พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดฐานยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความเท็จ: เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย
ความผิดฐานยื่นขอรับอนุสิทธิบัตรโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 87 เป็นการกระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายเนื่องจากเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโจทก์ แต่พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้กำหนดกระบวนการที่จะแก้ไขความเสียหายไว้แล้วว่าในกรณีที่อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ บุคคลที่กล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตร หรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้ ตามมาตรา 65 นว ซึ่งถือเป็นกระบวนการในการพิสูจน์สิทธิของอนุสิทธิบัตรซึ่งโจทก์ก็ได้ดำเนินการฟ้องจำเลยต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12565/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเกินกำหนดเวลาตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2537 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 กรณีจึงต้องตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 24 ทวิ (2) คือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ 2537 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินและแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2542 พ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการประเมินที่ไม่มีอำนาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักตัวชาวต่างชาติที่ถูกสั่งห้ามเข้าประเทศและการใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งไม่อนุญาตให้อ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร เพราะมีพฤติการณ์ค้ายาเสพติดและเป็นธุระจัดหาผู้หญิงเพื่อส่งไปประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 16 อ.ย่อมมีลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12(10) คำสั่งนั้นย่อม มีผลใช้บังคับได้จนกว่าถูกยกเลิกหรือเพิกถอน หลังจากนั้นอ. ได้เดินทางเข้าออกราชอาณาจักรหลายครั้ง โดยได้รับอนุญาตและมีหนังสือเดินทางถูกต้อง แต่ก็หามีผลทำให้อ. กลับกลายเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะไม่ต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรไม่ ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจพบ อ. ในราชอาณาจักร จึงจับอ.ส่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 22และ 54 แต่พนักงานอัยการขอรับตัว อ.มาฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469ก่อนแม้ศาลในคดีดังกล่าวจะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว อ.กับห้ามมิให้อ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และแม้อ. จะมีกำหนดเดินทางออกนอกราชอาณาจักรก่อนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมไม่กี่วันก็ตาม แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองฯ มาตรา 54 วรรคสาม ก็มีอำนาจรับตัวและกักตัว อ. ไว้ต่อไปได้ ณ สถานที่ใดเป็นเวลานานเท่าใดตามความจำเป็นเนื่องจาก อ.เป็นคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เมื่อไม่ได้ความว่าคำสั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ให้กักตัว อ. เพื่อรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าการกักตัว อ. เป็นการคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันจะเป็นเหตุให้ศาลสั่งปล่อยตัว อ.ตามที่ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของ อ. ร้องต่อศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 240 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4322/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และประเด็นอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
แบบ ท.ค.16 ที่เจ้าพนักงานที่ดินทำการสอบสวนและบันทึกการสละมรดกเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.6 มีข้อความว่า ด้วยที่ดินแปลงเครื่องหมายดังกล่าวข้างบน คือ น.ส.3 หมู่ที่ 4 ตำบลมีชัย เลขที่ 10 อำเภอเมืองหนองคายจังหวัดหนองคาย มีชื่อ ค.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง แต่บัดนี้ถึงแก่กรรมไปแล้วเมื่อ 12มิถุนายน 2517 ข้าพเจ้าเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกโดยเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินรายนี้ แต่ข้าพเจ้าไม่รับเพราะข้าพเจ้าได้รับมรดกส่วนอื่นไปแล้ว และลงลายมือชื่อ จ.และโจทก์ ซึ่งเลขที่ดินที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.6 หรือ จ.9 ตรงกับเลขที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.6 อันเป็นทรัพย์มรดกที่พิพาทในคดีนี้ และเอกสารหมาย ล.6 หรือ จ.9มีข้อความระบุชัดเจนว่า โจทก์และ จ.สละมรดกสำหรับที่พิพาทกับมีข้อความว่าขอให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอเมืองหนองคายโดยมีลายมือชื่อนายอำเภอเมืองหนองคายในเอกสารดังกล่าวทั้งระบุสถานที่ทำเอกสารว่าทำที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคายด้วยดังนั้น จึงเป็นการสละมรดกโดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1612 แล้ว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์สละมรดกของ ค.แล้วหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับมรดกของบิดาโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในข้อนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์สละมรดกของ ค.แล้วหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นเกี่ยวกับมรดกของบิดาโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งจึงยุติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในข้อนี้ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันคนต่างด้าว: สิทธิหน้าที่คู่สัญญา, การปลดหนี้, อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 5แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง รวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด ตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ดังนี้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้ เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสาม และหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลย ก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อน ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำเป็นหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับนายอำเภอ การมอบแก่เจ้าพนักงานที่ดินไม่ถือว่าเป็นการสละมรดกตามกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งหมายถึงนายอำเภอ การมอบให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่การทำหนังสือสละมรดกที่มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรานี้
บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ประกอบมาตรา 850 แล้ว
บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ประกอบมาตรา 850 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกทำได้โดยหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือสัญญาประนีประนอมยอมความ
การ สละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612ต้องทำ เป็นหนังสือมอบไว้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่คือ นายอำเภอตาม กฎกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2481และ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ หรือทำเป็น สัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา850ดังนั้นแม้ เจ้าพนักงานที่ดินมิใช่ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจดังกล่าวแต่เมื่อข้อความในเอกสารเป็นการ ประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ผู้รับผิดในฐานะ ผู้สละมรดกและจำเลยในฐานะ ผู้รับมรดกได้ลงชื่อไว้จึงเป็นการ สละมรดกโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การสละต่อเจ้าพนักงานที่ดินไม่สมบูรณ์
การสละมรดกจะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612โดยกฎกระทรวงกับพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495มาตรา40กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจในกรณีแรกได้แก่ผู้อำนวยการเขตถ้าทำในกรุงเทพมหานครหรือนายอำเภอถ้าทำในต่างจังหวัดฉะนั้นการที่โจทก์กับ ศ. ทำหนังสือสละมรดกให้ไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่หนังสือสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเช่าทรัพย์สิน: ศาลยืนตามการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อค่าเช่าต่ำกว่าราคาตลาด
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า ค่าเช่าตึกแถวพิพาทเดือนละ 400บาท ที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่า เป็นค่าเช่าต่ำกว่าความเป็นจริงไม่ใช่เป็นจำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจประเมินค่ารายปีได้โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สินขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ที่คณะเทศมนตรีของจำเลยชี้ขาดว่า ค่ารายปีของตึกแถวพิพาทจำนวน 10,800 บาท จากระยะเวลารวม 9 เดือน หรือตกเดือนละ 600 บาท ต่อห้อง เป็นคุณแก่โจทก์แล้วไม่มีเหตุจะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงการประเมินและคำชี้ขาด ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ค่าเช่าที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่ามิใช่ค่าเช่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ได้กำหนดกันไว้แน่นอนมิได้กระทำขึ้นโดยสมยอม ทรัพย์สินที่เช่าเป็นของจำเลยเองถือได้ว่าจำเลยได้ยอมรับว่าค่าเช่านั้นเป็นค่าเช่าอันสมควรที่จะให้เช่าได้ไม่มีเหตุที่จะทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะประเมินค่ารายปีเป็นอย่างอื่นได้นั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยมาดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามพระราช-บัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6000/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการพิสูจน์สัญชาติไทย: การยื่นคำร้องต่อศาลหลังพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อนุมัติ
ผู้ร้องได้ยื่นคำขอพิสูจน์สัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองแล้วพนักงานเจ้าหน้า ที่มีคำสั่งประการใดแล้วถ้าผู้ร้องไม่พอใจ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาได้เพราะผู้ร้องได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 โดยถูกต้องแล้วไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท