คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พนักงานธนาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกและปลอมแปลงเอกสารของพนักงานธนาคาร และเงื่อนไขการรวมโทษเกิน 20 ปี
ขณะที่จำเลยกระทำผิดในคดีนี้และคดีก่อน จำเลยเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้เสียหายอยู่ด้วยในทุกคดีโดยถือโอกาสที่เป็นพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับเอกสารและทรัพย์โดยมีเจตนาเพื่อเบียดบังเอาเงินของลูกค้าผู้ฝากเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตนคดีนี้และคดีก่อนจึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 160 วรรคแรก การนับโทษต่อจึงต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ด้วย และเมื่อคดีนี้ความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268 วรรคสอง เป็นกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี การนับโทษต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกิน 20 ปี ไม่ได้แต่คดีก่อนเมื่อรวมโทษจำคุกทุกคดีและทุกกระทงโดยไม่รวมโทษจำคุกในคดีนี้ด้วยปรากฏว่าจำเลยถูกลงโทษจำคุก 23 ปี 6 เดือน ซึ่งเกิน 20 ปีแล้วจึงไม่อาจนับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกในคดีก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ vs. ยักยอก พนักงานธนาคารทุจริตเงินฝากลูกค้า
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งพนักงานธนากรมีหน้าที่รับฝากและถอนเงินให้ลูกค้า แต่เงินที่ลูกค้านำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าไว้กับผู้เสียหายเป็นของผู้เสียหายและอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย มิได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย การที่จำเลยใช้ใบถอนเงินหรือแก้ไขบัญชีเงินฝากของลูกค้าผู้ฝากต่างกรรมต่างวาระในรูปแบบทางเอกสารเป็นกลวิธีในการถอนเงินของผู้เสียหายจนเป็นผลสำเร็จแล้วทุจริตนำเงินนั้นไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์มิใช่ยักยอก
จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษน้อยลงและรอการลงโทษ แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลยเนื่องจากเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด และมีเหตุรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7980/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจถือเป็นความผิดร้ายแรงทางวินัยของพนักงานธนาคาร
การที่โจทก์ในขณะดำรงตำแหน่งผู้จัดการสาขาและผู้จัดการสำนักงานเขต มีอำนาจอนุมัติให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายเดียวกันได้ไม่เกินวงเงิน 4,000,000 บาท แต่โจทก์อนุมัติให้สินเชื่อแก่ลูกค้ารายนาง ธ. กับนาย ส. ซึ่งเป็นสามีภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสอันถือเป็นลูกค้ารายเดียวกันตามระเบียบข้อบังคับ ข้อ 1.5.1 กู้รวมแล้วเกินกว่า 4,000,000 บาท และอนุมัติให้สินเชื่อแก่นาย ค. กับนาง น. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ธ. อันถือเป็นลูกค้ารายเดียวกันตามระเบียบข้อบังคับข้อ 1.5.3 เป็นจำนวนเงินกว่า 4,000,000 บาท การอนุมัติสินเชื่อของโจทก์มีลักษณะเป็นการกระจายหนี้ซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของโจทก์เพื่อให้อยู่ในอำนาจอนุมัติของโจทก์ จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยที่ 1 และการที่จำเลยที่ 1 ออกระเบียบกำหนดวงเงินอนุมัติสินเชื่อตามตำแหน่งรับผิดชอบของผู้บริหารแต่ละระดับนั้นก็เพื่อกลั่นกรองป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากการใช้อำนาจของพนักงานของจำเลยที่ 1 โจทก์เป็นพนักงานธนาคารอันเป็นสถาบันการเงินที่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิประโยชน์ของประชาชน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอันเกี่ยวกับการเงินของจำเลยที่ 1 โดยเคร่งครัดด้วยความระมัดระวังและสุจริต มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อกิจการของธนาคารจนอาจทำให้ธนาคารไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ทำงานกับจำเลยที่ 1 มากว่า 20 ปี ย่อมรู้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ดี กลับหาช่องทางหลีกเลี่ยงระเบียบข้อบังคับด้วยวิธีการกระจายหนี้ที่เกินอำนาจอนุมัติของโจทก์เป็นหนี้หลายรายแล้วโจทก์อนุมัติให้สินเชื่อไปจนทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายจำนวนมากเช่นนี้ นับว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ในกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ยักยอกทรัพย์, และทำลายเอกสารของธนาคารโดยพนักงาน
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย ตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้ง เป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐาน ต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 188
จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ.มาตรา 354
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานธนาคารยักยอกเงินฝาก แก้ไขบัญชี และทำลายเอกสาร หลักฐานรับฟังหนักแน่น ศาลฎีกาพิพากษา
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย มีหน้าที่รับฝาก- ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย จำเลยรับมอบเงินจากโจทก์ร่วมซึ่งเป็นลูกค้าของผู้เสียหายเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยจะเป็นผู้เขียน กรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค และฉีกต้นฉบับ ไว้แล้วมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐาน ต่อมาจำเลยได้ แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คให้น้อยกว่าจำนวนเงิน ที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วนำเอกสารที่แก้ไขพร้อมจำนวนเงินตาม เอกสารที่แก้ไขใหม่ ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนส่งเงิน เก็บรักษา จึงเป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้ เอกสารสิทธิปลอม การที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่ให้จำนวนเงินฝากน้อยกว่าความเป็นจริงโดยเชื่อได้ว่าจำเลยได้ ทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงอันเป็นหลักฐานของ ธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีเพื่อแสดง ยอดเงินฝากของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิทำลาย การกระทำของ จำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่น จำเลยได้เบียดบังเงินฝากของโจทก์ร่วมโดยแก้ไขจำนวนเงิน ในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค ให้มีจำนวนน้อยกว่าความเป็นจริง และได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่ระบุจำนวนน้อยกว่า จำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วลงบัญชีกระแสรายวัน ของโจทก์ร่วมตามจำนวนที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่นั้น และจำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมโดยสุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนจึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ทำลายเอกสาร, ยักยอกทรัพย์โดยพนักงานธนาคาร
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหายตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้งเป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐานต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000 บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมการที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้งเป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของพนักงานธนาคารจากความประมาทเลินเล่อในการดูแลตู้นิรภัย
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นพนักงานของธนาคาร ก. มีหน้าที่รักษากุญแจตู้นิรภัยอันเป็นที่เก็บเงินตราต่างประเทศคนละ 1 ดอก และต้องใช้กุญแจทั้งสองดอกเปิดประตูนิรภัยพร้อมกัน จำเลยที่ 1 และที่ 3 ทราบรหัสการเปิดตู้นิรภัย เมื่อการที่เงินตราต่างประเทศซึ่งเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยสูญหายไปโดบไม่ปรากฏการงัดแงะย่อมเกิดจากการที่มีผู้ใช้กุญแจเปิดตู้นิรภัยและทราบรหัวสเปิดตู้นิรภัยเอาเงินตราไปหรือเกิดจากการเปิดตู้นิรภัยไว้แล้วไม่มีการปิดล็อกดังเดิม นอกจากนี้การเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัย ธนาคาร ก.ได้มีระเบียบให้พนักงานธนาคารเก็บรักษากุญแจคนละดอกเพื่อป้องกันการทุจริตของพนักงานและเพื่อให้มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ซึ่งทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต่างทราบระเบียบของธนาคารดังกล่าวดี แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมักมอบหมายให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้เปิดตู้นิรภัยโดยไม่กระทำร่วมกัน โดยเฉพาะในวันศุกร์ก่อนวันหยุดทำการซึ่งเป็นวันเกิดเหตุนั้นเอง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่ได้เคร่งครัดปฏิบัติตามระเบียบของธนาคารในการที่จะรักษาครอบครองกุญแจตู้นิรภัย รวมทั้งการตรวจตราปิดเปิดล็อกตู้นิรภัยเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงและเป็นเหตุให้เงินตราที่เก็บไว้ในตู้นิรภัยสูญหายไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการร่วมกันละเมิดต่อธนาคาร ก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของพนักงานธนาคารต่อการสูญหายของเงินในตู้นิรภัย และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นพนักงานของธนาคาร ก.มีหน้าที่รักษากุญแจตู้นิรภัยอันเป็นที่เก็บเงินตราต่างประเทศคนละ 1 ดอก และต้องใช้กุญแจทั้งสองดอกเปิดประตูนิรภัยพร้อมกัน จำเลยที่ 1 และที่ 3 ทราบรหัส การเปิดตู้นิรภัย การที่เงินตราต่างประเทศซึ่งเก็บรักษาไว้ใน ตู้นิรภัยสูญหายไปโดยไม่ปรากฏการงัดแงะย่อมเกิดจากการที่มีผู้ใช้กุญแจเปิดตู้นิรภัยและทราบรหัส เปิดตู้นิรภัยเอา เงินตราไปหรือเกิดจากการเปิดตู้นิรภัยไว้แล้วไม่มีการปิดล็อกดังเดิม นอกจากนี้การเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัย ธนาคาร ก.ได้มีระเบียบให้พนักงานธนาคารเก็บรักษากุญแจคนละดอกเพื่อป้องกันการทุจริตของพนักงานและเพื่อให้มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ซึ่งทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต่างทราบระเบียบของธนาคารดังกล่าวดี แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมักมอบหมายให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้เปิดตู้นิรภัยโดยละเว้นไม่กระทำร่วมกันโดยเฉพาะในวันศุกร์ก่อนวันหยุดทำการซึ่งเป็นวันเกิดเหตุนั้นเอง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่ได้เคร่งครัดปฏิบัติ ตามระเบียบของธนาคารในการที่จะรักษาครอบครองกุญแจตู้นิรภัยรวมทั้งการตรวจตราปิดล็อกตู้นิรภัยจึงเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงและเป็นเหตุให้เงินตราที่เก็บไว้ในตู้นิรภัยสูญหายไป การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการร่วมกันละเมิดต่อธนาคาร ก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบเงินโดยสำคัญผิด ยักยอก และความรับผิดของพนักงานธนาคาร
คำเบิกความของพยานคนใดจะรับฟังได้หรือไม่ต้องแล้วแต่เหตุผลในคำพยานนั้นเองแม้เป็น พยานคู่กันก็ไม่จำต้องรู้เห็นเหตุการณ์หรือเบิกความได้ตรงกันหมดทุกคนจึงจะรับฟังได้พยานอาจเบิกความสนับสนุนบางตอนเท่าที่ตนรู้เห็นจริงเท่านั้นก็ได้ เอกสารที่พยานโจทก์เป็นผู้จัดทำตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและเป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามหน้าที่ซึ่งพยานรับผิดชอบทั้งจำเลยก็มิได้โต้แย้งว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงกับความจริงจึงมีน้ำหนักและการเบิกความของพยานโจทก์เป็นการเบิกความประกอบเอกสารและเอกสารก็มีรายละเอียดชัดเจนอยู่แล้วเมื่อฟังประกอบกับพยานบุคคลจึงเชื่อได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นดัง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา พนักงานของโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้แก่จำเลยที่นำเช็คมาเบิกเงินเกินจำนวนไปเนื่องจากมิได้ดูจำนวนเงินในเช็คให้รอบคอบถือว่าเป็นการส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปเมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตนจึงเป็นความผิดฐานยักยอก