พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์จากพนักงานขายฝากขาย: โจทก์ร่วมมีอำนาจร้องทุกข์ได้
โจทก์ร่วมนำสินค้าไปฝากขายที่ห้างสรรพสินค้า เมื่อสินค้าไปถึงห้างสรรพสินค้าพนักงานขายของโจทก์ร่วมที่ประจำอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า และพนักงานของห้างสรรพสินค้าจะตรวจสอบว่าสินค้าส่งมาตรงตามใบสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ เสร็จแล้วจึงนำไปเก็บที่คลังเก็บสินค้ากลางของห้างสรรพสินค้า พนักงานขายของโจทก์ร่วมจะเบิกสินค้าซึ่งโจทก์ร่วมยังคงเป็นเจ้าของอยู่จากคลังสินค้ามาขายแก่ลูกค้า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายและพนักงานของโจทก์ร่วมเบียดบังเอาเงินค่าสินค้าของโจทก์ร่วมไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 และการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินค่าสินค้าดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: ค่าตอบแทนการขายพนักงานขายเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฟ้องเกิน 2 ปี ขาดอายุความ
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ขายสินค้า นอกจากค่าจ้างประจำแล้ว หากโจทก์ขายสินค้าได้เองโจทก์ยังมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนการขายในอัตราร้อยละ 1.5 ของยอดขายด้วย จึงเป็นเงินส่วนหนึ่งที่จ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนในการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้และมีกำหนดเวลาจ่ายไว้แน่นอน จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 ซึ่งค่าตอบแทนการขายนี้ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระภายใน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยเลี้ยงและค่ารับรองของพนักงานขายต่างจังหวัด: พิจารณาว่าเป็นค่าจ้างเพื่อคำนวณค่าชดเชย
ตามลักษณะงานของลูกจ้างลูกจ้างต้องออกไปปฏิบัติงานที่ต่างจังหวัดทุกเดือนเดือนละประมาณ25วันระหว่างออกไปปฏิบัติงานนั้นนายจ้างจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงอันได้แก่ค่าที่พักและค่าอาหารแก่โจทก์วันละ230บาทและมีลักษณะเป็นการเหมาจ่ายเพราะโจทก์ไม่ต้องแสดงใบเสร็จรับเงินเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานของลูกจ้างถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานส่วนเงินค่ารับรองวันละ15บาทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างที่ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดนั้นแม้จะมีจำนวนแน่นอนและเป็นการเหมาจ่ายแต่โดยลักษณะของเงินดังกล่าวเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่ารับรองลูกค้าของนายจ้างที่ลูกจ้างไปติดต่อด้วยจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในการทำงานของลูกจ้างมิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4313/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้าง: เงื่อนไขการจ่ายเงินรางวัลสำหรับพนักงานขายที่ลาออก
บริษัทจำเลยได้วางระเบียบเงื่อนไขในการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าให้แก่พนักงานขายไว้ว่าจะจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงานขายต่อเมื่อยังคงเป็นพนักงานขายของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยกำหนดจ่ายเงินรางวัลให้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและโจทก์ทั้งสองเข้ามาเป็นลูกจ้างของจำเลยภายหลังที่เงื่อนไขดังกล่าวใช้บังคับแล้วโดยโจทก์ทั้งสองตกลงเข้ามาเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยและประสงค์จะได้รับเงินรางวัลดังกล่าวเงื่อนไขดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อปรากฏว่าในวันกำหนดการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้านั้น โจทก์ทั้งสองพ้นจากการเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยโดยการลาออกแล้วโจทก์ทั้งสองจึงหมดสิทธิได้รับเงินรางวัล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความระเบียบการบัญชีหนี้สูญ: สิทธิและความรับผิดของพนักงานขาย
ระเบียบของบริษัทโจทก์กำหนดว่า ให้นำหนี้สูญครึ่งหนึ่งมาเข้าบัญชีเงินประกันของพนักงานขายมิได้กำหนดว่าถ้าหักบัญชีกันแล้วเงินไม่พอชำระหนี้สูญได้หมดพนักงานขายจะต้องรับผิดชอบชดใช้ส่วนที่ขาดเป็นส่วนตัว จึงนำเอาวิธีปฏิบัติหรือการแปลความหมายทางการบัญชีมาใช้บังคับให้จำเลยรับผิดในหนี้สูญไม่ได้ เพราะจะเป็นการตีความในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยผู้ต้องเสียในมูลหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13730/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าคอมมิสชันพนักงานขายถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ต้องนำมารวมคำนวณเงินสมทบ
เมื่อค่าคอมมิสชันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้ลูกจ้างตำแหน่งพนักงานขายตามหลักเกณฑ์การจ่ายตามประกาศ อันเป็นเงินที่พนักงานขายได้รับจากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ซึ่งคิดคำนวณจากยอดสินค้าที่จำหน่ายได้ในแต่ละเดือน ซึ่งค่าคอมมิสชันนี้พนักงานขายจะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายที่สามารถขายได้ จึงเห็นได้ว่าค่าคอมมิสชันเป็นเงินส่วนหนึ่งที่โจทก์จ่ายให้แก่พนักงานขายเป็นการตอบแทนการทำงานโดยตรงในวันและเวลาทำงานปกติโดยคิดตามผลงานที่ทำได้ ดังนั้น ค่าคอมมิสชันจึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5 โจทก์จึงต้องนำไปรวมกับเงินเดือนของพนักงานขายมาเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16310/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุจริตต่อหน้าที่ของพนักงานขาย การยักยอกเงินจากลูกค้า และผลกระทบต่อสิทธิในการรับค่าชดเชย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขายของจำเลย ดำเนินการขายรถยนต์ให้แก่บริษัท ย. ในนามตัวแทนของจำเลย รับดำเนินการทางทะเบียนรถยนต์ให้แก่บริษัท ย. โดยมิได้มีหน้าที่โดยตรงแล้วอาศัยโอกาสเรียกให้บริษัท ย. โอนเงินเข้าบัญชีโจทก์ 15,000 บาท แล้วนำส่งจำเลยเป็นค่ามัดจำป้ายทะเบียนรถยนต์ป้ายแดง 4,000 บาท และค่าจดทะเบียนรถยนต์ 3,800 บาท ส่วนที่เหลือ 7,200 บาท ไม่คืนให้แก่บริษัท ย. เป็นเหตุให้บริษัท ย. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ เป็นการประพฤติตนไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่ คดโกง ถือได้ว่าทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (1) และกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานขายต่อความเสียหายจากการอนุมัติขายสินค้า โดยมิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต
ใบสมัครงานระบุว่า "ในการขาย ให้เช่า เช่าซื้อหรือการขายสัญญาบริการหรือการก่อหนี้ใด ๆ ให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ (ลูกค้า) พนักงานขายและพนักงานช่างและหรือพนักงานผู้ที่มีส่วนได้รับค่านายหน้าของการขาย ให้เช่า เช่าซื้อ หรือการขายสัญญาบริการนั้น ๆ ทุกคนจะต้องเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจรับผิดชอบเป็นผู้อนุมัติให้ขาย ให้เช่า เช่าซื้อ หรือการขายสัญญาบริการโดยตรง บริษัทฯ ไม่มีส่วนตัดสินใจแต่ประการใด ฉะนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่ไม่สามารถเก็บเงินค่าสินค้านั้น ๆ ได้ พนักงานทุกคนที่มีส่วนได้รับค่านายหน้าจะต้องรับผิดชอบชดใช้ต่อค่าสินค้าตามใบเสร็จที่ระบุราคาขายให้แก่บริษัทฯ ตามอัตราส่วนของการได้รับค่านายหน้าให้แก่บริษัท" การกำหนดดังกล่าวมิใช่กรณีบุคคลภายนอกผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น เพราะในขณะทำสัญญามีเพียงบุคคลสองฝ่ายคือเจ้าหนี้หรือนายจ้าง กับผู้เข้าประกันหรือลูกจ้างจึงมิใช่สัญญาค้ำประกันผู้ซื้อสินค้า แต่เป็นการตกลงประกันการก่อให้เกิดความเสียหายไว้ล่วงหน้าว่าผู้เข้าประกันหรือลูกจ้างที่มีส่วนได้รับค่านายหน้าจะต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายจากการตัดสินใจรับผิดชอบเป็นผู้อนุมัติให้ขาย ให้เช่า เช่าซื้อ หรือการขายสัญญาบริการ ซึ่งความผูกพันระหว่างโจทก์กับบุคคลภายนอกผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ หรือผู้ซื้อสัญญาบริการจะเป็นไปตามสัญญาภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ แต่ความผูกพันระหว่างโจทก์ในฐานะนายจ้างกับพนักงานขาย พนักงานช่างและหรือพนักงานผู้ที่มีส่วนได้รับค่านายหน้าของการขาย ให้เช่า เช่าซื้อ หรือการขายสัญญาบริการยังคงเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน ดังนั้น จึงมิได้หมายความว่าลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานโดยชอบและสุจริตแล้วยังจะต้องชดใช้ความเสียหายที่ตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด เว้นแต่จะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ถูกต้องและสุจริตอันเป็นผลให้ไม่สามารถเก็บเงินค่าสินค้าให้แก่นายจ้างตามที่ระบุในใบสมัครงาน และเมื่อเงื่อนไขในใบสมัครงานมิได้กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานขาย พนักงานช่าง และหรือพนักงานผู้ที่มีส่วนได้รับค่านายหน้าต้องทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันผู้อื่น ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ หรือผู้ซื้อสัญญาบริการแล้ว เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชนจึงใช้บังคับได้