พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้างที่ทำงานเกิน 1 ปี และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ในเดือนกรกฎาคม 2536 การทำงานในหนึ่งปีแรกจึงครบในเดือนกรกฎาคม 2537 และมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เมื่อครบหนึ่งปีนับแต่เริ่มทำงานและในปีถัดมาทุกปี ปีละหกวันทำงานตลอดมาจนถึงช่วงปีสุดท้ายคือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ ในช่วงปีสุดท้ายนี้โจทก์จึงมิสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหกวันทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่เมื่อในปี 2546 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีและพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2546 ทั้งหกวันแก่โจทก์แล้วโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานส่วนนี้แล้วนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งในส่วนนี้จึงเป็นที่สุด เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า นับแต่ต้นปี 2547 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกเพียงสี่วันทำงาน และโจทก์ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2547 แล้วสองวัน จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2547 แก่โจทก์อีกเพียงสองวันตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์พึงมีสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 จึงชอบแล้ว และกรณีนี้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 เกินกว่าหนึ่งปี มิใช่กรณีทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4029/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่ถึงที่สุดแล้ว ผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม
โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์แล้ว เมื่อจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง และผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม จำเลยจะอุทธรณ์ว่ายังมีประเด็นที่ศาลแรงงานภาค 9 ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยเป็นลูกจ้างนายจ้างกันเสียก่อน ซึ่งเป็นการโต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อขอเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างต้องวางเงินตามจำนวนที่สั่ง หรือส่วนที่โต้แย้ง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสาม กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง และนายจ้างประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้น นายจ้างจะต้องวางเงินตามจำนวนที่นายจ้างประสงค์จะโต้แย้งต่อศาลซึ่งอาจเป็นจำนวนทั้งหมดตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานหรือเพียงบางส่วนก็ได้ และในกรณีที่เป็นการโต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเพียงบางส่วน นายจ้างจะต้องชำระเงินส่วนที่ไม่ติดใจโต้แย้งแก่ลูกจ้างเสียก่อนนายจ้างจึงจะมีอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่ ฐ. กับพวกรวม 43 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์เป็นเงิน 6,505,487 บาท โจทก์เพียงแต่อ้างว่าโจทก์ควรจ่ายเงินให้แก่ ฐ. กับพวกเพียง 497,801 บาท เท่านั้น แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ ฐ. กับพวกแต่อย่างใด ดังนั้น หากโจทก์ต้องการนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 โจทก์ต้องวางเงินจำนวน 6,505,487 บาท มิใช่จำนวน 497,801 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1954/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: ฟ้องศาลหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ทางเดียว
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ถึง 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียว จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและเงินประกัน ซึ่งเป็นเงินตามสิทธิใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 เลือกใช้สิทธิดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 เมื่อปรากฏว่าได้ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเอง ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 เมื่อปรากฏว่าได้ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเอง ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1954/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแรงงานหลังยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: การเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งและการมีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแต่เพียงทางเดียว การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินประกันซึ่งเป็นเงินตามสิทธิใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541เป็นกรณีที่เลือกใช้สิทธิดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อระหว่างที่พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องนั้น โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันนี้มายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางอีก ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ที่ฟ้องเรียกเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุอายุความ
โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงานโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเองก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป
โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงานโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเองก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8782-8785/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชัดเจนและไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาของพนักงานตรวจแรงงาน ศาลเพิกถอนคำสั่ง
ก่อนจำเลยที่ 1 ออกคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 จำเลยที่ 1 ได้ตรวจสภาพการจ้างของโจทก์ โดยมาพบและสอบปากคำ อ. ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของโจทก์และพนักงานอื่น ๆ ของโจทก์ก่อนมีคำสั่ง อันเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 27 และ 29 แล้ว แม้จำเลยที่ 1 มิได้ให้โจทก์มีโอกาสทราบข้อเท็จจริง โต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานในส่วนของโจทก์ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แต่กรณีนี้เป็นเรื่องให้โจทก์ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นเรื่องความสงบในทางอุตสาหกรรม หากปล่อยเนิ่นช้าโดยให้โอกาสโจทก์ตามที่โจทก์อ้าง ย่อมเห็นได้ว่าจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ลูกจ้างและกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) คำสั่งดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้ตรวจสภาพการจ้างและการทำงาน ณ สถานประกอบการของโจทก์ โดยสอบถามข้อเท็จจริงและตรวจสอบเอกสารประกอบแล้ว ปรากฏว่าโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามกำหนด และสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 70, 9 และ 75 อาศัยอำนาจตามมาตรา 139 (3) สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ (1) ให้จ่ายค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานปกติให้ลูกจ้างที่สั่งพักงานและมิได้ทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามกำหนดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (2) ให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่สั่งพักงานและทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนโจทก์หยุดกิจการตลอดเวลาที่โจทก์ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน โดยให้ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ภายใน 7 วัน นับแต่รับคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวโจทก์ผู้รับคำสั่งย่อมทราบว่าจำเลยที่ 1 สั่งให้ปฏิบัติอย่างไร คำสั่งจึงมีความหมายชัดเจนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 34 แล้ว แม้เหตุผลของคำสั่งจะมิได้มีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) แต่การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้างและเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่ลูกจ้าง จึงถือเป็นการเร่งด่วนที่ไม่นำมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามของมาตรานี้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจแรงงานไว้เป็นการเด็ดขาด เมื่อการพิจารณาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโดยการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่ง มิได้สั่งภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 128/2543 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานตรวจแรงงานได้ตรวจสภาพการจ้างและการทำงาน ณ สถานประกอบการของโจทก์ โดยสอบถามข้อเท็จจริงและตรวจสอบเอกสารประกอบแล้ว ปรากฏว่าโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามกำหนด และสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานโดยไม่จ่ายเงินแก่ลูกจ้าง ซึ่งไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 70, 9 และ 75 อาศัยอำนาจตามมาตรา 139 (3) สั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ (1) ให้จ่ายค่าจ้างเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานปกติให้ลูกจ้างที่สั่งพักงานและมิได้ทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ให้ถูกต้องครบถ้วนและตรงตามกำหนดพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี (2) ให้จ่ายเงินแก่ลูกจ้างที่สั่งพักงานและทำงานในโรงงานปั่นด้าย เอ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนโจทก์หยุดกิจการตลอดเวลาที่โจทก์ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน โดยให้ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ภายใน 7 วัน นับแต่รับคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวโจทก์ผู้รับคำสั่งย่อมทราบว่าจำเลยที่ 1 สั่งให้ปฏิบัติอย่างไร คำสั่งจึงมีความหมายชัดเจนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 34 แล้ว แม้เหตุผลของคำสั่งจะมิได้มีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (3) แต่การออกคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าจ้างและเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานให้แก่ลูกจ้าง จึงถือเป็นการเร่งด่วนที่ไม่นำมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังที่บัญญัติไว้ในวรรคสามของมาตรานี้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 124 กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาคำร้องของพนักงานตรวจแรงงานไว้เป็นการเด็ดขาด เมื่อการพิจารณาไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโดยการสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่ง มิได้สั่งภายในกำหนดเวลาตามบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเกินกำหนดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทำให้คำสั่งนั้นไม่มีผลบังคับ
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 กำหนดให้พนักงานตรวจแรงงานต้องทำการสอบสวนและมีคำสั่ง ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้อง หากมีกรณีจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งในกำหนดเวลาได้ก็ให้ขอขยายระยะเวลาต่ออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย จำเลยเป็นพนักงานตรวจแรงงานได้รับคำร้องของ ส. กับพวกเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2544 แต่มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2544 ซึ่งเกินกว่า 60 วันโดยไม่ได้ขอขยายระยะเวลาตามกฎหมายคำสั่งของจำเลยจึง ไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าจ้างควบคู่กับการร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานสิ้นสุด
ก่อนที่โจทก์ทั้งสามจะฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ โจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดและประสงค์ให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้โจทก์ทั้งสามอาจจะเลือกที่จะใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลแรงงานได้ โดยจะต้องใช้สิทธิในทางใดทางหนึ่ง แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ เมื่อโจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้วโจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด ศาลแรงงานย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามที่ฟ้องเรียกเอาเงินค่าจ้างค้างจ่ายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ข้อกฎหมายนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142, 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและยื่นคำร้องใหม่ต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มิได้ทำให้ระยะเวลาดำเนินการนับต่อเนื่องกัน
การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยร่วมที่จะให้จำเลยดำเนินการต่อไปหรือไม่อย่างไรก็ได้ หาได้มีบทบัญญัติใดที่จำกัดห้ามมิให้จำเลยร่วมซึ่งถอนคำร้องที่ยื่นต่อจำเลยแล้วยื่นคำร้องใหม่เพื่อให้จำเลยดำเนินการตามมาตรา 123 อีกแต่อย่างใด เมื่อจำเลยร่วมถอนคำร้องฉบับลงวันที่ 26 มิถุนายน 2544 คำร้องฉบับดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป ต่อมาจำเลยร่วมยื่นคำร้องฉบับที่สองลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เพื่อให้จำเลยดำเนินการใหม่ จำเลยทำการสอบสวนและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ย่อมเป็นการดำเนินการภายในกำหนด 60 วัน ชอบด้วยมาตรา 124 วรรคหนึ่ง แล้วระยะเวลานับแต่วันที่ยื่นคำร้องฉบับแรก หาได้นับต่อเนื่องมารวมกับระยะเวลา 60 วันที่จำเลยต้องดำเนินการตามคำร้องฉบับที่สองไม่ คำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน & ความรับผิดนายจ้างในคดีค่าชดเชย
ความในมาตรา 125 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541ที่บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดนั้นต่อเนื่องมาจากความในวรรคหนึ่งที่ว่าเมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสหรือให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่ไม่เห็นชอบด้วยกับคำสั่งนำคดีไปฟ้องศาลเพื่อให้ตรวจสอบคำสั่งดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง แต่หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าวแสดงว่านายจ้างหรือลูกจ้างไม่มีข้อโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ความในวรรคสองจึงบัญญัติให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายถึงเป็นที่สุดสำหรับนายจ้างหรือลูกจ้างด้วย มิใช่เป็นที่สุดเฉพาะในทางบริหาร
เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม จึงเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจโต้แย้งหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกได้ กรณีมิใช่เรื่องการนำบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตัดสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการบังคับใช้หรือตีความกฎหมายโดยไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 5 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าชดเชยต่อโจทก์แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม จึงเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจโต้แย้งหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกได้ กรณีมิใช่เรื่องการนำบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตัดสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการบังคับใช้หรือตีความกฎหมายโดยไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/25 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 5 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าชดเชยต่อโจทก์แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ศาลฎีกาจึงแก้ไขเสียให้ถูกต้อง