป็นผู้ขับแทนโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา เป็นการปฏิบัติขัดต่อคำสั่งเรื่อง การใช้รถยนต์ในส่วนภูมิภาคของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ถือได้ว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อ จ. ได้ขับรถยนต์โดยประมาท ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่โจทก์ได้รับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3150/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของพนักงานขับรถที่ละทิ้งหน้าที่และมอบหมายให้ผู้อื่นขับรถจนเกิดความเสียหาย ถือเป็นการผิดสัญญาจ้าง
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถยนต์ละทิ้งหน้าที่ไม่ขับรถยนต์นำหัวหน้างานและคนงานไปปฏิบัติงานตามคำสั่งและได้มอบหมายให้ จ. คนงานรายวันเป็นผู้ขับแทนโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา เป็นการปฏิบัติขัดต่อคำสั่งเรื่อง การใช้รถยนต์ในส่วนภูมิภาคของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ถือได้ว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลย เมื่อ จ. ได้ขับรถยนต์โดยประมาท ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่โจทก์ได้รับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ออกพนักงานขับรถโดยสารเนื่องจากขับรถประมาทเสี่ยงอันตราย ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
บริษัทจำเลยมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารรถของจำเลย จำต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นประการสำคัญ การที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยขับรถโดยสารด้วยความเร็วและแซงรถหวาดเสียวในลักษณะแข่ง กันนอกจากจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อภยันตรายที่ร้ายแรงอันอาจเกิดแก่ผู้โดยสารได้โดยง่าย การกระทำของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความเสียหายในด้านบริการสาธารณะของจำเลยอย่างร้ายแรง โดยไม่จำต้องให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นก่อน เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยแล้ว จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ออกพนักงานขับรถโดยสารฐานประมาทเสี่ยงอันตราย มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
บริษัทจำเลยมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารรถของจำเลยจำต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นประการสำคัญการที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยขับรถโดยสารด้วยความเร็วและแซงรถหวาดเสียวในลักษณะแข่งกันนอกจากจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อภยันตรายที่ร้ายแรงอันอาจเกิดแก่ผู้โดยสารได้โดยง่ายการกระทำของโจทก์ดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความเสียหายในด้านบริการสาธารณะของจำเลยอย่างร้ายแรง โดยไม่จำต้องให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นก่อน เป็นการฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยแล้ว จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างและความรับผิดชอบจากอุบัติเหตุ พนักงานขับรถ
บริษัทจำเลยกำหนดให้พนักงานขับรถยนต์ส่วนกลางเข้าทำงานวันละ 24 ชั่วโมง หยุดพักวันรุ่งขึ้น 24 ชั่วโมง ต่อมาจำเลยดำริให้เปลี่ยนเป็นทำงานเป็นผลัด ผลัดละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานขับรถยนต์ของจำเลยขอให้กำหนดเวลาทำงานเช่นเดิมโดยอ้างว่าต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจำเลยก็ได้ตกลงยินยอมกำหนดเวลาทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยในภายหลังก็ย่อมต้องถูกผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว การทำงานของโจทก์จึงมิใช่เป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติอันจะมีสิทธิเรียกเอาค่าล่วงเวลาจากจำเลยได้
ระเบียบของจำเลยกำหนดว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุและได้รับการพิจารณาถึงที่สุด พขร.(พนักงานขับรถ)เป็นฝ่ายผิดพขร.ที่ทำหน้าที่ขับรถจะต้องรับผิดชอบร้อยละหกสิบ ส่วน พขร.ที่นั่งคู่จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมร้อยละสี่สิบดังนี้เมื่อ ส.ขับรถยนต์ของจำเลยด้วยความประมาทเลินเล่อเกิดอุบัติเหตุทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขณะที่โจทก์เป็นพนักงานขับรถที่นั่งคู่ จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายในอัตราร้อยละสี่สิบของค่าเสียหายทั้งหมดได้ ตามระเบียบดังกล่าว และเมื่อโจทก์ได้ยินยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยผ่อนชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานขับรถล่าช้า ไม่ถือเป็นเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย หากไม่มีหลักฐานเจตนาประวิงเวลา
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยขับรถบรรทุกสินค้าไปถึงปลายทางล่าช้ากว่ากำหนด 3 ชั่วโมง เพราะขับออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้ความว่าโจทก์มีเจตนาประวิงเวลาการทำงานหรือมีเจตนาที่จะไม่ให้สินค้าลงเรือทันตามกำหนด จะถือว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายไม่ได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานขับรถ: การขับรถล่าช้าโดยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยขับรถบรรทุกสินค้าไปถึงปลายทางล่าช้ากว่ากำหนด 3 ชั่วโมง เพราะขับออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้ความว่าโจทก์มีเจตนาประวิงเวลาการทำงานหรือมีเจตนาที่จะไม่ให้สินค้าลงเรือทันตามกำหนด จะถือว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายไม่ได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานขับรถ: การกระทำที่ล่าช้าไม่ถือเป็นเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขับรถของจำเลยขับรถบรรทุกสินค้าไปถึงปลายทางล่าช้ากว่ากำหนด3ชั่วโมงเพราะขับออกนอกเส้นทางแต่ไม่ได้ความว่าโจทก์มีเจตนาประวิงเวลาการทำงานหรือมีเจตนาที่จะไม่ให้สินค้าลงเรือทันตามกำหนดจะถือว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายไม่ได้จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดสำหรับพนักงานขับรถ: การคำนวณอัตราการจ่ายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมโจทก์เป็นพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถรับส่งพนักงานฝ่ายบริหารไปกลับระหว่างที่พักกับที่ทำงาน ไม่เกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม งานของโจทก์จึงเป็นงานอื่นจำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติของโจทก์ได้สัปดาห์ละ 54 ชั่วโมงหรือวันละ 9 ชั่วโมงโจทก์ทำงานตั้งแต่เวลา 6.00 นาฬิกา เลิกงาน18.00 นาฬิกาเป็นเวลา 12 ชั่วโมงหักเป็นเวลาพัก 1 ชั่วโมง และเวลาทำงานปกติ 9 ชั่วโมงจำเลยจึงให้โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติไปวันละ 2 ชั่วโมงฉะนั้นค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานในวันทำงานตลอด 24 ชั่วโมงระยะเวลา12ชั่วโมงแรกซึ่งมีการทำงานเกินเวลาทำงานปกติอยู่ 2 ชั่วโมงนั้น จำเลยรวมเอาค่าล่วงเวลาไว้ในค่าจ้างปกติด้วย กล่าวคือ เมื่อจำเลยจ่ายค่าจ้างปกติให้โจทก์แล้ว จึงได้จ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับ 2ชั่วโมงดังกล่าวแก่โจทก์ ส่วนระยะเวลา 12 ชั่วโมงหลังเมื่อจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นสองเท่าของค่าจ้างปกติเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงหนึ่งเท่าครึ่งจึงเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลาครบถ้วนแล้วเช่นเดียวกัน
จำเลยให้โจทก์ทำงานในวันหยุดมีกำหนด 12 ชั่วโมง จึงมีการทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานอยู่ 2 ชั่วโมงด้วย จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาเป็นค่าทำงานในวันหยุดสำหรับ 2ชั่วโมงนี้เพียงสองเท่าของค่าจ้างปกติของวันทำงานเท่านั้นจึงขาดไปหนึ่งเท่า และจะถือว่าจำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าที่ขาดรวมกับเงินเดือนไปแล้วก็ไม่ได้ เพราะในวันหยุดไม่มีการทำงานจึงไม่มีค่าล่วงเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดสำหรับ 2 ชั่วโมงที่ยังขาดให้โจทก์
of 2