พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: พยานหลักฐานใหม่ต้องชัดเจนและสำคัญ มิใช่พยานหลักฐานเดิมที่ทราบอยู่แล้ว
ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่าคำเบิกความของพยานบุคคลซึ่งศาลอาศัยเป็นหลักในการพิพากษาลงโทษผู้ร้องเป็นคำเบิกความเท็จ ไม่ถูกต้องตรงกับความจริง โดยไม่ปรากฏว่าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานดังกล่าวเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง ทั้งผู้ร้องเพิ่งจะยื่นฟ้อง ม. เป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาเบิกความเท็จ แจ้งความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จภายหลังจากที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องนี้แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 56(1)
ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานในคดีนี้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องรู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องบ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องบ้างและเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องซึ่งอยู่กับผู้ร้องในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องจะอ้างมาเป็นเหตุให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 5(3) ได้ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่ง เพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนย่อมเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่
ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานในคดีนี้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องรู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องบ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องบ้างและเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องซึ่งอยู่กับผู้ร้องในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องจะอ้างมาเป็นเหตุให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 5(3) ได้ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่ง เพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนย่อมเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาต้องมีพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดแจ้งและสำคัญ มิใช่พยานหลักฐานที่มีอยู่แล้ว
คำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ของผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่า คำเบิกความของพยานบุคคลโจทก์ 4 ปาก ที่ศาลอาศัยเป็นหลักในการพิพากษาลงโทษผู้ร้องทั้งสี่เป็นคำเบิกความเท็จ ไม่ถูกต้องตรงกับความจริง โดยไม่ปรากฏว่าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานดังกล่าวเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริงแต่อย่างใด ทั้งปรากฏในคำฟ้องฎีกาว่าผู้ร้องทั้งสี่เพิ่งจะยื่นฟ้องพยานโจทก์ดังกล่าว 1 ปาก เป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาเบิกความเท็จ แจ้งความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานเท็จภายหลังจากที่ผู้ร้องทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องนี้แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 (1)
ส่วนที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบแล้วจะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิด ก็ปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานจำเลยในคดีนี้ไว้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องทั้งสี่รู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง และเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องทั้งสี่ซึ่งอยู่กับผู้ร้องทั้งสี่ในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทั้งสี่ทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องทั้งสี่จะอ้างมาเป็นเหตุขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 (3) ได้ คำร้องของผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องไต่สวน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่โดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งเพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนนั้นจะเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่
ส่วนที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบแล้วจะแสดงว่าผู้ร้องทั้งสี่ไม่ได้กระทำความผิด ก็ปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ว่าพยานบุคคลที่ผู้ร้องอ้างปากหนึ่งเคยเบิกความเป็นพยานจำเลยในคดีนี้ไว้แล้ว ส่วนพยานปากอื่นล้วนเป็นบุคคลที่ผู้ร้องทั้งสี่รู้จักคุ้นเคยเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้เสียหายเช่นเดียวกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง เป็นญาติพี่น้องกับผู้ร้องทั้งสี่บ้าง และเป็นเพื่อนบ้านของผู้ร้องทั้งสี่ซึ่งอยู่กับผู้ร้องทั้งสี่ในขณะเกิดเหตุบ้าง และพยานเอกสารที่ผู้ร้องอ้างก็เป็นเพียงบันทึกความเห็นและข้อที่พยานดังกล่าวจะมาเบิกความ พยานหลักฐานที่ผู้ร้องทั้งสี่อ้างตามคำร้องจึงเป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่ก่อนและผู้ร้องทั้งสี่ทราบดีอยู่แล้ว ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่ผู้ร้องทั้งสี่จะอ้างมาเป็นเหตุขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 (3) ได้ คำร้องของผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่มีมูล ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องไต่สวน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่โดยไม่ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งเพราะอำนาจในการมีคำสั่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนนั้นจะเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: หลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้อง, อำนาจศาล, และพยานหลักฐานใหม่
การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มีขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลอยู่ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการตรวจคำร้อง ขั้นตอนที่สองเป็นการไต่สวนคำร้อง และขั้นตอนที่สามเป็นการพิจารณาเนื้อหาของคำร้อง โดยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่ได้พิจารณาคดีนั้น และมาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน (ปัจจุบันเป็นกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว) และกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้ โดยอนุโลม ดังนั้น การตรวจคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน ป.วิ.อ. มาตรา 161 โดยคำร้องต้องอ้างเหตุตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ซึ่งศาลชั้นต้นต้องตรวจคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ว่า ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ไม่ปรากฏเหตุที่จะร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้จะไม่ทำการไต่สวนคำร้องก็ได้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง โดยมิได้ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 10 เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องในคดีนี้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น กับให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้อง และให้ไต่สวนคำร้องต่อไปโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาคำร้องและมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6582/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญาต้องมีเหตุพยานหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิด และต้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางก่อน
ตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 บัญญัติว่า "คดีใดที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลใดต้องรับโทษอาญาในคดีนั้นแล้ว อาจมีการร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ เมื่อปรากฏว่า (1)? (2)? (3) มีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบในคดีอันถึงที่สุดนั้น จะแสดงว่าบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิด" จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคดีที่จะได้รับการรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้จะต้องเป็นคดีที่ได้มีการนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ความผิดนั้นแล้ว แม้ผู้ร้องจะเป็นบุคคลที่ต้องรับโทษอาญา เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางในคดีดังกล่าว ตาม ป.อ. มาตรา 36 เพื่อศาลชั้นต้นจะได้ทำการไต่สวนพยานหลักฐานตามคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลาง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจริงหรือไม่เสียก่อน เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องขอคืนของกลางเพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่ง กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่โดยอ้างว่าผู้ร้องมีพยานหลักฐานใหม่ที่จะแสดงว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยการกระทำความผิดของจำเลย เพราะในคดีเดิมซึ่งถึงที่สุดศาลมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ทำความเห็นส่งไปให้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 สั่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ย่อมไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8868/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: พยานหลักฐานใหม่ต้องชัดเจนและมีน้ำหนักเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ โดยอ้างเหตุแต่เพียงว่า มีพยานหลักฐานใหม่ตามบัญชีพยานท้ายคำร้องที่จะแสดงชี้ชัดเท่านั้น ไม่ปรากฏข้ออ้างโดยละเอียดชัดแจ้งเพื่อให้เห็นว่า พยานหลักฐานใหม่มีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดจึงไม่นำมาพิสูจน์ว่าผู้ร้องมิได้กระทำความผิดตั้งแต่แรก ที่สำคัญพยานหลักฐานใหม่นั้นมีความสำคัญแก่คดีมากพอที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาที่ได้พิพากษาลงโทษผู้ร้องไปแล้วได้หรือไม่ เมื่อคำร้องของผู้ร้องอ้างเหตุตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2525 มาตรา 5 (3) แต่มิได้อ้างเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งตามมาตรา 8 จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี คำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมไม่ชอบด้วย มาตรา 10 เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องในคดีเป็นของศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญาต้องมีพยานหลักฐานใหม่ชัดเจนและสำคัญแสดงว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด การชี้ว่าที่ดินเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ใช่เหตุเพียงพอ
แม้คดีอันมีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องฐานบุกรุกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ แต่คำขอท้ายฟ้องได้ขอให้ลงโทษผู้ร้องตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108, 108 ทวิ, 108 ตรี โดยมาตรา 9 เป็นบทบัญญัติห้ามบุคคลใดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ และมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง เป็นบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 9 นับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ใช้บังคับในวันที่ 4 มีนาคม 2515 โดยมีบทลงโทษหนักขึ้นในกรณีที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง และมีบทลงโทษหนักขึ้นในกรณีที่ได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินกว่า 50 ไร่ ตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสาม เมื่อพิจารณาจากทางนำสืบของโจทก์ในคดีดังกล่าว ซึ่งมี ส. ผู้จัดการนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ และ น. นายอำเภอหาดใหญ่เบิกความประกอบกับบันทึกการประชุมได้ความว่า ที่ดินเหมืองฉลุงซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทเป็นที่ดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่าซึ่งแสดงให้เห็นว่า ข้ออ้างในคำร้องของผู้ร้องที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่านั้น ไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี อีกทั้งแม้จะฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ก็ย่อมถือเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งต้องห้ามมิให้บุคคลใดเข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่มีสิทธิครอบครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ร้องเคยมีหนังสือลงวันที่ 4 มิถุนายน 2534 ถึงผู้จัดการนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ขอผ่อนผันอยู่ในที่ดินไปจนกว่าจะเก็บพืชผลที่ลงทุนไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เสียก่อน อันเป็นการสนับสนุนให้เห็นว่าผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิครอบครอง เมื่อผู้ร้องบุกรุกครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิครอบครองย่อมเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลมีอำนาจลงโทษผู้ร้องตามที่พิจารณาได้ความได้ เพราะการระบุในฟ้องว่าบุกรุกที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ว่าประเภทที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะหรือที่ดินรกร้างว่างเปล่าเป็นเพียงรายละเอียด และเป็นเพียงบทลงโทษหนักขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่ส่วนขององค์ประกอบความผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพิพากษาอันถึงที่สุดนั้น ได้กำหนดโทษจำคุกและปรับแก่ผู้ร้องภายในระวางโทษตามป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ดังนี้ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีที่จะแสดงว่าผู้ร้องซึ่งต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10917/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ ไม่รับฟังพยานหลักฐานใหม่ จำเลยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ แล้วพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นกรณีที่ศาลรับฟังคำรับของจำเลยตามที่ให้การไว้ มิใช่รับฟังจากพยานหลักฐานการรังวัดที่ดินพิพาท การรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงไม่ผิดระเบียบในอันที่จำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีทั้งหมดแล้วให้พิจารณาคดีใหม่ โดยกล่าวอ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่นั้น จึงมิใช่เป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่อาจมีการพิจารณาคดีเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานใหม่ในชั้นอุทธรณ์ และการสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องใบอนุญาตขับขี่
ความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภทผู้ขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลสามารถพิพากษาลงโทษโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ต่อมาจำเลยอุทธรณ์โดยแนบสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถทุกประเภทชนิดที่ 4 มาท้ายอุทธรณ์ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาได้รับใบอนุญาตจึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในสำนวน ศาลอุทธรณ์ควรสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมในปัญหาที่ว่าจำเลยมีใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถดังที่อ้างหรือไม่เสียก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1) ประกอบมาตรา 228 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ตามที่อ้าง